DUCATI Story
เพราะแรงมาตั้งแต่…เกิด!!!
DUCATI Time line
1946 : ผลิตภัณฑ์แรกเริ่มจากเครื่องยนต์ 48 ซี.ซี. OHV ติดเครื่องจักรยานยนต์ของ Cucciolo หลังจากนั้นในปี 1950 ก็สร้างจักรยานยนต์และสกู๊ตเตอร์ขึ้น โดยใช้ขุมกำลังของ Cucciolo
1952 : เพิ่มความก้าวหน้าให้กับ Cruiser scooter ด้วยเครื่องยนต์ขนาด 175 ซี.ซี. OHV พร้อมทั้งระบบขับเคลื่อนแบบออโตเมติค และตัวสตาร์ทไฟฟ้า ตามด้วยจักรยานยนต์ OHV นํ้าหนักเบา
1954 : วิศวกร Fabio Taglioni ร่วมงานกับ Ducati และมีบทบาทต่อการออกแบบจักรยานยนต์ค่ายนี้ตลอด 30 ปี โดยจักรยานยนต์ฝีมือเขาคันแรกใช้เครื่องยนต์ 98 ซี.ซี. OHC ในปี
1956 : ใช้วาล์วเกียร์แบบ Desmodromic เป็นครั้งแรก…นี่แหละที่ทำให้ Ducati เป็นที่กล่าวขาน ตั้งแต่รุ่นปี 1950 – 1960 จะเห็นถึงการพัฒนาของจักรยานยนต์สูบเดี่ยวของค่ายนี้อย่างต่อเนื่องทั้งลูกสูบคู่และต้นแบบ 1,257 ซี.ซี. V4 ก็ได้รับการพัฒนาขึ้น
Fabio Taglioni บิดาของ “ดูคาติ” ที่เข้ามาร่วมงานกันในปี 1954 3 อาชาตัวท๊อป “จุดขาย” ที่วาล์วระบบ Desmo
แจ้งเกิดบนเส้นทางความแรงให้โลกได้รู้จัก
1970 : ใช้พื้นฐานของเทคโนโลยีสูบเดียว เครื่องยนต์ 748 ซี.ซี. V-twin ใช้แคมชาฟท์และระบบขับวาล์วแบบ OHV ทำให้ขยายความจุของเครื่องยนต์เพิ่มเป็น 864 ซี.ซี. และ 973 ซี.ซี. รวมทั้งจักรยานยนต์แข่งสำหรับพัฒนาทำต่อเนื่องถึงปี 1986
1977 : Ducati สร้างเครื่องยนต์ 500 ซี.ซี. V- Twin OHC ขับเคลื่อนด้วยสายพาน โดยเริ่มผลิตอย่างจริงจังปี 1979 ซึ่งในปี 1984 เครื่องยนต์ 2 วาล์วมีขนาดความจุกระบอกสูบเป็น 904 ซี.ซี. ระบายความร้อนด้วยอากาศเช่นเดิมที่การพัฒนาจักรยานยนต์ ได้รับการปรับปรุงเพื่อใช้ในการแข่งขัน
1985 : Cagiva เข้าควบคุมกิจการ Ducati
แข่งมาตั้งแต่เกิด จะเล็ก-จะใหญ่
และคือแชมป์รายการแบบ “กินรวบ” มาตั้งแต่ตอนนั้น
1988 : เครื่องยนต์ตัวใหม่ 851 ซี.ซี. V-twin 4วาล์ว พร้อมด้วยระบบหัวฉีดและระบายความร้อนด้วยนํ้าได้ถูกสร้างขึ้น ขนาดเครื่องยนต์เพิ่มเป็น 916 ซี.ซี. และสามารถก้าวสู่สังเวียน World Superbike ได้สำเร็จ…และผลิตภัณฑ์ยังคงทำต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และถือว่าเป็นรถจักรยานยนต์จากค่ายยุโรปที่ยังคงประสบความสำเร็จด้านยอดขาย และเป็นที่กล่าวขวัญถึงสมรรถนะความ เร็ว แรง เสมอมา
ภาพรถคลาสสิคแบบเก่าถูกแทนที่ด้วย “รถแรง”สายพันธุ์ตัวแข่งที่หวังมาแจ้งเกิด รถช่วงสั้น ทรงสปอร์ต กับเสียงแผดกร้าวยังคงคุ้นโสตสาวกผู้ไหลหลง…“เจ้าความเร็ว” คือจุดขายที่ไร้ข้อกังขา เพราะนี่คือสายพันธุ์แรงจาก “อิตาลี” ที่ถูกเม้าท์ใน “สยาม” ครั้งแรกของยุคกลาง…จนเราต้องนั่งสดับ…!?!?!
สมพร รำพรรณ
สมพร รำพรรณ
สายพันธุ์ความแรงที่แตกต่าง
ตลาดรถอิตาลีสมัยนั้นเป็นอย่างไรบ้าง?
“เอาเป็นยุคที่ผมอยู่ในเหตุการณ์แล้วกัน…ก่อนปี พ.ศ. 2500 สมัยนั้นคงต้องยกให้รถจากอังกฤษและเยอรมนีที่เขาเป็นเจ้าของตลาด TRIUMPH, BSA, NORTON, AJS, MATCHLESS และBMW ซึ่งเอเย่นต์ที่นำเข้าเท่าที่จำได้ก็มีอยู่ 3-4 เจ้า มี โอเรนเตน แมชชีนเนอรี่, รุ้งจรัสแสงยนต์ (เตียวม่งเส็ง), และ ห้างหุ้นส่วนจำกัดแสงฟ้า”
โมเดลอะไรบ้างที่เข้ามาจำหน่าย?
“เล็กสุดก็ 50 ซี.ซี. (จำรุ่นไม่ได้), 98 ซี.ซี. (บองโก) , 125, 160, 175, 200, 250, 350 ซี.ซี. โดยเน้นจุดขายความเป็นรถสปอร์ตที่เร็วแรง แฮนด์หมอบ มีเวอร์ชั่นแฮนด์ยกนะ แต่กลับไม่ได้รับความนิยม…ซึ่งราคาออกห้างสมันนั้นที่จำได้ติดตา 250 ซี.ซี. (ฝาเดียว) ราคา 14,000 บาท ถ้าเป็น 250 Desmo ราคา 24,000 บาท ซึ่งสูงมากๆ เพราะราคาทองสมัยนั้น “บาท” ละ 400 บาทเอง เรียกว่าจะมาเล่นรถยุโรปได้ก็ต้องทุนหนาด้วย ใจรักเพียงอย่างเดียว…ไม่พอ”
แต่ละเอเย่นต์แบ่งโมเดลการจำหน่ายกันอบ่างไร?
“ด้วยธุรกิจมันก็ต้องถือเป็นคู่แข่งทางการค้า “รุ้งจรัสแสงยนต์” (เตียวม่งเส็ง) ขายรุ่นฝาเดียวทั้ง Mach1/ Mark3 ส่วน “แสงฟ้า” ขาย 50, 160 ซี.ซี. และ Mark3 ตระกูล 2 ฝา แต่ก็มี Mark3 ฝาเดียว จำหน่ายด้วยเช่นกัน ซึ่งหากใครซื้อรถจากเอเย่นต์ไหนก็จะเข้ามารับบริการ อะไหล่ กับเจ้านั้น เรียกว่าเป็นการแบ่งกลุ่มก้อนกันไปโดยปริยาย สำหรับ “ผม” เราคลุกคลีและเพื่อนๆ ในกลุ่มเรารับบริการจาก “รุ้งจรัสแสงยนต์” ซึ่ง “เฮียหลี” ถือเป็นช่างใหญ่ของทางร้านที่ทุกคนรู้จักดี แต่ที่น่าสังเกตคนที่เล่น DUCATI ส่วนใหญ่จะมีพื้นฐานช่าง และเราก็สามารถทำเครื่องกันเองได้บ้าง ถ้าสาหัสจริงๆ ก็ต้องเป็น “เฮียหลี” สำหรับ “แสงฟ้า” ก็มีช่างเก่งๆ หลายคน เราไม่ได้คลุกคลีก็เลยไม่รู้ค่อยจะรู้จัก”
“เฟืองบิด-เฟืองดอกจอก” (Bevel Gear) ระบบการทำงานขับแคมฯ
ในเครื่องยนต์ของ DucatiDesmo Valve ระบบวาล์วแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้น โดยการเพิ่มวาล์วตัวดันกลับอีกข้างละตัว คอนพยุงให้วาล์ว ปิด/เปิด ได้แม่นยำมากขึ้น
รอบสูงๆ จึงลดอาการวาล์วกระพือได้เป็นอย่างดี
เริ่มใช้ในเครื่องยนต์ของ Ducati ปี 1956
สถานที่รวมตัวกันในยุคนั้น?
“ตรงสามเหลี่ยมดินแดงทุกวันศุกร์ตอนเย็น…ตอนนั้นเยอะมาก กลุ่มเรารวมตัวกัน 40-50 คัน ลองคิดดูว่าเวลาไปไหนที เสียงของ DUCATI นั้นจะสนั่นแค่ไหน? ที่รวมตัวตรงนี้ เพราะช่าง 4-5 คนทำงานที่อู่รถยนต์ตรงนี้ ตอนหลังอู่เลิกไป ก็ย้ายมารวมตัวกันที่สะพานพระรามฯ 6 ตรง CPAC เลยเรียกกันว่ากลุ่ม CPAC (ซีแพค) ไปโดยปริยาย…ยุคหลังมีการเปลี่ยนสถานที่พบปะอีกครั้ง มาที่ร้านอาหาร “จั๊กหน่อย” บางกระบือ ตรงสามแยกพิชัย เป็นร้านอาหารมีเพลงฟัง…แต่สุดท้ายก็ต้องค่อยๆ เลิกลากันไปหลังโต้โผใหญ่ “อรุณ” เสียชีวิต”
แล้วออกทริปยาวๆ มีโอกาศมากน้อยเพียงใด?
“มีเรื่อยๆ นะ เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ใต้ อีสาน ส่วน เหนือ นี่ไปบ่อยสุด ทางสวย โดยเฉพาะช่วงสงกรานตร์ถือเป็นงานประเพณีที่ต้องไป ที่นั่นมีการแข่งขันในแบบสนานด้วย ซึ่งงานนี้ค่อนข้างให้ความสำคัญ…ถามว่าเมื่อยรึเปล่า? ตอนนั้น…ไม่นะ ถึง DUCATI จะเป็นรถหมอบ แต่เรากำลังสด พละกำลังยังดีกันอยู่ อีกอย่างไปกับเพื่อนๆ ที่รู้ใจกัน ผมว่ายังไงมันก็ไม่เหนือย”
พูดถึง DUCATI ต้องพูดถึงการแข่งขัน?
“นางเลิ้ง ดอนเมือง พระราชวังสนามจันทน์ ภูธรก็ จันทบุรี เชียงใหม่ DUCATI ก็ลงชิงชัยด้วยทุกสนาม สำหรับคำว่า “สนาม” มันไม่ได้สนานถึงแทร็คสวยๆ อย่างปัจจุบันนะ เรียกว่าสนามฟุตบอลจะดีกว่า ไม่ก็ลานกว้างๆ เรียบๆ เอามาดัดแปลง จัดทำลู่แข่งกันเอง เอาเชือกกั้นตรงคนดู ถ้าเปรียบในรถยุโรปด้วยกัน ต้องยอมรับว่าDUCATI นั้นเป็นต่อเยอะ จนต้องลงแบก ซี.ซี. แข่งกับค่ายอื่นๆ ในรุ่น “ไม่จำกัด ซี.ซี.” เพราะถ้าไปจำกัด ซี.ซี. ก็คงไม่มีใครสู้ เรื่องการแข่งขันนั้น DUCATI นั้นดังมาก เรามีนักแข่งเด่นๆ หลายคน ที่เด่นสุดก็ ถาวร จีระพันธุ์ (เดิมเป็นนักแข่งจักรยาน) ขี่ 350 2 ฝา คันนี้แรงมาก…ลายไทย เศวตทัติ นี่ก็สร้างชื่อให้ทีม DUCATI มากอีกคน มณเฑียร สมญาชาติ, วราฤทธิ์ คาราวะ ทั้งคู่ขี่ 250 2 ฝา เรียกว่า ทั้ง TRIUMPH/ NORTON/ AJS/ BMW/ MATCHLESS รู้จักกิตติศัพท์กันดีทุกคน…กระทั่งการแข่งขันครั้งท้ายๆ ที่ อินดอสเตเดียม หัวหมาก เป็นการแข่งขัน 24 ชั่วโมง เรียกว่าฮือฮามาก มีรถร่วมแข่งขันหลายทีม ใช้นักแข่งผลัดกันได้ 2 คน แต่ครั้งนี้รถญี่ปุ่นก็เข้ามาแข่งขันด้วย YAMAHA 250 ซี.ซี. 2 สูบ แรงมาก กระทั้ง DUCATI เองก็ทานไม่อยู่ และ DUCATI เองก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะระยะทางและเวลานั้นยาวเกินไป”
วิวัฒนาการของเครื่องหมายการค้าของ Ducati จากอดีต-ปัจจุบัน
ในโมเดลของ DUCATI รุ่นท๊อปๆ ยุคนั้นมีรุ่นอะไรบ้าง?
“เครื่องยนต์ระบบ “เฟืองบิด” นั้นแรงทุกตัว โดยเฉพาะ Mach1 (มาร์ค-วัน) เป็นรถที่ทำความเร็วสูงสุดในยุคนั้น ถึง 177 กม./ ชม. ซึ่งถือว่าแรงพอๆ กับเครื่องยนต์ Mark3 ขนาด 350 ซี.ซี. ทีเดียว แต่ 350 นั้นพัฒนาในการออกตัวที่ดีรกว่า ส่วนตีนปลายนั้นเรียกว่าไหลได้พอๆ กัน”
Ducati Panigale V4SP นวัตกรรมรุ่นล่าสุดของ Ducati ในโลกปัจจุบัน
สำหรับรุ่น Desmo?
“เดสโมวาล์ว ระบบวาล์วแบบใหม่ที่พัฒนาเข้าไป โดยการเพิ่มวาล์วตัวดันกลับอีกข้างละตัว คอนพยุงให้วาล์ว ปิด/เปิด ได้แม่นยำมากขึ้น รอบสูงๆ จึงลดอาการวาล์วกระพือได้เป็นอย่างดี …Desmo จะมีเฉพาะใน Mark3 รุ่น 2 ฝา เท่านั้น ก็ถือเป็นรุ่นท๊อปเหมือนกัน มีทั้ง 250/350 ซี.ซี. ซึ่งก็ขายออกไปเยอะเช่นกัน กระทั่ง 450 ซี.ซี. ก็เคนยได้ยินข่าวว่ามีนะ แต่เราก็ไม่เคยได้มีโอกาสเห็นมากับตาสักที แต่อะไหล่รุ่น 450 ก็เคยสั่งเข้ามาใช้แทนรุ่น Mark3 250 ซี.ซี. รุ่น 2 ฝา เพราะขนาดเท่ากัน ผิดที่ กระบอกสูบ/ช่วงชัก เท่านั้น”
ใบโฆษณาของ “ห้างแสงฟ้า” กับ Mark3 รุ่น 2 ฝา 250 ซี.ซี. ส่วนผู้หญิงคือ เพชรา เชาวราช เรียกว่านายห้างใจถึง เรียกมาเป็นแบบ
ปัจจุบันมี DUCATI รูปทรงคลาสสิคมาก/ น้อย แค่ไหน?
“น่าจะถึง 100 คัน แต่เราไม่ยืนยัน เพราะบางทีคนที่เขาเก็บหลายๆ คันก็ไม่อยากจะเปิดตัว แต่ที่น่าเสียดายก็เป็นยุคที่มีนายหน้าญี่ปุ่นเข้ามากวาดซื้อ ตัวดีเลยหลุดออกไปเยอะ ตรงนั้นก็ว่ากันไม่ได้ มันเป็นสิทธิของเจาของรถ ตอนนี้เท่าที่มีอยู่เห็นสวยๆ ก็หลายคัน ทาง “สุชาติ” งามวงศ์วาน นี่ก็สวยๆ ฝั่งพระประแดง กลุ่ม “บางกอบัว” นี่ก็มีแยะ เราเองก็ดีใจที่เห็นเด็กรุ่นใหม่ๆ หันมาให้ความสำคัญ ร่วมกันอนุรักษ์”