Vintage Motorcycle Helmet (4)
ชีวิตปลอดภัย ใส่ “กระดอง” หุ้ม “กบาล” (4)
ภาคจบ…แต่…ยังจบ…ไม่ลง!!! เอางี้ ผมขอเรียกเป็นภาค “อังกอร์” กำนัลผู้เสพแล้วกัน ท้ายเล่มที่มีเรื่องเล่า The Motorcycle Helmet ยังเก็บเรื่องเล่าของ “หมวกแปลก” แนบไว้เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์…เรา…มาจบเรื่อง (เล่า) ด้วยกันครับ กับบทสรุปของ…กระดอง หุ้ม…กบาล!!!
สีทูโทน คาดธงหมากรุก หลากแบบ “Crown C-1” ผลิตโดย Premier บริษัทที่ผลิตเบาะ และของแต่งสำหรับถจักรยานยนต์ในโอไฮโอ 1969 เขียว/ แดง/ น้ำเงิน “D-3” ผลิตโดย DS (Shoei) กลางยุค’ 70
More 70s! :
เพราะ…ยุคที่รุ่งโรจน์ของ “หมวกกันน็อก” นั้นเกิดขึ้นในยุคปี 1970 มีบริษัทรับผลิต เจ้าของแบรนด์ ในวงการมากกว่า 55 บริษัท บ้างเกิดขึ้นแบบเฉพาะกิจ มีโปรดักส์ออกมาไม่กี่รุ่น ในขณะที่อีกหลายบริษัทก็ล้มหาย ตายจาก หลังยอดขายสวนทางปริมาณการผลิต เรารวบรวมแบรนด์สารพัน ผ่านรูปภาพพอให้ได้เมมโมรี่…เชิญเสพได้ตามสบาย!!!
สดใสในลวดลายดอกไม้ หมวกรุ่นที่ได้รับความนิยมของ ของบริษัท World Famous Sale ใน ชิคาโก้ อิลินอย ทว่า ผลิตจริงจากญี่ปุ่น ผลิตออกขายจริง แต่ไม่ทราบผู้ผลิต “Gladator” ที่กลุ่ม “Crusader” เลือกมาใช่ในคลับ ทำในอเมริกาในยุคปี 1970
Chopper Helmets :
ปลายยุค 1950 วัฒนะธรรม “ช็อปเปอร์” เติบโตสุดขีด ด้วยวิถีชีวิตในแบบ “ฮาร์ดคอร์” บนอานมอเตอร์ไซค์ที่ หัน ตัด ถ่าง จากแบบมาตณฐานคือภาพลักษณ์ที่สะดุดตา ทุกการประกฎกาย มันคือทำเนียมวิวาทะ…สู่…มหกรรมวิวาทสันตโล ซึ่ง “Hell’s Angle” คือแก๊งค์เอ้าลลอร์ที่มีสมาชิกและสาขามากที่สุดที่เกิดขึ้น พวกเขาแอนตี้กฎหมาย (ทำตามกฎหมายแค่ 1%) และประกอบกิจทุกอย่างที่เป็นข้อห้ามทางกฎหมาย ในยุค 1960 ไม่มีใครไม่รู้จักกิตติศัพท์ของ…เฮล แองเจิล!!!
หมวกเหล็กของนาซี ถูกหยิบมาชุบโครม ที่ตกแต่งด้วยหมุกกระโหลกยิ้ม จากนักออกแบบจิวเวลรี่ Gabor Nagy ในปี 1982 ยามาฮ่าเปลี่ยนสีทีมแข็งจาก เหลือง มาเป็น แดง หมวกรุ่นซิกเนเจอร์ ของ Kenny Robert ผลิตโดย AGV ถึงราวปี 1989
หลังจากนั้น Shoei ได้ลิขสิทธิ์ลายนี้มาผลิตต่อ
“Eddie Lawson Model” ผลิตโดย Bell (แชมป์โลกกรังด์ปรีซ์ 1984/ 1986/ 1988/ 1989) ซูเปอร์สตาร์ที่เดินตามรอยเท้าของ Kenny Robert
ก่อนในปี 1989 Eddie Lawson ก็เปลี่ยนผู้สนับสนุนเป็น Shoei และออกรุ่นซิกเนเจอร์อีกคนคือ Wayne Gardner Replica
Ed “Big Daddy” Roth (1932-2001) เจ้าพ่อ นักออกแบบ นักสร้างรถ “ช็อปเปอร์” ที่ปลุกกระแส “ความคลั่ง” รถสร้างมือจนเป็นวัฒนธรรม ชื่อของเขาได้รับการสถานปนาให้เป็น “บิดาของวงการรถช็อปเปอร์” ซึ่งผลงานของเขาโดดเด่นในภาพยนตร์ชื่อดังอย่าง “Easy Rider” ที่ออกฉายในปี 1969 นี่คือภาพยนต์ที่ “สิงห์มอเตอร์ไซค์” ต้องดูสักครั้ง…ก่อนตาย!!!
ลายธงหมากรุก ได้รับความนิยมไม่เสื่อมคลาย ในภาพ รุ่น “Magnum” ผลิตโดย Bell Bell “R-T” ที่เพ้นท์ลาย ฉายา และชื่อนักแข่งโมโตครอส
“Jumpin Jack Gierlich” ลงวันที่ไว้ 10/73
นอกเหนือจากรถตกแต่งในแนวทางเฉพาะตัว “แฟร์ชั่น” เครื่องแต่งกายถูกผนวกเข้าเป็นวัฒนธรรมนี้ด้วย โดยเฉพาะแจ็คเก็ต Levi’s 517 ที่นำมาติดังกัดแก๊งค์ที่แผ่นหลัง สวมทับเสื้อยืดสีดำ สวมรองเท้าบูธสั่งตัด ภาพลักษณ์ดังกล่าว ยังคงสืบสานสู่วัฒณธรรมยุคใหม่ ภายใต้กลุ่มคลับกับรถ Harley-Davidson ของยุคปัจจุบัน “หมวกกันน็อค” หน้าตาแปลกๆ ยังคงถูกหยิบจับมาใช้ ทว่า ไม่ใส่ใจในเรื่องของการป้องกันแต่อย่างใด อาทิ หมวกเหล็กของนาซี กระทั่ง หมวกที่ทำขึ้นเอง เป็นสัญลักษณ์ของแก๊งค์ รวมถึงการเขียนลวดลายแปลกๆ หรือ ข้อความที่ขวางโลก ต่างก็ได้รับการแต้มแต่ง
Jay Springsteen .“9” ซิกเนเจอร์ ผลิตออกในปี 1985-1986 ผลิตโดย Bell อเมริกันฮีโร่ แชมป์รายการ AMA ปี 1976/ 1977/ 1978
Signature Models :
Bell แบรนด์ผู้ผลิตหมวกกันน็อกระดับโลก…โดด…ให้การสนับสนุนการแข่งขันมอเตอร์สปอร์ตตั้งแต่ปี 1954 ทว่า ก็ไม่มีการผลิตหมวก “รุ่นพิเศษ” กระทั่ง 1980 Bell เก็จไอเดีย หลังนักแข่งในการสนับสนุนประสบความสำเร็จทั้งทางด้านการแข่งขันและการตลาด หมวกสีสดในนามของรุ่น “Kenny Robert Model” ที่ผลิตจำหน่ายในอเมริกา ขายหมดในไม่กี่ชั่วโมง คอลเลคชั่นสำหรับเวิร์ดไวด์ราว2,000 ใบก็หมดในเวลาเพียงไม่กี่วัน นี่คือความสำเร็จของหมวกรุ่น “ลิมิเต็ด” ที่ Bell เองยังไม่คาดฝัน รูปแบบนี้ได้รับการบันทึกในแผนการตลาดของโรงงานได้ศึกษา กระทั่งบริษัทคู่แข่งทางการตลาด ต่างหยิบจับเอากระแสนี้…มา…เจริญรอยตาม!!!
เพ้นท์สีเหลือง-ดำ พร้อมชื่อนักแข่ง “P.T.” P. Thiboden จากรุ่น “Super Magnum” โดย Bell วำหรับกสนแข่งขัน Baja 1000 ในยุค 1970
Takanori Okamoto เจ้าของ Vintage Blue Inc. ในนาโกย่า รับงานเพ้นท์แบบคัสตอมที่มีลวดลายเฉพาะ จากฝีมือของนักออกแบบ Stanley Mouse โดยใช้รุ่น Bell 500-TX
Custom Helmets :
คงต้องย้อนกลับไปในยุคปี 1991 ที่ผู้เขียนหนังสือต้นฉบับเล่มนี้ (Rin Tanaka) ได้เดินทางไปที่สหรัฐอเมริกา ที่ดัลลัส แก๊งค์มอเตอร์ไซค์ของเมืองนี้ไม่มีใครใส่หมวกกันน็อกกันเลย ซึ่งผิดกับที่ญี่ปุ่น ที่กฎหมายเรื่องหมวกกันน็อกนั้นเข้มข้นมาก ในบางเมืองนั้นหมวกกันน็อกไม่ได้ถูกบังคับ มันเป็นความ “อิสระ” ที่สิงห์มอเตอร์ไซค์หลายคนพิสมัยจะเลือกวิธีนี้ ให้ลมปะทะหน้า มันได้ฟิลลิ์ที่อิสระเหมือน…นก…ที่กระพือปีกรับลมจน…ขน…ปลิว!!! ค่านิยมแบบนี้มีสมาชิกตอบรับอยู่ไม่น้อย ในขณะที่อีกวัฒนะธรรม นั้นโหนกระแส “ความอิสระ” มาอยู่ในหมวกที่พวกเขาเลือกสรรค์ ตั้งแต่หมวกกันน็อกใบแรกเกิดขึ้นในโลก “งานเพ้นท์” ของนักวาดเขียนมือสมัครเล่นก็ถูกเติมแต่ง มันเกิดขึ้นในอู่ กระทั่งในพิทของการแข่งขัน ส่วนใหญ่จะเป็นการเพ้นท์ชื่อของนักแข่ง กระทั่งโลโก้ของทีม แก๊งค์ ไว้ที่หมวกันน็อก รูปแบบที่อิสระ ไม่มีแบบแผน รูปทรงแฟนซี ลายเส้นพู่กัน ดอกไม้ ลายเปลวไฟ หรือ หัวกะโหลก คือ รูปทรงที่นิยมในยุค
Shoei 1970 เพ้นท์โดย Von Franco นักออกแบบรถ Hot Rod
ทว่า หากพิสมัยงานคุณภาพจากศิลปินในยุค 1980 Troy Lee Design (www.troyleedesigns.com) ในโคโรน่า แคลิฟลอเนียร์ มีผงงานที่โดดเด่นมากที่สุด โดยเขาทำงานของเขาคนเดียว ในอู่ของเขา และมักวาดผลงานผ่านหมวกกันน็อกในรูปทรงที่คลาสสิค และเป็นภาพที่เกิดขึ้นในจิตนาการของเขาเอง ซึ่งถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ดี และยังคงถูกส่งต่อ…ถึง…ศิลปินสมัครเล่น-อาชีพ ในเจเนเรชั่นต่อไปอย่างสม…ภาคภมิ…!?!?!