Vintage Motorcycle Helmet (2)
ชีวิตปลอดภัย ใส่ “กระดอง” หุ้ม “กบาล” (2)
ภาคต่อ…“หมวกกันน็อกวินเทจ” ขอขยับความไปตามท้องเรื่อง…สู่…ยุคกลาง ที่หมวกกันน็อกจากฝั่งอเมริกาเริ่มที่จะเข้ามาแชร์ตลาด…หลัง…จากดูท่าทีของผู้ผลิตจากฝั่งยุโรปเสียเป็นส่วนใหญ่ ขึ้นชื่อว่า “หมวกกันน็อก” วัตถุประสงค์หลักเพื่อการ “ป้องกัน” อาการบาดเจ็บจากกระกระทบ กระแทก สำหรับผู้ขับขี่ที่พิสมัยชีวิตในแบบเอ้าท์ดอร์ มันเป็นสุนทรีย์โสตที่ต้องได้รับการดูแล จากเรื่องหลักของการป้องกัน“หมวกยุคกลาง” ถูกให้ความสำคัญในเรื่องของงานออกแบบเข้า มาร่วมผสม แบรนด์การค้ามากหน้า พากันพาเรดสร้าง “เอกลักษณ์” ในกลุ่มผู้ภักดี ทว่า ดีไซด์ที่โดนใจ…ยุคนั้น…เจท (Jet) คือ พิมพ์เขียวที่…พิศมัย…!?!?!
Bell 500 TX ที่ผลิตออกจำหน่ายปลายยุค 1950 ถือเป็นหมวกกันน็อก รุ่นที่ได้รับมาตรฐาน Snell สมาคมที่ตั้งขึ้นในปี 1957
คุณภาพ ความปลอดภัย และความสวยความงามที่ต้องมาด้วยกัน และเปิดตัวด้วยราคาไม่ถึง 40$
ถือเป็นหมวกกันน็อกรุ่นที่ประสบความสำเร็จที่สุดของโรงงาน Bell Auto Parts
1954-1966 Jet-Age Helmet Era :
หลังจากปล่อยให้ผู้ผลิตจาก “ยุโรป” โกยผลประโยชน์ไปก่อนหน้าตั้งแต่หลังปี 1930 “อเมริกา” เริ่มที่จะกลับมาให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์ “หมวกกันน็อก” อย่างจริงจัง ทั้งที่ก่อนหน้า ทำกันไปสะเปะ สะปะ แบบไม่มีแบบแผนที่แน่นชัด ซึ่ง “เป้าหมาย” ในการสร้างสรรค์ เริ่มที่จะเด่นชัดโดยยังคงได้รับอิทธิพลจากเทคโนโลยีจากอากาศยาน
ความภาคภูมิใจของ Bell แบรนด์ผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ชั้นนำ (Triumph) ต่างร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ความปลอดภัยนี้ นอกจากหมวกกันน็อก แอสเซสซอรี่ ที่ผลิตขึ้นเพื่ออรรถประโยชน์คู่กับ 500-TX ได้รับการผลิต นี่คือยุคของแฟร์ชั่นความปลอดภัยที่เริ่มจะได้รับความนิยม
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 (WW-II) รัฐบาลของอเมริกาทุ่มนโยบายในการที่จะผลักดันตัวเอง ให้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำด้าน “การทหาร” เหนือทุกภูมิภาค โครงการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์เพิ่มเขี้ยวเล็บโครงการใหญ่ๆ ถูกลงนาม หนึ่งในนั้นคือการพัฒนาฝูงบินขับไล่ (Jet Flighters) เพื่อใช้ในกองทัพอากาศ U.S. Air Force ซึ่งรู้จักกันดีในนาม “P-1”…1948 กลุ่มผู้ผลิตในนาม General Textile Mills (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Gentex Corporation ในปี 1958) ได้รับสัญญาสำหรับการผลิตหมวกกันน็อกสำหรับนักบินเครื่องบินรบของโครงการ “P-1” มันมีชื่อเรียกทันทีว่า “P-1 Helmet” หมวกกันน็อกกระดองแข็ง ที่ใช้ไฟเบอร์กลาสเป็นวิตถุดิบหลัก และเคลือบทับบด้วยอีพอกซี่-เรซิน เพิ่มความแข็งแกร่งของหมวก มันเป็นหมวกแบบปิดหู ทรงกลม ทิ่ติดตั้งวิทยุสื่อสารไว้ภายใน และเสมือนเป็นหู เป็นตา ให้กับฝูงบินที่ทรงพลานุภาพฝูงนี้ แน่นอนนี่คือหนึ่งในเขี้ยวเล็บที่ทำให้อเมริกาประกาศศักดาเคียงข้างนักบินผู้ห้าวหาร ณ สงคราม…เกาหลี!!!
Bell Shorty โปรดักส์หลังจากที่ Bell เข้าซื้อกิจการของ Toptex Co.
ที่เดิมที่ผลิตส่งให้หน่วยงานตำรวจ รูปทรงของหมวกกระดองแข็ง
เชื่อมต่อกันส่วนแผ่นหนังรดท้ายทอย
หมวกอีกรุ่นที่ได้รับความนิยมอยู่ไม่น้อย
1954 Roy Richter จาก Bell Auto Part Inc. รวบรวม ศึกษา ตัวอย่างทั้งหมดเกี่ยวกับหมวกกันน็อกที่ผลิตสำหรับ U.S.A.F. จนได้ข้อสรุปที่ดีที่สุด Bell มีวัตถุดิบและเทคโนโลยีรถแข่งอยู่เป็นทุนแล้ว ไม่แปลกที่จะเปลี่ยนความคิดสู่งานสร้างสรรค์สินค้าใหม่ออกมาเป็นทางเลือก แม้ใครจะกล่าวว่า นี่คืองานก็อปจาก “กองทัพ” ก็…ตามที!!!
ความแปลกใหม่ที่ทำให้ 500 –TX นั้นระส่ำ นี่คือมวบถูกคู่ในยุคต้น 1960
Bell 500 เสมือนเครื่องหมายการค้าของหมวกันน็อกที่ผลิตในอเมริกาอย่างอย่างเต็มตัว มันก้าวขึ้นมาเป็นหมวกที่นักขับขี่อออร์เดอร์ในอันดับต้นเสมอ แถมการันตีด้วยสื่อ 2 ล้อชื่อดังของอเมริกาอย่าง Cycle Magazine เดือนสิงหาคมปี 1952 หน้า 60 ยังกล่าวในคอลัมน์ “The Price on You Head” (จ่ายเท่าไร ถึงจะคุ้ม (ค่าหัว)…??) Bell 500 คือโมเดลที่ติดแถวบน…จากต้นแบบทางการทหาร สู้การปรับใช้สำหรับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ไม่ได้มีเฉพาะ Bell เท่านั้น หมวกกันน็อกที่ผลิตตามข้อสัญญาสำหรับเจ้าหน้าที่ “ตำรวจ” ที่ออกแบบโดย C.F. Lombard ศาตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย University of Sounthern California ในนามของบริษัท Toptex Inc. จากแคลลิฟอร์เนีย ก็ได้รับความนิยมอยู่ไม่น้อย มันเป็นหมวกกันน็อกแบบกระดองแข็งครึ่งใบ ที่เชื่อมต่อกับแผ่นหนังปิดครอบหู ซึ่งเป็นรูปแบบที่ปรับมาใช้บนถนน และก็มีโอกาสได้เห็นครั้งแรกในปี 1952 เช่นเดียวกัน
The McHAL ผู้ผลิตรายใหม่ที่โดดเข้ามาร่วมแชร์ ภายใต้หมวกสไตล์พื้นฐาน “Jet”
ถูกเขียนคิ้ว ทาปาก ในแบบที่แตกต่างออกไป เพื่อกลุ่มลูกค้าเฉพาะ
การที่ Bell 500 ได้รับความนิยมคือ “ราคา” จากหมวกที่ผลิตสำหรับนักบิน (ที่ไม่มีชุดอุปกรณ์สื่อสาร) หาจพนำมาปรับใช้ มันมีราคาแพงถึงใบละกว่า 200 $ แต่สำหรับไบค์เกอร์แล้วราคานั้นไม่สมเหตุสมผล Bell เปิดตัวโดยมีโปรดักส์ที่มีให้เลือกหลายแบบ และวางราคาไว้ต่ำกว่า 200$ และสำหรับรุ่นยอดนิยมนั้นมีราคาขายเพียง 40$ เท่านั้น (โดยราคา 200 $ ในสมัยปี 1952 นั้น จากการคำนวนอาจสูงถึง 1,000 $ หากเทียบกับสมัยนี้)…Bell 500 ราคา 40 $ จึงกลายเป็นสินค้าที่สมเหตุ สมผล ที่สุดสำหรับสิงห์มอเตอร์ไซค์ในขณะนั้น และแน่นอนว่าคุณภาพระดับนี้ สามารถส่งออกแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างสบายๆ ในปี 1954 ถือเป็นปีทองของสไตล์ “JET” หมวกนักบินประยุกษ์ที่สร้างฐานะการเงินให้ Bell Auto Part Inc. นั้นยิ่งใหญ่ Bell กลายเป็นเจ้าตลาด และผู้นำกลุ่มของสินค้าชนิดนี้อย่างเป็นทางการ
Fury หมวกเจท หุ้มขอบด้วยหนังแท้ อีกแบรนด์การค้าที่เข้ามามาเอี่ยมในยุคกลางปี 1960
Snell Memorail Foundation :
หลังจากการเสียชีวิตของ William “Pete” Snell นักแข่งรถยนต์ชั้นนำในปี 1956 คุณภาพของหมวกกันน็อกได้รับความสนใจอีกครั้ง กฎ กติการ เรื่องเครื่องป้องกันศรีษะถูกสังคยานา และได้รวมตัวกันจัดตั้ง Snell Memorail Foundation ในปี 1957 กองทุนที่พัฒนา ศึกษาและค้นหาวิธีการใหม่ๆ เพื่อลดการสูญเสียชีวิตจากท้องถนน (สนามแข่งขัน) “หมวกกันน็อก” ที่มีคุณภาพนั้นตอบโจทย์นี้ได้ เมื่อผู้ผลิตรถจักรยานยนต์-รถยนต์ มีการพัฒนาเครื่องยนต์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น คุณภาพของเครื่องป้องกันศีรษะก็จำเป็นต้องเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน “Snell” จะเป็นผู้กำหนดค่ามาตรฐานต่างๆ รวมถึงการตรวจสอบ ทดสอบ อย่างเข้มงวด สำหรับผู้ผลิตหมวกกันน็อกแบรนด์ชั้นนำต่างๆ Bell เป็นเจ้าแรกที่ขานรับด้วยโมเดลใหม่ในชื่อรุ่น 500-TX ในขณะที่ผู้ผลิตบางรายที่ไม่สนใจ หรือเพิกเฉย มาตรการทางสังคมต่างๆ ที่ช่วยกดรัด สินค้าที่ไม่ผ่านการรับรองของ Smell ในท้ายสุด ถึงกลับต้องปิดตัวลง ในขณะที่ Bell ยังคงขายดี กระทั่ง โดดเข้ามาซื้อกิจการที่กำลังจะปิดตัวของ Toptex Inc. (ผู้ผลิตหมวกตำรวจ) ในปี 1960 และเปลี่ยนชื่อเป็น Bell- Toptex โดยสินค้าที่เป็นที่นิยมในตอนนั้นคือ Bell 500 Shorty โดยเฉพาะนักแข่งขันรถยนต์รายการ… Indy500…!!!