Classic Bike

1946 Indian Chief 1200

1946 Indian Chief 1200

การกลับมาของ “ชีฟ” รุ่น “หลังสงคราม”   

1พิมพ์เขียวของรุ่น “841” ถูกนำมาเป็นพื้น{านในการผลิต หน้าสปสริง หลังสไลด์ กับชิ้นส่วนที่คงเอกลักษณ์ของรุ่น “ชีฟ” นี่คือรถหรูระดับเดอลุกซ์ ที่ละเมียดในทุกมิติพิศ

    เริ่มเป็นโรคระบาดในวงการ “วินเทจสยาม” Indian Motorcycle เริ่มเด่น “เล่น” เป็นรูปธรรม จากตราสินค้าระดับ “หรู” วันนี้บ้านเราเริ่ม “อุดม” แถมใกล้วัน “ชุมนุมรอบกองไฟ” สัญญาณควันที่ถูกสุมเรียกพลพรรค “หัวหน้าเผ่า” มาร่วม…สังฆกรรม…!?!?!  

2.1

2เครื่องยนต์ “หัวลิง” แบบวีทวิน ทำมุม 42 องศา ความจุ 74 คิวฯ 1,200 ซี.ซี. ที่สามารถเรียกพละกำลังได้สูงถึง 40 ม้า มันล้ำสมัยและเร็วจัดแห่งยุค สามารถทำความเร็วสูงสุดเฉียด 140 กม./ชม.

        Indian โรงงานผลิตรถจักรยานยนต์ “แบรนด์ต้น” ที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 1901 ใน Springfield รัฐ Massachusetts รถ “จักรยานยนต์คันแรก” เครื่องยนต์ 288 ซี.ซี. ก็ได้โลดแล่นบนท้องถนน…Indian พัฒนาและออกแบบรถจักรยานยนต์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเพื่อการใช้สอยในประเทศอย่างกว้างขวาง ด้วยพิมพ์เขียวโครงสร้างเฟรม “หน้าแหนบ หลังแข็ง” กับเครื่องยนต์บล็อกใหม่แบบ V-Twin ทำมุม 42 องศาที่พัฒนาความจุขึ้นถึง 1,000 ซี.ซี. (61 คิวฯ) ก็เกิดขึ้นในปี 1907 นี่เอง มันแจ้งเกิด และกลายเป็นสัญลักษณ์ของ Indian ไปโดยปริยาย ในขณะที่คู่แข่งนาม Harley-Davidson ที่ดูเหมือนจะเป็นพระรองในตอนต้น แต่ด้วยรูปแบบการผลิต สมรรถนะ หน้าตา เครื่องยนต์ ที่ใกล้เคียงกัน “ทั้งคู่” กำลังดวลหมัดกันสนุกมือ โดยหวังให้ “ผู้บริโภค” ในท้องตลาดเป็นผู้ตัดสิน…ว่า…จะจบลงที่ความจงรักภักดีกับแบรนด์ผู้ผลิตใด

5

5.1รึเป็นเรื่องของ “ศักดิ์ศรี” ที่ไม่ต้องการให้เหมือนคู่แข่ง “อินเดียน” เลยวางคันเกียร์ไว้ทางด้านขวาของถังน้ำมัน  

ชื่อของ Chief เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1922 จากฝีมือนักออกแบบและสร้างสรรค์นาม Charles B. Frankin วิศวกรและนักแข่งสายเลือดไอริช Chief เลือกใช้ขุมพลังที่ขนาด 61 คิวฯ (1,000 ซี.ซี.) และขยายความจุนั้นอีกครั้งเป็น 74 คิวฯ (Indian Big Chief 1,200 ซี.ซี.) ในปี 1928 หลังจากนั้น ไม่มีใครเชื่อว่า Indian จะ “ถังแตก” กิจการส่วนใหญ่ถูกขายให้กับผู้ถือหุ้นรายใหม่นาม E Paul DuPont ที่เข้ามากุมบังเหรียน Indian เริ่มมีการใช้เครื่องหมายการค้ารูป “หัวหน้าเผ่า” ในปี 1934 และติดตั้งไว้ที่บริเวณด้านหน้าของบังโคลน และแก้มซ้าย/ขวา ของถังน้ำมัน ซึ่งถือเป็นรถเจเนอเรชันที่ 2 ที่ยังคงยึดโครงสร้างแบบ หน้าแหนบ หลังแข็ง

6มุมมองจากผู้ขับขี่ จะเห็นการจัดวางชิ้นส่วนที่สวยงาม ลงตัวเป็นที่สุด ซึ่งนี่เป็นจุดขายที่ทุกคนยอมรับว่า…หยาดเยิ้ม หยดย้อย ขนาดคู่แข่งยังยอมรับ

7เอกลักษณ์สำหรับรุ่น Skirted Fender มุมมองนี้สวยสุดๆ งานละเอียดทั้งรูปทรงและเส้นสายที่วางสอดรับกัน

1940 Indian มาถึง “จุดเปลี่ยน” ครั้งสำคัญ (เจเนอเรชันที่ 3) ทุกโมเดลที่ผลิตออกจากโรงงาน เลือกใช้โครงสร้างแบบ “หน้าแหนบ” (Leaf-Spring) ที่ผนวกเข้ากับระบบซับแรงหลังด้วย “โช้คสไลด์” (Plunger) ที่มาพร้อมหน้าตาของบังโคลน “กระโปรงบาน” (Skirted Fender) ความล้ำสมัยนี้ โดดเด่น เตะตา ขับขี่สบายระดับเดอลุกซ์ มันอวดโฉมต่อสาธารณชนจน…ตื่นตะลึง!!! กระทั่ง “คู่แข่ง” เองยังยอมรับ เพราะ ณ เวลานั้น Harley-Davidson ยังคงใช้เฟรมแบบหลังแข็ง (Rigid) อยู่เลย…ทว่า ก็มาไม่ถูกจังหวะอีกเช่นเคย อเมริกาจับมือยุโรป ประกาศตัวเข้าภาวะสงครามโลก (ครั้งที่ 2) อย่างเต็มตัว ด้วยต้นทุนการผลิตที่สูง เพราะ Indian ใช้วัตถุดิบ-กระบวนการผลิตที่ซับซ้อน เป้าหมายทางการตลาดที่วาดหวังไม่เกิดผล เศรษฐกิจโลกก็ถดถอย แถมคอนแท็กกับ “ภาครัฐ” ถูก Harley-Davidson ตัดหน้า ไลน์ผลิตถูกดร็อป รถรุ่นใหม่ที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการหยิบจับของเก่าๆ ที่มีอยู่ในโรงงานมายำรวม…Indian ต้องภาวนาหวังให้สงครามยุติโดยเร็ว!!!    

8.1

8เรียบๆ ละมุนๆ กับบาร์คอนโทรล ชุดเร่งในปลอก คันนี้ปรับการทำงานมาเร่งน้ำขวาฝั่งขวาแล้ว (ซ้ายเร่งไฟ) เพื่อการขับขี่ที่ง่ายขึ้นหน่อย เพราะเจ้าของชินกับแพทเทิร์นของฮาร์เล่ย์ฯ

สิ้นสงคราม Indian กลับมาทำตลาดอีกครั้ง แบบพิมพ์จากก่อนสงครามได้รับการปัดฝุ่น Chief (เจเนอเรชันที่ 4) กับภาพลักษณ์ หน้าสปริงเกอร์ (จากรุ่น Military 841) โช้คสไลด์ กระโปรงบาน มีชีวิตชีวาอีกครั้งในปี 1946 (1946-1948) มันสวยสุด แถมยังวิ่งอีกต่างหาก โรงงานเคลมว่ามันสามารถทำความเร็วได้สูงถึง 85 ไมล์/ชม. (136 กม./ชม.)…ก่อน…1950 Chief  (เจเนอเรชันที่ 5) จะได้รับการอัพขนาดด้วยเครื่องยนต์มากความจุที่ 80 คิวฯ (1,311 ซี.ซี.) ขุมพลัง 50 แรงม้าที่ 4,800 รอบ/นาที มาพร้อมระบบโช้คอัพหน้าแบบ “เทเลสโคปิก” ที่นิ่มนวล เคียงข้างซับหลังที่ยังคงเป็นฟอร์แมตมาตรฐาน Chief 1300 คันใหม่ และได้สรรพนามต่อท้ายเก๋ๆ ว่า…โรดมาสเตอร์  (Road Master) เป็นของแถมพก ทว่า ที่น่าสังเกต จาก “จุดขาย” ที่ภูมิใจนักหนาในตอนต้น Indian กลับมาเลือกวางตำแหน่งของคันเกียร์ไว้ที่ด้าน “ซ้าย” ย้ายตำแหน่งคันเร่งน้ำมันสลับกับตัวเร่งไฟกลับมาทางด้าน “ขวา” (เหมือนอย่าง Harley-Davidson) เราไม่รู้เหตุผล…แต่…ก็พอทำนายได้ว่า Harley-Davidson คงแอบสะใจ…อย่างไรก็ตาม… “ตัวเลข” ทางการตลาดกลับไม่กระเตื้อง รถรุ่นใหม่นี้กลับไม่เดิน Indian ประสบปัญหา “การเงิน” อย่างหนักหน่วง…สุดท้าย…ก็ต้องถอนทัพ “ปิด” โรงงานธรรมเนียมเดิมๆ อย่างเป็นทางการ กิจการทั้งหมดถูกแชร์ร่วมกับ Royal Enfield แบรนด์ผู้ผลิตจากอังกฤษในปลายปี 1953…รถลูกผสมหน้าตาแปลกๆ ก็เกิดขึ้น ทว่า ก็ไม่ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภค…เอาซะเลย…!?!?!

9เบาะ “ไอ้เข้” ตอนเดียวแต่นั่งได้ 2 คน Indian นี่อลังการ เพราะเพิ่มเป็นชายหนัง ที่ประดับประดาด้วยหมุดโลหะ และพู่ พลิ้ว

10หน้าสปริงเกอร์ที่พัฒนาจากรุ่นหน้าแหนบ และเริ่มใช้ในปี 1946 เป็นตะเกียบขาไก่ ผ่านคานสวิงที่มีสปริงซับด้านบน 2 ตัว ไฮดรอลิก 1 ตัว (กลาง) สวยรับกับเส้นสายของบังโคลนสโลปล้อที่เป็นเอกลักษณ์ที่เริ่มใช้งานตั้งแต่ปี 1940

 

1946 Indian Chief 1200   

รถ                                                           INDIAN

รุ่น/ปี                                                      CHIEF/1946

เจ้าของ                                                 พไรวา ไรวา

เครื่องยนต์                                           SV. V-Twin 42 องศา 4 จังหวะ 1,213 ซี.ซี. (74 คิวฯ)

40 แรงม้าที่ 4,000 รอบ/นาที

กระบอกสูบ/ช่วงชัก                              82.5/113 มม.

ระบบไฟ                                                 คอยล์ 6 V. / (แสงสว่างไดชาร์จ)

ระบบเกียร์                                            3 สปีด (เกียร์มือ/คลัตช์เท้า)

ระบบคลัตช์                                          แห้ง (หลายแผ่น)

ระบบขับเคลื่อน                                    โซ่

ระบบโช้คอัพ (หน้า/หลัง)                   สปริงเกอร์/โช้คสไลด์

ระบบเบรก (หน้า/หลัง)                       ดรัมเบรก (ดุมเสี้ยวม็ม้H) บนล้อขนาด 16 นิ้ว

น้ำหนักรวม                                         539 ปอนด์ (245 กก.)

ความเร็วสูงสุด                                    85 mph. (136 กม./ชม.)

อ้างอิง : THE ENCYCLOPEDIA OF THE MOTORCYCLE / Hugo Willson

: ON 2 WHEEL / Roland Brown

: https://en.wikipedia.org/wiki/Indian_Chief (motorcycle)

Related Articles

Check Also
Close
Back to top button

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

Save