1968 Kawasaki W1SS
1968 Kawasaki W1SS
ซูเปอร์ไบค์คันแรกของค่าย “คาวาซากิ”
คันแรกก็สร้างสรรค์ออกมาได้สวยเลย สำหรับ W-series รถเครื่องยนต์สูบคู่ ที่แชร์แบบการผลิตจากค่าย BSA รุ่น A7 ทว่า พัฒนามันให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น โมเดลนี้เป็นรุ่นพัฒนาขึ้นในปี 1968 จ่ายน้ำมันด้วยคาร์บูเตอร์แบบคู่ บนความจุขนาด 624 ลิตร
ขยับขึ้นมาเข้าเฟรม “คลาสสิกไบค์” ไปอีก 1 รุ่น สำหรับ “ค่ายยุ่น” นามคาวาซากิ จากอานิสงส์ที่ได้รับการต่อยอดจากโรงงานอากาศยาน “ปฐมบท” ที่ใส่ความ “ตั้งใจ” และ “วัฒนธรรม” ในแบบฉบับของตัวเอง นี่คือ “จุดแข็ง-จุดขาย” ที่สร้างสรรค์ความ “ยิ่งใหญ่” ให้กับ Kawasaki Motorcycle & Engine Company…ในทุกวันนี้!!!
ดูรูปแบบการจัดวางส่วนของเครื่องยนต์ ยังคงหน้าตา “เครื่องรูปหัวใจ” เกียร์แยกแบบ BSA A10 ทว่า ชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ปรับเปลี่ยนไปค่อนข้างมาก โดยเฉพาะจุดหมุนต่างๆ เปลี่ยนมาใช้ระบบลูกปืนแบริ่ง ใช้โซ่ราวลิ้นร่วมกับชิ้นเฟือง เหตุนี้ W1 จึงทำงานได้นุ่มนวล แถมช่วยลดเสียงของเครื่องยนต์ลงได้ แต่ยังคงตำแหน่งการทำงานแบบเกียร์ขวา- เบรกซ้าย แบบอย่าง BSA
Kawasaki W1 คือไลน์ผลิต “ซูเปอร์ไบค์” คันแรกของโรงงาน ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นครั้งแรกในปี 1965 ซึ่งได้แชร์แบบการผลิตมาจากรถจักรยานยนต์ “จุดระเบิดคู่” เกียร์แยกของอังกฤษอย่างรุ่น BSA A7 ภายใต้ลิขสิทธิ์ที่บริษัทแม่อย่าง Meguro นั้น ได้ถือครองมาตั้งแต่หลังสงครามโลก (ครั้งที่ 2) ทว่า เครื่องยนต์ของ W1 นั้น ได้รับการขยายความจุขึ้นเพื่อให้มีขนาดใกล้เคียงกับ BSA A10 ที่มีขนาด 650 ซี.ซี. ซึ่งทาง Kawasaki วางเป้าหมายทางการตลาดไว้ที่อเมริกาเหนือและแคนาดา แต่เพราะต้องการกำลังเครื่องยนต์ให้ซอฟต์ลงมาหน่อย ทอร์กไม่ต้องหนักมากนัก เน้นใช้งานง่ายๆ นิ่มนวลในทุกย่านความเร็ว มิติของเครื่องยนต์ใหม่ที่ 74/72.6 มม. ได้รับการปรับเปลี่ยน (BSA A10 เลือกใช้กระบอกสูบ/ช่วงชักที่ 73/84 มม.) ซึ่งทำให้ปริมาตรกระบอกสูบเหลือเพียง 624 ซี.ซี. ทว่า ก็ยังใหญ่ที่สุดเท่าที่โรงงาน Kawasaki เคยสร้างสรรค์มา
เพราะต้องส่งออกไปขายที่อเมริกา แคนาดา ที่มีข้อกำหนดเรื่องของไฟเลี้ยงและขนาดของไฟด้วย หน้าตาของรถไฟกลมคันนี้เลยต้องปรับให้ตรงสเป็ก และใช้มาตรวัดทรงกลมแบบคู่ ที่บอกความเร็ว-รอบเครื่องยนต์
Kawasaki W1 นั้น พัฒนาชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ใหม่ และเปลี่ยนจุดหมุนต่างๆ แทนที่มันด้วยลูกปืนแบริ่ง เพื่อให้ทำงานได้นุ่มนวลและเพิ่มอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น ทว่า หน้าตาของแคร้งค์เครื่องยนต์ภายนอกนั้น ยังคงความเป็นอานิสงส์ “เครื่องรูปหัวใจ” ที่บ่งบอกแรงบันดาลใจมาจาก BSA อยู่ดี โดยเฉพาะการวางตำแหน่งของคันเกียร์ไว้ทาง “ด้านขวา” ก้านเบรกทาง “ด้านซ้าย” คาแรกเตอร์และธรรมเนียมแท้ๆ ในแบบ “รถฝรั่ง”
ถังน้ำมันขนาด 15 ลิตร ปรับรูปทรงให้ต่างจาก BSA เล็กน้อย แต่ยังคงยึดกลางถัง ไม่ใช้ปีกถังโครม แต่เลือกชุบโครมทั้งใบ ก่อนทำสีเว้นแก้มข้างไว้ และไม่ลืมใส่ยางข้างถังแบบอย่างพิมพ์เขียว
1966-1968 Kawasaki W1 ใช้ระบบจ่ายเชื้อเพลิงแบบคาร์บูเรเตอร์ขนาด 31 มม. ของ Mikuni ก่อนที่จะมีการปรับเปลี่ยนมาเป็นขนาด 28 มม. ทว่า ติดตั้งมาบนฝาสูบแบบคาร์บิวคู่ ภายใต้โมเดลที่รู้จักใหม่ว่า W1SS และถัดมาในปี 1969 ก็ปรับลุคให้ W1 อีกครั้ง คราวนี้เครื่องยนต์มีกำลังเพิ่มขึ้นจาก 50 เป็น 53 แรงม้า สำหรับรุ่น W2SS และเพิ่มออปชันในแบบ “รถลุย” ด้วย W2TT รถ “ท่อยก” ไซเรนเซอร์คู่ ที่วางพาดทางด้านซ้ายของตัวรถ ทว่า ไลน์การผลิตนี้ก็มีไม่ยาวนัก W2SS/W2TT หยุดผลิตในปี 1970 เท่านั้น และตามด้วย W1SS ในปี 1971
ไฟท้ายสวยๆ บนก้านเหล็กขึ้นรูป มีไฟท้ายกลมโต เหล็กกันตก ชิ้นส่วนที่เริ่มใส่ความเงางาม และเส้นสายที่สวยงามเข้าไป
เบาะทรงเดิม หนาๆ นุ่ม บิ๊วใหม่ ทรงเดิม แต่เพิ่มลูกเล่นที่บั้งลาย และใส่สีสันเพิ่มเข้าไปหน่อย
ยุค’70 บล็อกเครื่องยนต์ขนาด 650 ซี.ซี. นั้น ได้รับความนิยมอย่างมากทั้งในตลาดญี่ปุ่นและยุโรป โปรดักต์ใหม่ของค่าย Kawasaki พัฒนาเพื่อขายในประเทศ เปิดตัวรุ่น W1SA ในขณะที่เวอร์ชันส่งออก รู้จักกันในนาม W3 (บ้างก็เรียกว่า RS650) ซึ่งภาพลักษณ์และหน้าตาของรถรุ่นใหม่นั้นดูสปอร์ตและทันสมัยมากขึ้น มีการอัปเกรดระบบช่วงล่างต่างๆ และหันกลับมาใช้เบรกหน้าแบบ “ดิสก์เบรก” แถมปรับเปลี่ยนทิศทางชุดเกียร์มาไว้ทาง “ด้านซ้าย” ส่วนเบรกกลับมาไว้ทาง “ด้านขวา” ตามวิถีของรถแบบญี่ปุ่น…แต่…สุดท้ายก็ยื้อไลน์ผลิตของ W-series ไปได้ถึงปี 1974 ก็จะถูกยุบไลน์ผลิตไป…อย่างเป็นทางการ !?!?!
หน้าเทเลสโคปิก บังโคลนสเตนเลสแบบบาง มีโช้คคอกันสะบัดด้วย ปลอกยางกันฝุ่น ดุมหน้าใหญ่ มือลิงเบรกคู่ กับขนาดยางหน้า 25×19 นิ้ว
แพทเทิร์นของด้านท้าย สวิงอาร์มโช้คคู่ รูปทรงของท่อกระบองแบบ BSA กลับลงตัวที่ขนาดของล้อหลังพร้อมยางโตขนาด 00×18 นิ้ว
1968 Kawasaki W1SS
รถ KAWASAKI
รุ่น / ปี W1SS / 1968
เจ้าของ MARK FAY BOY DESIGN
เครื่องยนต์ OHV 2 สูบ 4 จังหวะ 624 ซี.ซี.
ระบายความร้อนด้วยอากาศ 50 แรงม้าที่ 6,500 รอบ นาที
กระบอกสูบ / ช่วงชัก 74 / 72.6 มม.
ระบบไฟ 12 โวลต์ (แบตเตอรี่)
ระบบเกียร์ 4 เกียร์ (ขวา)
ระบบคลัตช์ เปียก (หลายแผ่น)
ระบบขับเคลื่อน โซ่
ระบบโช้คอัพ (หน้า / หลัง) เทเลสโคปิก / สวิงอาร์มโช้คน้ำมันแบบคู่
ระบบเบรก (หน้า /หลัง) ดรัมเบรก (มือลิงคู่หน้า) ม็ม้H
ล้อ / ยาง (หน้า / หลัง) 3.25 x 19 นิ้ว / 4.00 x 18 นิ้ว
ความจุเชื้อเพลิง 15 ลิตร (4.0 แกลลอน)
ความเร็วสูงสุด 110 ไมล์ / ชั่วโมง (180 กม. / ชม.)
Story : nuiAJS
Photo : Kwang GPI. Photo Dep.