Biker StoryClassic Bike

TRIUMPH Story


ทุกย่างก้าวของเราคือ “ชัยชนะ”   

Triumph Time line                                                                       

 1902 : Germans Siegfied bettman และ Maurice Schulte ผลิตรถจักรยานยนต์ภายใต้ชื่อ Triumph ในเมือง Covenltry มาตั้งแต่ปี 1887 จักรยานยนต์คันแรกถูกสร้างขึ้นโดยใช้เครื่องยนต์ของ Minerva วางบนจักรยานของตนเองปี 1904 เครื่องยนต์ Triumph ถูกเปลี่ยนไปใช้ของ JAP และ Fafnir


1905 : Triumph สร้างเครื่องยนต์เป็นของตนเอง ขนาด 363 ซี.ซี. SV…ปี 1910 เครื่องยนต์อัพเกรดเป็น 499 ซี.ซี.และ 600 ซี.ซี. ในเวลาใกล้เคียงกัน


1913 : เครื่องยนต์ขนาดเล็ก 2 จังหวะ ในรุ่น 225 ซี.ซี. ถูกผลิตกระทั่งปี 1925…1915 เครื่องยนต์ 550 ซี.ซี. 3 เกียร์ Model H ถูกผลิตส่งให้กองทัพเป็นส่วนใหญ่ ตลอดจนใช้ในกองทัพระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1


1924 : Triumph ผลิต Model P เครื่องยนต์สูบเดียว SV 494 ซี.ซี


1932 :
เครื่องยนต์สูบเดียว OHV ขนาด 250/500 ซี.ซี. ถูกผลิตตามมาด้วยเครื่องยนต์ SV ขนาด 500 ซี.ซี. และ 2 สูบ 650 ซี.ซี.และไม่ลืมเครื่องบล็อกเล็ก OHV ขนาด 147 ซี.ซี. ด้วยเหมือนกัน โปรดักท์ทั้งหมดผลิตต่อเนื่องกระทั่งปี 1936 ก่อนที่จะขายให้ Jack Sangster เจ้าของ Ariel หลังทนรับภาวะขาดทุนไม่ไหว


1937 : Triumph ฉลองครบ 50 ปี ด้วยการออก Speed Twin จากฝีมือของ Edward Turner และย้ายโรงงานใหม่ไปที่ Meriden ก่อนที่สงครามโลกครั้งที่ 2

1951 : Triumph ขายกิจการให้กลุ่ม BSA เริ่มมีการผลิตเครื่องยนต์ 2 สูบขนาด 650 ซี.ซี.ส่งออกไปตลาดอเมริกาและสำหรับเครื่องยนต์สูบเดียว 150 ซี.ซี.นํ้าหนักเบาก็ผลิตต่อเนื่องถึงปี 1954


1957 : เครื่องยนต์ 350 ซี.ซี. 2 สูบ ถูกสร้างขึ้น…ปี1959 ชื่อของ “Bonneville” 650ซี.ซี. ก็เริ่มเข้ามาในตลาด แต่ก็ยังไม่ทำให้ฐานะการเงินของบริษัทดีขึ้น จนบางส่วนต้องให้ไปผลิตรถสกู๊ตเตอร์ 1968 : เครื่องยนต์ 3 สูบ 740 ซี.ซี.ในชื่อ “Trident” ก็เกิดขึ้น (ทุกอย่างเหมือน BSA Rocket 3) ส่วนเครื่องยนต์ 500/650 ซี.ซี. แบบ 2 สูบก็ยังคงมีผลิตอยู่ สำหรับรุ่นสูบเดียว 250 ซี.ซี.Triumph ซื้อกลับคืนจาก BSA


1973 : BSA/Triumph เข้าร่วมกลุ่มกับ Norton Villers company ภายใต้ชื่อใหม่ Norton Villiers Triumph (NVT)

1975 : ฐานะการเงินของกลุ่มไม่สู่ดีนัก โปรดักท์ที่คลอดจากบริษัทก็ไม่มีมากนัก มีเพียง Trident 750 1983 : พัฒนาเครื่องยนต์เพียงรุ่นเดียวคือ รุ่น 2 สูบ 750 ซี.ซี. โดยอะไหล่บางส่วนได้รับการสนับสนุนมาจากโรงงานของ Les Harris


1990 : Bloor’s ร่วมกับ Hinkly พัฒนาเครื่องยนต์ 750 ซี.ซี. เป็น 1,200 ซี.ซี. OHV ออยล์คูลเลอร์ มีให้เลือกทั้ง 3 สูบ และ 4 สูบ…จวบจน ณ วันนี้ ซึ่งก็ไปได้สวยในทุกๆ โมเดล!!!

          “รถอังกฤษ” ปฐมบทที่ต้องตาถูกทะลักเข้า“สยามประเทศ” ในฐานะของเล่นติดเครื่องยนต์ของ “คนมีอันจะกิน” ความเข้าใจที่ตรงจุดถูกขุดค้นกับ“คนในเหตุการณ์” ด้วยความหวังว่ามันจะสะกิดจิตอนุรักษ์ต่อ “สมบัติชาติ”  ชิ้นนี้กันอย่างจริงจัง…สักที…!?!?! 

ธนู ชัยศิริกุลชัย
เจเนเรชั่น 2 “วัฒนายนต์”  

ตลาดรถอังกฤษสมัยนั้นเป็นอย่างไรบ้าง?

          “คงต้องย้อนไปยุคที่สมัยที่ผมยังคงเป็นนักเรียน…ยุคก่อน พ.ศ. 2500 ถือเป็นยุคที่มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์จากต่างประเทศมากที่สุด และสำหรับผู้ที่จะเป็นเจ้าของนั้นก็ต้องเรียกว่าจะต้องมีอันจะกินหน่อย เพราะสนนราคาค่าตัวก็เรียกว่าไม่ต่ำเหมือนกัน โดนเฉพาะรถจักรยานยนต์จากประเทศ “อังกฤษ” จะได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะรถจากค่ายอื่นๆ ยังไม่ได้มีการนำเข้ามาอย่างเป็นทางการ”

ทราบว่ามีเอเย่นต์นำเข้ารถอังกฤษหลายเจ้า?

          “สมัยก่อนการที่จะเป็นเอเย่นต์นั้นทำได้ง่ายมาก สั่งรถ 2-3 คันก็สามารถเป็นกันได้แล้ว ซึ่งใครจะสั่งตามหลังนั้นทำไม่ได้ด้วย แบรนด์ AJS/ MATCHLESS ถ้าจำไม่ผิดนี่ “ยนตรการ” ตรงราชดำเนินเป็นตัวแทนจำหน่าย…BSA บริษัท “สามเหลี่ยม” (TRI-ANGLE Co., Ltd.) ที่ตอนหลังเปลี่ยนชื่อมาเป็น LOXLEYNORTON นี่ “นาวาพานิช” ซึ่งเป็นเอเย่นต์หลายยี่ห้อ AJS, MATCHLESS, ARIEL และ SUNBEAM…สำหรับ TRIUMPH “ห้างเทพนครพานิช” เป็นตัวแทน (เดิมทีประกอบกิจการนำเข้ารถจักรยาน) เขานำเข้าแต่เพียงอย่างเดียว แต่ไม่จริงจังมากนัก และให้เรา “วัฒน์วัฒนายนต์” ทำหน้าที่ในการระบายสินค้า และเรายังคงเป็นตัวแทนจำหน่ายแบรนด์ ROYAL ENFIELD และ NSU ด้วย”

วัฒนายนต์เกิดขึ้นตั้งแต่ตอนไหน?

          “เราไม่ทราบปีที่แน่นอน…ตั้งก่อนมีเอเย่นต์ TRIUMPH ด้วยซ้ำ เดิมทีเป็นเพียงร้านซ่อม ส่วนใหญ่ก็จะทำเฉพาะคนที่รู้จักเท่านั้น พอได้เป็นเอเย่นต์ TRIUMPH เลยต้องทำแบบเต็มตัว มีการจัดตั้งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดในชื่อ…วัฒน์วัฒนายนต์

จำหน่าย TRIUMPH รุ่นอะไรบ้าง?

          “รถเล็กอย่าง Terrier ขนาด 150 ซี.ซี., Tiger Cub ขนาด 200 ซี.ซี. แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม ราคาออกห้างตอนนั้นไม่ถึงหมื่น สัก 6,000-7,000 บาท ต่อมาก็ 3T เครื่องยนต์ 2 สูบ ขนาด 350 ซี.ซี….Tiger100/ Speed Twin ขนาด 500 ซี.ซี. Tiger110/ Thunder Bird ขนาด 650 ซี.ซี. ราคา 19,000-22,000 บาท แต่ที่จำได้แม่น Bonneville ขนาด 650 ซี.ซี. แพงที่สุด ราคา 24,000 บาท…นอกจากนั้นเราก็มีแบรนด์อื่นให้ลูกค้าเลือกอย่าง ROYAL ENFIELD ที่เราจำหน่ายเป็นโมเดลหลังปี 1957 ขนาด 350/500 ซี.ซี. ส่วน NSU ก็รุ่น Max/ Super Max ขนาด 250 ซี.ซี.

รุ่นที่ได้รับความนิยมสูงสุด?

TRIUMPH เขาจะดังในรุ่น 2 สูบ โดยเฉพาะ Tiger100 จะได้รับความนิยมสูงสุดและมักจะเป็นตัวเลือกแรกที่ลูกค้าต้องการ ด้วยความที่เป็นรถสปอร์ต คล่องตัว อัตรเร่งช่วงต้นดี เหมาะสมกับรูปลักษณ์คนไทย ในขณะที่ Tiger110/ Thunder Bird เครื่องยนต์ 650 ซี.ซี. นั้นสตาร์ทหนัก จึงไม่ได้รับความนิยม ส่วน Speed Twin ระบบไฟที่ต้องง้อแบตดูจะเป็นภาระมากกว่ารถที่ใช้แมกนีโต อีกเครื่องยนต์เสื้อเหล็กก็มีปัญหาเรื่องความร้อน”

ทราบว่าจำหน่ายให้หน่วยราชการด้วย?

          3T เครื่องยนต์ 2 สูบขนาดกลาง 350 ซี.ซี. ประมาณ 10 คัน ถูกสั่งสำหรับ “ตำรวจจราจร” ซึ่งห้างเทพนครพานิชเป็นคนจัดจำหน่าย เรารับหน้าที่ในเรื่องการซ่อมบำรุง ซึ่งก็ไม่ได้เป็นอย่างที่ตกลงกันไว้ และหน่วยบราชการเรื่องงบจัดซ่อมบำรุงก็จัดทำล่าช้ามาก เราก็ต้องหวานอมขมกลืน เราปรึกษากับเทพนครว่าเรารับไม่ไหว…สุดท้ายก็ต้องเลิกหลังจากส่งได้เพียงล๊อตเดียว “ยนตรการ” ก็เลยรับช่วงต่อมาและเปลี่ยนมาใช้เป็นแบรนด์ AJS

มีการรวมตัวกันบ้างรึเปล่า?

          “ส่วนใหญ่รวมตัวกันเองมากกว่า ลานพระรูปฯ ร.5 นี่จะบ่อยที่สุด มานั่งคุยกัน…ดึกๆ ก็แยกย้ายกันกลับ แต่ก็ต้องเปลี่ยนมาที่ส่วนลุมพินีหลังมีผู้เสียชีวิต จากเหตุการณ์จับคู่แข่งขันกัน โดยเริ่มที่สะพานมัฆวาน…ไปหลังพระรูปฯ ซึ่งตรงสุดทางตรงพระที่นั่งอนันต์ฯ เป็นโค้งกว้าง รถที่วิ่งมาด้วยความเร็วสูง หักเลี้ยวไม่ทัน สุดท้ายเสียหลักล้มกระแทกและเสียชีวิตในที่สุด เลยต้องเปลี่ยนสถานที่พบปะ ซึ่งกลุ่มสวนลุมพินีนี่จะใหญ่ที่สุด มีรถอังกฤษเกือบทุกสายพันธุ์”

ยุคที่รถจากญี่ปุ่นเริ่มเข้ามา ส่งผลกระทบต่อรถอังกฤษเจ้าตลาดอย่างไรบ้าง?

          “ตอนแรกไม่กระเทือน ไอ้ที่กระเทือนเพราะเขาเริ่มเข้ามาประกอบในนี้ แผนตอนรถอังกฤษก็เลยเริ่มตั้งแต่ตอนนั้น มีการวิ่งในภาครัฐจนออกเป็นกฎหมายโดยการตั้งกำแพงภาษีที่สูงมาก รถ/อะไหล่ ที่นำเข้าจึงมีราคาที่สูงขึ้นโดยปริยาย กอปรกับเองในอังกฤษเองก็เกิดปัญหาในการผลิต เหตุการณ์คนงานสไตร์คบ่อยๆ ทำให้การดำเนินธุรกิจสะดุด ล๊อตที่สั่งเลยต้องชะงัก เราเลยต้องถอยในที่สุด ไม่มีรถใหม่ที่จะเข้ามาขาย อีกทั้งระบบเงินผ่อน (Finance) สำหรับการซื้อรถจักรยานยนต์ของค่ายญี่ปุ่นก็ดูจะได้ผล รถราคาไม่สูงและผ่อนจ่ายเป็นงวด ในขณะที่รถอังกฤษแพงแถมต้องซื้อสด…สุดท้ายก็ไปไม่รอด เคยลองระบบเงินผ่อนกับแบรนด์ ROYAL ENFIELD แต่ก็ไม่เวิร์ค เพราะส่วนใหญ่เป็นเพื่อนกัน “ติด” ซะเป็นส่วนใหญ่ เราแบกรับภาระดอกเบี้ยไม่ไหว…สุดท้ายก็ต้องหยุดห้างหุ้นส่วนจำกัด…เหลือไว้เฉพาะชื่อ “วัฒนายนต์” ในฐานะร้านอะไหล่และซ่อมบำรุงอย่างในปัจจุบันเท่านั้น แต่ก็ไม่ได้ทำแบบเต็มตัว เราทำเพราะเรายังรัก และรองรับลูกค้าเก่าเราเท่านั้น ตอนนี้เราก็ต้องทำธุรกิจอย่างอื่นเสริมไปด้วย”

Related Articles

Back to top button

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

Save