Biker StoryHighlight

DAKAR RALLY

สังเวียรโหด “ตัวพ่อ” งานเฟ้นหานักแข่ง “พันธุ์แกร่ง”

KTM คือ “แมงป่องทะเลทราย” ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของรายการนี้

        “ดาการ์แรลลี”  หรือ เดอะ ดาการ์ ในอดีตรู้จักกันในชื่อ “ปารีส-ดาการ์” เป็นการแข่งขันรถประจำปีที่จัดการแข่งขันโดยองค์กรกีฬาอามอรี (Amaury Sport Organisation – ASO) สัญชาติฝรั่งเศสที่ก่อตั้งโดย ฟิลิปเป อามอรี และเริ่มจัดการแข่งขันครั้งแรกในปี ค.ศ. 1978

Ad. โฆษณายุคปี’ 90 กติกาเครื่องยนต์ยังอนุญาติ “บล็อกใหญ่” นี่คือตัวลุยของแต่ละค่าย Yamaha XTZ 750 Super Tenere,
Cagiva Elephant 900ie BMW R80 G/S และขาดไม่ได้สำหรับ Honda Africa Twin XRV650 Marathon

โดยเส้นทางการแข่งขันส่วนใหญ่เริ่มต้นจาก ปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีเส้นทางผ่านภูมิประเทศทุรกันดาร ในหลากหลายชนิดทั้งทะเลทราย บ่อโคลน ทุ่งหญ้า ทุ่งหิน หุบผาสูงชัน เนินทรายในทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ไปสิ้นสุดที่ ดาการ์ ประเทศเซเนกัล แต่หลังจากเกิดเหตุการณ์สังหารนักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศสในประเทศมอริเตเนียในช่วงปลายปี ค.ศ. 2007 โดยกลุ่มก่อการร้ายอัลกออิดะฮ์ ทำให้เกิดความกังวลเรื่องความปลอดภัยของผู้ร่วมแข่งขันจนต้องงดการแข่งขันในช่วงต้นปี ค.ศ. 2008และต่อมาได้ทำการย้ายการแข่งขันไปจัดในทวีปอเมริกาใต้ ที่อาร์เจนตินาและชิลี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 จนถึง ค.ศ. 2019 และปรับอีกครั้งในปี ค.ศ. 2020 ดาการ์แรลลีย้ายไปแข่งขันที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย

เส้นทางการแข่งขัน “ปารีส-ดาการ์” ในปี 1981

        “ดาการ์แรลลี” การแข่งขันแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ รถจักรยานยนต์รถยนต์รถบรรทุก ควอดไบค์ (มอเตอร์ไซค์ 4 ล้อ) และ ยูทีวี โดยเส้นทางการแข่งขันในแต่ละวันมีระยะเฉลี่ย 800-900 กิโลเมตร (500-560 ไมล์)
          ปัจจุบัน ในคลาสของรถ “จักรยานยนต์” กำหนดกติกาครั้งหลังสุดที่ปี2011 โดยรถแข่งจะต้องมีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 450 ซี.ซี. จะเป็นแบบกระบอกสูบเดี่ยวหรือกระบอกสูบคู่ก็ได้ และทำการแบ่งคลาสย่อยออกเป็น 2 กลุ่มคือ Elite และ Non-Elite (แบ่งย่อยอีก 2 กลุ่ม) คือ “Super Production” และ “Marathon” (มาราธอน) ซึ่งมีข้อจำกัดคือไม่อนุญาตให้ผู้แข่งขันรุ่น “Marathon” เปลี่ยนส่วนประกอบหลัก เช่น เครื่องยนต์ กระบอกสูบ เฟรม ตะเกียบ หรือ สวิงอาร์ม ส่วน “Super Production” และ “Elite” นั้นสามารถทำได้ โดยนักแข่งสามารถนำอุปกรณ์จำเป็นติดตัวไปด้วยแค่กระเป๋าเป้ใบเล็กๆ และกล่องเครื่องมือ ไม่สามารถจัดการกับรถได้หากยังไม่ถึงจุดเช็คพอยส์ ที่อนุญาติให้จัดเตรียมงานซ่อมบำรุงได้ด้วยทีมอีกไม่เกิน 4 คน และทำการซ่อมบำรุงได้แบบจำกัดตามกติกา ซึ่งผู้ขับขี่แต่ละคนต้องวางแผนทั้ง “รถ” และ “ร่างกาย” มาเป็นอย่างดี สมกับ “ปรัชญาดาก้าร์” ที่มุ่งเฟ้นหาชัยชนะจากผู้ที่…แข็งแกร่งที่สุด!!!

จะไปต่อ รึพอแค่นี้ กับบรรยากาศอันเวิ้งว้าง


          KTM ถือว่าครองแชมป์รายการนี้มากที่สุด ตามมาด้วย Honda, Yamaha, Sherco, Husqvarna, Gas Gas, BMW และCagiva ที่ประสบความสำเร็จไล่ลำดับชั้นกันลงมา

Related Articles

Back to top button

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

Save