Classic BikeHighlight

1961 Triumph Tiger Cub ขุดปม “เสือน้อย” ไลน์ผลิต “ชิงธง” ตลาดรถเล็ก

1_resize

ในปี 1957 Tiger Cub (T20) จะมีพิมพ์เขียวเป็นของตัวเอง ซึ่งมันถูกปรับให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น และที่เด่นสะดุดตาคือ มีโช้คอัพหลังแบบสวิงอาร์มโช้คน้ำมันซับเข้าเข้าแทนที่

2_resize
เครื่องยนต์สูบเดี่ยว (เกียร์รวม) ก้านกระทุ้ง 199 ซี.ซี. ขุมพลัง บิ๊วใหม่ทั้งยวง เครื่อง คาร์บิว ชุดไฟ เอี่อมๆ แบบนี้ ชิ่งเดียวติด

นี่ก็ “สายตรง” ส่งข่าวเข้ามาหู กับรถ “เล็ก” เครื่องหมายการค้า “ใหญ่” ภายใต้กลุ่มธุรกิจดัง เจ้าของตราสินค้านามอย่าง Triumph (ไทรอัมพ์) ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดแบรนด์หนึ่งของโลก และมีพิมพ์เขียวที่น่าจดจำ กรุ่นๆ จากคอก “เสื้อเหล็ก” ที่เดิมที “เรา” มาร์คคิวเอาไว้ล่วงหน้า หนนี้จะเป็นคิว“โอสกูล อินเดียน หน้าแหนบ” สายคัสตอมสายซิ่งที่กำลังรันอิน กระนั้น เพราะเด่นมาเข้าตา  ผลงานเข้าไลน์พินิชก่อน การณ์นี้ “เสือน้อย” ขอสลับดิว “หัวหน่าเผ่า” แบบไม่…แคร์…ความจุ!!!

3_resize
เอกลักษณ์จากรุ่น T20 คือ “กระโปรงเล็ก” ชิ้นส่วนครอบกลางบอดี้ ส่วนเก็บงานที่ช่วยให้ตัวรถนั้นดูละมุนตา และสปอร์ต มากยิ่งขึ้น
4_resize
ดุมหน้าเป็น “ดุมเสี้ยว” ขนาด 5.5 นิ้ว เพียงพอกับความแรงขงเครื่องยนต์ที่ 10 แรงม้า

Triumph Tiger Cub (T20) เครื่องยนต์บล็อกเล็กขนาด 200 ซี.ซี. ถูกผลิตขึ้นจากโรงงานของ Triumph Motorcycle ใน Meriden โดยไลน์การผลิตใหม่นี้ถูกพัฒนาขึ้นจากพิมพ์เขียว “รถเล็ก” อย่าง Triumph Terrier (T15) ที่มีความจุกระบอกสูบเพียง 150 ซี.ซี….ถึงแม้ Tiger Cub จะเป็นรถเล็ก ทว่า ก็ยังได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจาก Edward Turner และมันพร้อมเปิดตัวให้เห็นครั้งแรก ณ งาน Earls Court Show ในเดือนพฤศจิกายน ปี 1953 ซึ่ง Triumphวางให้เป็น “เรือธง” ที่หวังเข้ามาแบ่งส่วนแบ่งทางการตลาดรถเล็ก ที่เจ้าของตลาดอย่าง Villiers นั้นหถือครองอยู่

5_resize
อานิสงค์หน้าตาที่ถอดแบบจากรถรุ่นพี่ (Parallel-Twin) สวยงาม ลงตัว ในแบบพิมพ์รถหัวไอ้โม่ง มีขอบคิ้วสวยงาม โลโก้ ยางแก้มถัง และสีสัน ที่จำลองจากรถในตำนาน “บอนนี่ ’59” มาได้อย่างลงตัว

ไลน์ผลิต T120 ล็อตแรก (1954-1956) มีการขยับขยายเพียงความจุกระบอกสูบของเครื่องยนต์เป็น 199 ซี.ซี. เท่านั้น ในขณะที่โครงสร้างเฟรม และโช้คอัพหน้า-หลัง (สไลด์/ Plunger) ยังคงปเนอานิสงค์ของรุ่น Terrier (T15)…ก่อน…ในปี 1957 Tiger Cub (T20) จะมีพิมพ์เขียวเป็นของตัวเอง ซึ่งมันถูกปรับให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น และที่เด่นสะดุดตาคือ มีโช้คอัพหลังแบบสวิงอาร์มโช้คน้ำมันซับเข้าเข้าแทนที่ แต่ยังคงการทำงานของเครื่องยนต์ ระบบจุดระเบิดด้วย “จานจ่าย” ฟอร์แมทที่เป็นมาตรฐานในรุ่นT15

6_resize
ถังน้ำมันทรงกลม ฝาถังน้ำมันตรงกลาง ไม่ต้องการเส้นขอบ สัน ให้สะดุดตา ความจุที่ 3 แกลลอน

Triumph Tiger Cub (T20) นั้นแตกไลน์ออกให้เห็นอยู่ในอีกหลายเวอร์ชั่น อาทิ

T20SH : Sport Cub รถเล็กที่สมูทตา ด้วยบังโคลลนหน้าหลังเล็ก เรียว สโลปไปตามขอบล้อ มันไม่มีชิ้นส่วนครอบถังออยล์ (กระโปรงเล็ก) และไม่มีหัวไอ้โม่งครอบจานฉาย (กระโหลกลอย) เครื่องยนต์พัฒนาแรงอัดให้สูงขึ้น และสามารถทำความเร็วสูงสุดได้สูงถึง 74 ไมล์/ ชม. (118 กม./ ชม.)    
T20C : รถ “ออฟโรด” สายลุยคือโมเดลต่อยอด มันมีท่อไอเสียที่วางพาดสูงเหนือแคร้งเครื่องยนต์ ปรับเปลี่ยนโช้คอัพหน้า และหันมาใช้ยางนาม สำหรับเส้นทางสายลุย ไลน์ผลิตนี้ยังแตกลายเป็น TS20 Scramble Cub/ TR20 Trial Cub ด้วย

7_resize
ท่อไอเสียรูปทรงมาตรฐานโรงงาน แค่ย่อสเกลลงมา แค่นี้ก็สวยในแบบรถเล็ก
8_resize
เบาะยาว 2 ตอน ปาดขึ้นทรง เก็บชอบสีที่ตัดกัน โลโก้ทอง ดีเทลละเอียดๆ ที่ต้องเก็บให้…กริ๊ป!!!

T20 : Super Cub คือ ไลน์ผลิตที่กลับไปหาแนวทางการสร้างรถเล็ก “ราคาประหยัด” และเพราะเป็นพันธมิตรกับค่าย BSA ทั้งแบบเฟรมและชิ้นส่วน Super Cub นั้นแชร์กับ BSA Bantam (D10) มีการขยายเส้นผ่าศูนย์กลางล้อเพิ่มขึ้นเป็น 19 นิ้ว และใช้ดุมหน้าหลังแบบดุมเต็ม โดยวางจำหน่ายครั้งแรกในปี 1966 กระทั่งวาระสุดท้ายในปี 1968

9_resize
AMAL ถ้วยล่าง (Concentic) เลือกขนาดย่อม ใหม่ๆ บล็อกนี้ของ 250 หยิบจับมาจูนให้ลงตัว เท่านี้ก็วิ่งสมูท
10_resize
ใหม่ๆ เลย กับชุดจานจ่าย ตรงรุ่น ตรงปี เสียบขับเฟือง ไฟเม่นๆ หายากสุดๆ แต่โชคดีได้มา

การที่ Triumph Tiger Cub (T20) ได้รับความนิยมมากในยุคนั้น ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจาก กฎ-กติกา ด้านการจราจรในปี 1961 ของ “เครือจักรภพ” (Grest Britain) ที่สนับสนุนให้ทำรถขนาดเล็กและราคาที่ย่อมเยาว์แทนการใช้รถยนต์ สิทธิพิเศษทางการค้าต่างๆ สนับสนุนสำหรับรถที่มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 250 ซี.ซี.….เหตุนี้กระมัง…ที่สนับสนุนให้ไลน์ผลิตของ Triumph Tiger Cub (T20) นั้นเป็นรถที่ได้รับความนิยมและแตกยอด ทั้ง T15/ T20 ขายในท้องตลาดได้มากถึง113,671 คัน !?!?!

11_resize
ง่ายๆ แต่มีเสน่ห์ ด้วยกลไกบอกตำแหน่งเกียร์ที่ฝังกลางหัวไอ้โม่ง ขยับขึ้น- ลง ผ่านสายเคเบิล ที่เชื่อต่อกับคันเกียร์ที่เท้ตามจังหวะ
12_resize
จุดยึดก้านเบรก-คลัตช์ ไม่ต้องใช้ประกับรัด เชื่อมติดเป็นชิ้นเดียวกับแป๊บบาร์ไปเลย

1961 Triumph T20 “Tiger Cub”

รถ / รุ่น                                    Triumph / T20-Tiger Cub

ปีผลิต                                      1954-1956/ 1st. Version
1957-1968/ 2nd. Version

เจ้าของ                                   ช่างไข่ มินิ

เครื่องยนต์                              1 สูบ 4 จังหวะ ก้านกระทุ่งวาล์ว 199 ซี.ซี.

ระบายความร้อนด้วยอากาศ

กระบอกสูบ/ ช่วงชัก               36 X 64 มม.

แรงม้า                                      10 แรงม้าที่ 6,000 รอบ/ นาที

กำลังอัด                                   7 :1

ระบบไฟ                                   จานจ่าย / 6 V.

ระบบเกียร์                                4 เกียร์ (ขวา)

ระบบคลัตช์                              เปียก (หลายแผ่น)

ระบบขับเคลื่อน                        โซ่

ระบบโช้คอัพ (หน้า/หลัง)        เทเลสโกปิก / สวิงอาร์มโช้คน้ำมัน

ระบบเบรก (หน้า/หลัง)         ดรัมเบรก (ดุมเสี้ยว 5.5 นิ้ว)

ขนาดยาง (หน้า/หลัง)           3.00/ 18

ฐานล้อ                                    49 นิ้ว

ความจุเชื้อเพลิง                     3 แกลลอน

ความเร็วสูงสุด                        106 กม. ชม.

13_resize
ไฟท้าย “ค้างคาวแดง” ศัพท์บ้านเราเรียกกัน พาร์ทนี้ใช้ในรถอังกฤษไศด์เล็กเกือบทุกโมเดล

logo_resize

1-T20SH-Sport Cub
T20SH-Sport Cub
2-T20C-Scramble Cub
T20C-Scramble Cub
2-TR20-Trial Cub
TR20-Trial Cub
3-T20-Super Cub
T20-Super Cub

อ้างอิง : THE ENCYCLOPEDIA OF THE MOTORCYCLE / Hugo Willson
: ON 2 WHEEL / Roland Brown
: https://en.wikipedia.org/wiki/  Triumph Tiger Cub

 

เรียบเรียงข้อมูลโดย นิตยสาร มอเตอร์ไซค์ : motorcycmagazine.grandprix.co.thmag
ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th

Related Articles

Check Also
Close
Back to top button

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

Save