Tips & Technic

เรื่องของ “คอยล์” และ “ระบบไฟ”

ก่อนทำการวัดค่าแรงเคลื่อนหรือค่าความต้านทานควรเปิดสวิทช์กุญแจและสตาร์ทเครื่องยนต์ให้จานไฟขยับหรือเคลื่อนตัว สวัสดีครับนักไรเดอร์…ขี่รถเป็น ขี่รถได้ ก็ต้องมีความรู้ติดตัวไว้บ้าง! เผื่อรถไปเดี้ยงที่ไหน? จะได้ไม่ต้องนั่งหง่าว…! สำหรับในช่วง “สาระน่ารู้บนอานมอเตอร์ไซค์” BY อาอ้วน!  ที่นำเสนอเรื่องราวเทคนิคที่อัดแน่นด้วยสาระประโยชน์ เต็มเปี่ยมด้วยโภชนาการทางสมอง คัดกรองทุกขั้นตอนการดูแล บำรุงรักษารถมอเตอร์ไซค์มาคลี่ให้ผู้อ่านได้เสพย์ เพื่อประโยชน์ในด้านความรู้เชิงช่าง วันนี้เรามาคลี่…ปัญหาที่เป็นเรื่องใกล้ตัว ที่ดูเหมือนไกล นะครับ เพราะเชื่อว่านักไรเดอร์…ที่ขับ และขี่รถมอเตอร์ไซค์หลายท่าน ไม่รู้จัก ไม่คุ้นหน้า เจ้าอุปกรณ์สำคัญเกี่ยวกับระบบไฟที่ชื่อว่า “คอย์” ตัวนี้หลายคน ไม่ใช่เพียงแค่ไม่รู้จักนะครับ บางท่านอาจจะไม่คุ้นหน้า และคุ้หูกันด้วยครับ เราใช้รถมอเตอร์ไซค์ อย่างน้อยๆ ควรที่จะต้องรู้ครับว่า เมื่อรถเกิดปัญหาขึ้นมาควรที่จะดู เช็ค หรือตรวจตราในส่วนในเป็นการเบื้องต้น เพื่อแก้ปัญหา ครับส่วนใหญ่รถมอเตอร์ไซค์ถ้าสตาร์ทไม่ติด สิ่งแรกที่ควรตรวจเช็คเลยครับคือ

1.น้ำมันเชื้อเพลิง รถบางรุ่น และหลายๆ รุ่นมีตัววัดระดับน้ำมัน หรือเกจ์น้ำมัน บางรุ่นไม่มี ตรงนี้ครับ นักขับขี่ที่ดี เมื่อต้องออกเดินทาง ไม่ว่าในระยะใกล้ หรือในระยะไกลๆ ด้วยรถมอเตอร์ไซค์ ก่อนอื่นต้องตรวจเช็คระดับน้ำมันที่อยู่ในถังน้ำมัน หรือเมื่อเกิดอาการรถสตาร์ทไม่ติด อย่าเชื่อเกจ์น้ำมันด้วยการดูด้วยตา ควรเปิดฝาถังน้ำมันตรวจเช็คระดับน้ำมันในถังทุกครั้ง เป็นอันดับต้นๆ เมื่อรถเกิดอาการสตาร์ทไม่ติด

2.เครื่องยนต์ เครื่องยนต์ที่เกิดการหลวม หรือชำรุด เป็นผลทำให้สตาร์ทไม่ติด

3.ระบบไฟ เป็นหัวใจของรถมอเตอร์ไซค์ทุกคัน ถ้าระบบไฟมีปัญหา ไฟรั่ว ไฟมาไม่เต็ม เนื่องจากหลายๆ สาเหตุของระบบไฟ จะเป็นผลทำให้รถสตาร์ทเครื่องยนต์ไม่ติดเช่นกัน

Ep.นี้…เรามาว่ากันในเรื่องของ “คอยล์” และ “ระบบไฟ”  ที่มีอยู่ในรถมอเตอร์ไซค์ อันประกอบด้วย กล่องไฟ หรือกล่อง ECM ที่ต้องทำความรู้จัก “คอยล์” คือ อุปกรณ์ ที่รับกระแสไฟมาจากกล่อง CDI  หรือปัจจุบันรถรุ่นใหม่ๆ จะเป็นกล่อง ECM หรือกล่องไฟ แล้วทำหน้าที่เปลี่ยนเปลี่ยนจากไฟแรงเคลื่อนต่ำ เป็นไฟแรงเคลื่อนสูง ทำให้เกิดประกายไฟ ตรงเขี้ยวหัวเทียน ใช้จุดระเบิดในห้องเผาไหม้ ในกรณีที่หัวเทียนไม่มีไฟออกมาจุดระเบิดควรพิจารณาจาก ปลั๊กหัวเทียนชำรุด เสียหาย ซึ่งเกิดจาก เป็นสนิมเกาะ, ขาดใน หรือสายคอยล์รั่ว แตก กรอบ จากความร้อน และอายุการใช้งาน หัวเทียน อาจจะเกิดจากหัวเทียนชำรุด เสื่อม หมดอายุการใช้งาน หรือบางทีอาจจะเจอหัวเทียนย้อมแมวเอาหัวเทียนเก่ามาโมฯใหม่ แล้ววางขาย ขั้วต่อสายไฟ จากคอยล์จุดระเบิด เกิดขี้เกลือ, ขาดใน, หรือขั้วต่อหลวม

เมื่อคาด หรือคิด หรืออาการของรถคือ เครื่องยนต์บ่งบอกด้วยอาการต่างๆ นั้น สันนิษฐานว่าเนื่องมาจากคอยล์แล้วนั้น ถ้าต้องตรวจเช็คแล้ว ก่อนอื่นที่จะลงมือทำการซ่อมแซม หรือตรวจเช็ค ควรที่จะต้องวัดค่าแรงดันไฟในตัวของ “แบตเตอรี่” ก่อนเป็นอันดับแรก ก่อนที่จะทำการวัดไฟ หรือแรงดันจากคอยล์ทุกตัว ไฟแบตเตอรี่ แรงดันไฟที่สมบูรณ์นั้นต้องวัดแล้วได้ค่าไม่ต่ำกว่า 12 โวลต์ ก่อนทำการวัดค่าแรงเคลื่อนหรือค่าความต้านทานควรเปิดสวิทช์กุญแจและสตาร์ทเครื่องยนต์ให้จานไฟขยับหรือเคลื่อนตัวไม่จำเป็นต้องติดเครื่องยนต์ทุกครั้ง

คอยล์ไฟคอยล์สตาร์ทหรือคอยล์จุดระเบิด ถ้าคอยล์สร้างแรงเคลื่อนไฟไม่ถึงค่ามาตรฐาน หรือค่าที่กำหนด คอยล์จะไม่สามารถทำงานได้ อาการคือ ไม่มีประกายไฟออกมาจากเขี้ยวหัวเทียน ซึ่งอาจจะเป็นได้ที่ คอยล์เสื่อม เนื่องจากอายุการใช้งานของคอยล์เอง ซึ่งอาการที่บ่งบอกนั้นมีตั้งแต่ สตาร์ทติดยาก  วิ่งแล้วเมื่อเครื่องร้อนเครื่องยนต์จะดับไปเอง หรือวิ่งแล้วสะดุด รอบเครื่องยนต์เร่งไม่ขึ้น หรือถ้าหนักหนาสาหัส ก็จะไม่สามารถสตาร์ทติดได้เลย

กล่อง ECM หรือกล่องไฟ เป็นตัวรับสัญญาณไฟจาก “พลันซ์เซอร์คอยล์” หรือรถมอเตอร์ไซค์บางรุ่น จะรับมาจาก “ขดลวดสเตเตอร์” (มัดข้าวต้ม) โดยรับสัญญาณมาแล้วทำการแปลงสัญญาณไฟ และกำหนดเวลาการจุดระเบิดเพื่อจ่ายไปยังคอยล์จุดระเบิด

เรคกูเรเตอร์ เป็นตัวแปลงสัญญาณไฟ จากไฟกระแสสลับเป็นกระแสตรง เพื่อส่งไฟไปยังอุปกรณ์ และชิ้นส่วนต่างๆ ภายในเครื่องยนต์เช่น แบตเตอรี่ ระบบไฟส่องสว่างต่างๆ  

ครับทั้ง 3 ชิ้นส่วนคืออุปกรณ์สำคัญเกี่ยวกับระบบไฟ และคอยล์ในรถมอตอร์ไซค์ที่เมื่อเกิดปัญหารถสตาร์ทไม่ติด หลังจากตรวจเช็คด้วยตาจากภายนอกตามจุดต่างๆ แล้ว การตรวจเช็คด้วยเครื่องมือก็จะสามารถทำให้แก้ปัญหา ซ่อมแซมให้รถมอเตอร์ไซค์คู่ใจกลับมาใช้งานได้ดังเดิมครับ…ฝากเอาไว้ให้ได้ใช้เป็นข้อมูลสำหรับมือใหม่ที่กำลังหัดเป็นช่าง และมือเก่าที่ต้องการข้อมูล พบกันใหม่กับเรื่องเทคนิค การดูแล รักษา และแก้ปัญหารถมอเตอร์ไซค์คู่ใจ พบกันในโอกาสหน้าครับ…สวัสดี!

เรคกูเรเตอร์, กล่อง ECM, คอยล์สตาร์ท

ระบบไฟในรถมอเตอร์ไซค์ เหล่านี้คือหัวใจทีเดียว

หน้าตาของขดลวดสเตเตอร์ หรือที่เราๆ ท่านๆ เรียกกันว่า “มัดข้าวต้ม”

ตัวนี้เป็นพลันซ์เซอร์คอยล์ ตัวตรวจจับมุมเพลาข้อเหวี่ยง ถ้าชำรุดสตาร์ทไม่ติดเช่นกัน

คอยล์ไฟ คอยล์สตาร์ท คอยล์จุดระเบิด ตัวนี้ หน้าตาเยี่ยงนี้

วัดค่าแรงดันเรคกูเรเตอร์ หรือพลันซ์เซอร์คอยล์ ต้องกดคันสตาร์ท หรือกดปุ่มสตาร์ทไฟฟฟ้าให้ล้อแม่เหล็กหมุนก่อนทุกครั้ง

วัดค่าความต้านทางที่พลันซ์เซอร์คอยล์ ถ้าค่าความต้านทางไม่ถึงค่ากำหนด แสดงว่าชำรุด วัดค่าความต้านทานที่คอยล์ไฟ ค่าความต้านทานไม่ถึงค่าที่กำหนด แสดงว่ากล่อง ECM มีปัญหา

วัดค่าความต้าน ให้ถูกขั้ว สายแดงเข้าที่สายสี ส่วนสายดำเข้าที่ขากราวน์

หัวเทียนที่ไม่มีไฟออกจากเขี้ยว อาจจะเป็นที่หัวเทียนชำรุด หมดอายุการใช้งาน หัวเทียนเก่าเอามาย้อมแมวใหม่ ถ้าหัวเทียนสมบูรณ์ แสดงว่าระบบไฟมีปัญหา ให้ตรวจเช็คตามจุดที่แนะนำ

Related Articles

Back to top button

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

Save