BIKER ICONIC BRAND : LEVI’S
162 ปี “ลีวายส์” เดนิม…สร้างชาติ!!!
ยีนส์…ไม่เคยตาย!!! วลีที่ผ่านกระบวนความคิดมาเกินศตวรรษ จากต้นกำเนิดสู่ “ยูนิฟอร์มเหมือง” สูเวทีพีค “แฟร์ชั่นวัยโจ๋” ของยุค’ 50 ที่มีมีการจดทพเบียนเครื่องหมายการค้ามากกว่า 50 แบรนด์ ทว่า “ลีวายส์” คือแบรนด์ไอคอน…ที่…มีเรื่องเม้าท์ได้มันส์ปากกว่าใคร หนนี้เราจะเปิดประตูเวลา ย้อนกลับไปซับเอาส่วนหนึ่งของ…เดนิม…สร้างชาติ…!?!?!
ตำนานยีนส์ LEVI ที่คุณควรอ่าน…ก่อนตาย!!!
“AMERICA’S FINEST OVERALL SINCE 1850” เป็นการเริ่มต้นประวัติศาสตร์ของเครื่องแต่งกายของชาวเหมืองใน San Francisco ที่เป็นที่นิยมของนักสะสมจากทุกมุมโลก “Levi’s” จากกางเกงที่ถูกผลิตจากผืนผ้า Cotton Duck และ Denim ยุค 1850 เพื่อให้นักขุดทองและแรงงานในดินแดง “อเมริกาตะวันตก” สวมใส่ ซึ่งในยุคนั้นกางเกงชนิดนี้ถูกเรียกว่า “Waist Overalls” ชื่อที่ถูกเรียกกันตามฟังชั่นการใช้งาน กางเกงที่สวมใส่ทับคลุมกางเกงตัวใน ชายเสื้อ และผิวของผู้สวมใส่ เพื่อปกป้องฝุ่น ดิน การขูดขีด ให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือกางเกงชั้นนอกที่เอาไว้ใส่ทับเหนือทุกสิ่งเพื่อกันเปื้อนตั้งแต่ช่วงเอวลงมา
1873 Levi Strauss และ Jacob Davis ได้ร่วมจดสิทธิบัตร “การตอกหมุดทองแดง” บนกางเกงตามรูปแบบ
เดนิม กับ ยีนส์
ก่อนที่จะเข้าสู่ปี 1700 ชาวอังกฤษได้เรียกผืนผ้าชนิดหนึ่ง เป็นผืนผ้าที่ “ทอลายสอง” โดยใช้เส้นใยฝ้ายเป็นวัตถุดิบ ผืนผ้าที่ทอถูกเรียกชื่อว่า “denim” ผืนผ้าชนิดนี้เป็นผืนผ้าที่วิวัฒนาการมาจากผ้า serge de Nimes ที่มีขนแกะและไหมเป็นวัตถุดิบอันโด่งดังของเมือง Nimes ในประเทศฝรั่งเศส นอกจากนี้ในยุคนั้นก็ยังมีผืนผ้าอีกชนิดหนึ่งซึ่งถือเป็นที่นิยมโดยชาวเมือง Genoa ในอิตาลี ผืนผ้าชนิดนี้ถูกชาวอังกฤษเรียกตามชื่อเมืองว่า “jean” ซึ่งเป็นคำเรียกตามที่ชาวฝรั่งเศสอ่านออกเสียงว่า “jene” และมาสะกดตามคำอังกฤษว่าjean ผืนผ้าที่เรียกว่า “จีน” นี้ในยุคนั้นผลิตจากเส้นใยฝ้าย โดยวิวัฒนาการมาจากผ้าฝ้ายบางสีน้ำเงินที่ใช้ผลิตชุด “dungarees” ที่ถูกสวมใส่ครั้งแรกโดยลูกเรือชาวอินเดีย และลักษณะผืนผ้า jean นี้ ดูเผินๆ คล้ายกันกับผ้า denim แต่ผ้าdenim มีความหนากว่า ทนทานกว่า และแพงกว่าผ้า jean โดยที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดตรงที่ผ้า “jean” จะใช้เส้นด้ายที่ถูกย้อมสีในการทอทั้งสองแนวคือทั้งแนวตั้งและแนวขวางใช้เส้นด้ายสีเดียวกันทอ ผลคือผืนผ้าด้านหน้าและหลังสีเหมือนกัน ซึ่งต่างจาก “denim” ที่จะใช้เส้นด้ายฝ้ายที่ถูกย้อมสีในแนวตั้งและใช้ด้ายฝ้ายที่ไม่ย้อมในแนวนอน ดังนั้นเมื่อทอเสร็จ ผืนผ้าด้านหน้าและหลังจึงสีไม่เหมือนกัน โดยกางเกงที่ถูกตัดเย็บจากผ้า jean นั้นจะถูกเรียกว่า “Jeans”
“Copper-Riveted Waist Overalls” เพราะทนทาน ขนาดม้าดึงยังไม่ขาด เลยเป็นที่มาของเครื่องหมายการค้า
ในปี 1850 ที่เมืองท่าใน New York ในช่วงเวลานั้น ผ้า “jean” สีดำ ขาว น้ำตาล เขียวอ่อน น้ำเงิน มักใช้ตัดเย็บ เสื้อกั๊ก เสื้อคลุม แจ็คเก้ต โดยพวกกางเกง (pants/ jeans) ที่เอาไว้ใส่ทำงานกลางแจ้งทั่วๆ ไปจะใช้ผ้า jean สีน้ำเงิน แต่สำหรับ ขุดสำหรับงานหนัก ชุดคลุมงานช่าง (overalls/ bib-overall) สำหรับช่างเครื่อง ช่างก่อสร้าง ช่างทาสี จะใช้ผ้า “Denim” ตัดเย็บเพราะต้องการผืนผ้าที่ทนทานอย่างมากซึ่งโดยส่วนใหญ่จะใช้สีน้ำเงินแต่สีอื่นๆ ก็พอมี ดังนั้นเราเห็นได้ชัดในความต่างในการใช้งานของผืนผ้าทั้งสองชนิด แต่มีความเหมือนอยู่อย่างหนึ่งคือ กางเกงสำหรับใส่ทำงานไม่ว่าจะงานเบาหรืองานหนัก ทั้งผ้า jean และ denim ส่วนมากจะใช้ผ้าสีน้ำเงินที่ด้ายฝ้ายถูกย้อมด้วยสีคราม ตัดเย็บเพราะเป็นสีที่ดูกลมกลืนกับรอยเปื้อนและฝุ่นต่างได้ดี
เมื่อนาย Levi Strauss ได้เดินทางจาก New York มาที่เมืองแห่งขุมทอง San Francisco ในปี 1853 แน่นอนที่สุดว่านอกจากสินค้าทั่วไปๆ รวมทั้งผ้าและเสื้อผ้าชนิดต่างๆ ที่นาย Levi จัดจำหน่ายแล้ว ก็ต้องมีกางเกง overalls สำหรับสวมใส่ทำงาน โดยมีทั้งผลิตจากผืนผ้า Cotton Duck สีน้ำตาลซึ่งเป็นที่นิยมใช้ตัดกางเกงสำหรับงานขุดที่ต้องเผชิญกับฝุ่นดินทรายต่างๆ และที่ผลิตจากผืนผ้า Denim สีน้ำเงิน ดังที่นาย Levi ได้เรียนรู้มาจากคน New York ว่าผืนผ้าชนิดนี้มีความทนทานอย่างยิ่ง…ต่อมา…ในปี 1873 Levi Strauss และ Jacob Davis ได้ร่วมจดสิทธิบัตร “การตอกหมุดทองแดง” บนกางเกงตามรูปแบบที่ Jacob Davis คิดค้นเพื่อเสริมความคงทนตามรอยต่อของตะเข็บกางเกง และได้ผลิต “Copper-Riveted Waist Overalls” ดังที่ปรากฎในวันที่บนป้ายที่ขอบเอว Patented May 20 1873 และในเวลานั้นเองได้เริ่มเย็บปีกนกเป็นสัญลักษณ์การค้า โดยผืนผ้าแรกเริ่มของ Copper-Riveted Waist Overalls แน่นอนที่สุดต้องเป็น Cotton Duck และ Denim ซึ่งเป็นผืนผ้าที่มีความคงทนสูงมาก ซึ่งในยุคแรกเริ่มของ Copper-Riveted Waist Overalls ผืนผ้าเดนิมที่ Levi เลือกใช้ผลิตโดยโรงงานทอ Amoskeag ที่ New Hampshire โดยผืนผ้าเดนิมที่สั่งมานี้ถูกเรียกว่า “XX” เพื่อสื่อถึงความหนาและคุณภาพของผืนผ้า และในปี 1890 ก็ได้มีการใช้ตัวเลข “501” มากำหนดเป็นหมายเลขชนิดของผืนผ้าเดนิมที่ใช้ซึ่งเป็นการให้กำเนิดชื่อเรียกของกางเกงเดนิมแห่งตำนาน ตัวเลข “5-01” คือ วันแรงงาน ซึ่งตรงกับวันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปี
ต่อมาเมื่อคนงานได้ลองสวมใส่กางเกง Waist Overalls ที่ผลิตจากผืนผ้าเดนิมที่เมื่อยิ่งใช้ไปนานเข้าได้สัมผัสถึงความนุ่มนวลของผ้าเดนิม แต่ยังแฝงไปด้วยความคงทน จึงเริ่มนิยมกางเกงที่ผลิตจากผ้า Denim มากว่าผ้า Cotton Duck ซึ่งมีความแข็งกระด้างกว่ามาก และในที่สุดปี 1911 ทาง Levi ได้เลิกผลิต Overalls ที่ทำจากผ้า Cotton Duck ดังนั้นผืนผ้าเดนิมจึงกลายเป็นผืนผ้าหลักสำหรับกางเกง Overalls ที่ผลิตโดย Levi ต่อมาในปี 1915 ทาง Levi ได้เริ่มสั่งผลิตผืนผ้าเดนิมจากโรงงานทอแห่งใหม่คือ Cone Mills ที่ North Carolina และในปี 1922 ผืนผ้าเดนิมที่ใช้ตัดเย็บทั้งหมดสั่งจาก Cone Mills โดยสำหรับ Levi โรงงานทอแห่งนี้เป็นผู้ให้กำเนิดสัญลักษณ์ของขอบผ้า “Red line” (ริมแดง)
ต่อมายุค 1930 ในยุคนี้ได้ถือเป็นจุดสำคัญ ที่การเรียกกางเกงเดนิมที่ผลิตจาก Levi ว่า Overalls กำลังจะเปลี่ยนเป็น Jeans ทั้งที่ไม่ได้ผลิตจากผ้า Jean แต่ผลิตจากผืนผ้า Denim โดยเหตุผลที่การเรียกชื่อกางเกง Levi เปลี่ยนไป มาจากสองเหตุหลัก เหตุผลแรกคือ ในดินแดนอเมริกาตะวันตก รูปแบบการใช้งาน overalls ที่ผลิตโดย Levi ได้เปลี่ยนแปลงไป จากกางเกงที่สวมใส่สำหรับทำงานหนัก สำหรับแรงงานกรรมกรก็ถูกขยายและปรับเปลี่ยนเป็นไว้สวมใส่ทั่วไป คาวบอยในฟาร์มก็สวมใส่กันอย่างแพร่หลาย ในยุคนี้เมื่อคนจากฝั่งอเมริกาตะวันออกหรือจากนิวยอร์กมาเห็นเข้าและเริ่มนำมาสวมใส่บ้าง จึงเรียกกางเกงที่มี “เบลท์หลัง” ที่ผลิตจากผืนผ้าเดนิมสีน้ำเงินนี้ว่า “Jeans” ตามการเรียกที่คุ้นเคย เพราะเห็นว่ากางเกงชนิดนี้รูปแบบการใช้งานไม่ใช่กางเกง Overalls ที่คนในฝั่งอเมริกาตะวันออกจะใช้เรียกกางเกงสำหรับแรงงานสวมใส่อีกต่อไป แต่เห็นว่ากางเกงเบลท์หลังสีน้ำเงินที่เห็นคือกางเกง Jeans ที่คนตะวันออกเอาไว้ใส่เวลาทำงานกลางแจ้งเบาๆ หรือเอาไว้ใส่เวลาท่องเที่ยว เหตุผลที่สองคือ ในยุคนี้ทาง Levi ได้มีผลิตกางเกงสำหรับเด็กโดยใช้ผ้า Denim น้ำหนักเบาและเรียกกางเกงที่ผลิตขึ้นมาใหม่ว่า กางเกง Jeans ที่เรียกเช่นนี้เพราะเรียกตามรูปแบบการใช้งานที่เอาไว้ให้เด็กใส่เล่นซนได้ทั่วไป ไม่ใช่กางเกงทำงาน อย่างไรก็ตามในเวลานี้ กางเกง Lot 501 ผ้า denim น้ำหนักมาตรฐานก็ยังคงถูกคนอเมริการตะวันตกใน San Francisco เรียก overalls อยู่เช่นเดิม
หลังจากนั้นอีกเกือบ 20 ปีเมื่อเด็กๆ ในดินแดนอเมริกาตะวันตกโตขึ้นมาเป็นหนุ่มใหญ่ จึงเรียกกางเกงผ้าหยาบสีน้ำเงินของ Levi ที่ผลิตจากผืนผ้าเดนิมว่า Jeans ตามที่คุ้นชินในการเรียกตั้งแต่เด็ก และในช่วงเวลาเดียวกันเมื่อกางเกง Levi เป็นที่โด่งดังไปทั่วอเมริกา ทาง Levi Strauss & Co. ได้เริ่มส่งสินค้าไปวางขายในเมืองฝั่งอเมริกาตะวันออกและในนิวยอร์ก จึงใช้คำว่า Jeans ในการโฆษณากางเกง “เดนิม 501” ทั้งนี้เพื่อสื่อให้ตรงกับความเข้าใจของชาวอเมริกาตะวันออกที่นิยมเรียก “กางเกงผ้าฝ้ายสีน้ำเงิน” ที่ผลิตจาก Levi อย่างแพร่หลายว่า Jeans นั่นเอง...!?!?!
วิวัฒนาการของเครื่องหมายการค้า กางเกงของคุณทุกตัวที่รหัสซ่อนไว้ หามันให้เจอ
เพื่อสุนทรีย์แห่งการสวมใส่