Classic Bike

1930 Indian 101 Scout

1930 Indian 101 Scout   

 มรดกทางพันธุกรรม “ดีที่สุด” ของ “อินเดียน มอเตอร์ไซเคิล”  

1Indian 101 Scout มรดกทางพันธุกรรมรุ่น “ดีที่สุด” ของโรงงาน ทว่า ไม่น่าเชื่อ รถรุ่นี้มานำมาซึ่งสถานะการเงินที่ย่ำแน่ของโรงงาน สวย แพง และต้องใช้อะไหล่เฉพาะรุ่น หแนวทางนี้ไปไม่รอด ไลน์ผลิตสุดท้ายเราได้เห็น 101 Scout ในปี 1931 เท่านั้น

จัดให้เป็น “กรณีศึกษา” กับ “รถเทพ” โมเดลหนึ่งที่วงการรถวินเทจนั้นจัดเรทติ้งให้เด่นชัดบนหอคอย เพราะสวยด้วยหน้าตา แถมยังเป็นเลิศด้านงานวิศวกรรม ทว่า นี่ไม่ใช้บท “ตกผลึก” ของรถที่จะได้กราฟพุ่งในชั้นเชิงทางธุรกิจ ที่ “ผู้ซื้อ” เท่านั้นที่จะเป็นผู้…บงการชะตากรรม…!?!?!

2.1

2หน้าตะเกียบขาไก่กับองศาใหม่ในการวางชุดหน้า ทำงานร่วมกับแหนบชั้น ที่รับแรงด้วยแกนสวิงที่แกนล้อ ระบบรับแรงที่คิดค้นและภถือว่าล่ำสมัยมากในยุค

            Indian Scout (อินเดียน สเก๊าท์) รถจักรยานยนต์ที่ผลิตขึ้นภายใต้โรงงานของ Indian Motorcycle Company ที่เกิดในปี 192-1949“Indain 101 Scout” ไลน์ผลิตที่ 1 (1928-1931) ได้รับการยกย่องให้เป็นรถ รุ่นที่ดีที่สุดตลอดการทว่า ด้วยแมททีเรียลและวิศวกรรมชั้นเลิศ และไม่สามารถแชร์ชิ้นส่วนกับรถรุ่นนใดได้เลย มันแพงและ ผลิตได้ช้า สำหรับรถที่ทำเพื่อการพาณิชย์ เหตุนี้ Scout ไลน์ผลิตที่ 2 จึงได้เข้ามาแทนที่ 101 ในปี 1932 เฟรมตัวใหม่ที่สามารถใช้ร่วมกันได้ ทั้ง Standard Scout, Chief และ Four ในขณะที่เครื่องยนต์ก็ใช้พาร์ทร่วมกันได้ทั้ง Scout และ Sport Scout ซึ่งเปิดตัวให้เห็นครั้งแรกในรถรุ่นปี 1934 ซึ่งยังคงผลิตสืบเนื่องยาวนานกระทั่งปี 1942 รวมถึงยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 (WW-II) ที่ผลิตรถสงครามออกมา 2 รุ่น สำหรับกองทัพอเมริกันและฝ่ายสัมพธมิตร

3

3.1เครื่องยนต์แบบ V-Twin ทำมุม 42 องศา 4 จังหวะความจุ 740 ซี.ซี. (45 คิวฯ) เกียร์มือ 3 สปีด จุดนะเบิดด้วยแมกนีโต 18 แรงม้า อาจดูเล็กไปหน่อย เมื่อเทียบกับชุดโครงสร้างเฟรมที่มีฐานล้อยาว เบาะต่ำ ทว่า ให้ผลเรื่องการควบคุมรถที่มีเสถียรภาพมากที่สุด   

The First Scout (1920-1927)

Scout คันแรกเกิดในขึ้นปี 1919 ผลงานการออกแบบของ Charles B. Franklin โดยเครื่องยนต์ที่ได้รับการติดตั้งเป็นแบบ V-Twin ไซด์วาล์ว ซึ่งมีชุดเกียร์ติดกันกับเครื่องยนต์ และถือเป็นแบรนด์รถจักรยานยนต์อเมริกันแบรนด์เดียวที่เลือกใช้ระบบนี้ โดยเครื่องยนต์บล็อกแรกเป็นขนาด 606 ซี.ซี. (37 คิวฯ) ก่อนมีการขยับความจุขึ้นเป็น 745 ซี.ซี. (45 คิวฯ) ในปี 1927 เพื่อให้เป็นตัวเลือกที่สูสีกับรถของค่าย Excensior Super X ที่ได้รับความนิยมในตอนนั้น และในปี 1928 ก็ถือเป็นโมเดลแรกที่ติดตั้งเบรกหน้าให้กับรถรุ่น Scout

4.1

4เฟืองไมล์ขับตรง กลไกสายปั่นตรงที่จานที่ยิดติดกัยซี่ล้อ แสดงผลที่มาตรวัดเหนือถังน้ำมัน

101 Scout (1928-1931)

            Scout 101 คันแรกถูกพัฒนาขึ้นในกลางปี 1928 แทน Scout รุ่นมาตรฐาน โดยดีไซด์เนอร์มือเก๋า Charles B. Franklin…Scout 101 ได้รับการออกแบบเฟรมใหม่ เข้ากับช่วงหน้าที่เพิ่มองศามุมเทมากขึ้น ฐานล้อที่ยาวขึ้นรวมถึงความสูงของเบาะที่ลดลง นี่คือมิติของอนุกรมท่านั่งที่สะดวกสบายและควบคุมรถได้ดีเยี่ยม รถรุ่นนี้ถูกพัฒนาในแนวคิดแบบรถรุ่น Indain 401 และได้ขยับความจุของเครื่องยนต์จาก Scout รุ่นมาตรฐานขนาด 606 ซี.ซี. (37 คิวฯ เป็น 740 ซี.ซี. (45 คิวฯ) สวยขึ้น แรงขึ้น และขับขี่ได้ยิ่งขึ้น แถมยังถือเป็นรถรุ่นที่ได้รับการนำมาปรับแต่งเพื่อการแข่งขันมากมาย อาทิ เซอร์กิต, วิบาก และ ไต่เขา แต่ยอดจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ไม่เข้าเป้า มันเลวร้ายถึงขนาดที่โรงงานต้องล้มละลาย ถูกธนาคารยึดและขายทอดตลาด ก่อนที่กลุ่มครอบครัวของ DuPont (ดูปองท์) จะเข้ามาซื้อกิจการต่อในปี 1931 และพยายามลดความเสี่ยงที่ไม่จำเป็นออกไป Scout 101 เฟรมตัวใหม่ ที่สามารถแชร์ชิ้นส่วนจากรถรุ่นต่างๆ ที่ผลิตในโรงงานถูกผลิตขึ้น Scout 101 (ไลน์ผลิตที่ 2) เกิดขึ้นในปี 1932 สามารถใช้ชิ้นส่วนร่วมกับรุ่นอื่นๆ ได้ ทั้ง Scout, Chief และ Four รวมถึงรุ่น Chief ก็ขยายความจุของเครื่องยนต์เป็น 1,210 ซี.ซี. (74 คิวฯ) แต่กลับไม่ช่วยอะไรให้ดีขึ้น  

5คลัตท์เท้า เกียร์มือ ขับเคลื่อนแบบ 3 สปีด กับการออกแบบห้องแคร้งที่ใช้วัสดุอะลูเนียมที่ตอนนั้นแพงกว่าเหล็ก ทว่า อินเดียนก็หยิบมาจับในหลายรุ่น

6มุมมองจากคอกพิท เผยให้เห็นการจัดวางชิ้นส่วนต่างๆ ของชุดบังคับเลี้ยว เรียบง่าย ดูมีเอกลักษณ์ที่น่าหลงไหล

อย่างไรก็ตาม แม้ไลน์ผลิตจะไม่สามารถหวังผลตามที่โรงงานตั้งใจไว้ ทว่า Scout 101 (1928-1931) ก็ยังได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็นรถรุ่นที่ดีที่สุดเท่าที่โรงงานเคยสร้างมา ถือเป็นชิ้นงาน มาสเตอร์พีซ” ในด้าน ศิลปะและ วิศวกรรมที่เดินทางมาพบกันในจุดที่สมดุลย์…!?!?!   

7ท่อไอเสียแบบที่สามารถปรับตั้งแผ่นกั้นการไหลของไอเสียได้ (แป้นสปริงตอนบนของท่อพัก) ได้ทั้งเสียง ได้ทั้งอัตราเร่ง นวัตกรรมที่คิดค้นได้ก่อนใครเพื่อน

8แรคหลังเป็นท่อเกล็กกลม ขนาดเล็ด เข้าสันทำมุมแบบที่เรียกว่า “เข้าท่อ” แข็งแกร่ง สวยงาม เป็นเอกลักษณ์ของรถรุ่น “หน้าแหนบ”

9เบาะเดี่ยว หนังหุ้มบนแผ่นเหล็ก งานเย็บมือ แกนกลางร้อยเข้ากับเฟรมท่อ ซับแรงด้วยแกนสปริงวง 1 คู่

10ไฟท้ายเล็กทรงกลม ยึดติดลอยๆ ที่บังโคลนทรงบาง

1930 Indian 101 Scout   

รถ                                                           Indian

รุ่น/ ปี                                                      101 Scout / 1930

เครื่องยนต์                                             V-Twin 42 องศา/ 4 จังหวะ 740 ซี.ซี. (45 คิวฯ)
18 แรงม้า

กระบอกสูบ/ ช่วงชัก                             73.0/ 89.0 ม.ม.

เฟรม                                                      ท่อเหล็ก/ คานคู่

ระบบไฟ                                                 แมกนีโต 6 V. / (แสงสว่างไดชาร์จ)

ระบบเกียร์                                             3 สปีด (มือ)

 ระบบคลัตช์                                          แห้ง (หลายแผ่น/ ช้ำอน้ำมันเครื่องเลี้ยง)

ระบบขับเคลื่อน                                    โซ่

ระบบโช้คอัพ (หน้า/หลัง)                    แหนบ/ หลังแข็ง

ระบบเบรก (หน้า/หลัง)                       ดรัมเบรก (ดุมเสี้ยว 7 นิ้วม็ม้H) บนล้อขนาด 18 นิ้ว

น้ำหนักรวม                                          370 ปอนด์ (168 กก.)
ฐานล้อ                                                 
1,450ม.ม.

ความเร็วสูงสุด                            75 mph. (121 กม./ ชม.)

อ้างอิง : THE ENCYCLOPIDIA OF THE MOTORCYCLE / Hugo Willson

: ON 2 WHELL / Roland Brown

: https://en.wikipedia.org/wiki/Idian_Scout_(Motorcycle)

Related Articles

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Back to top button

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

Save