Classic Bike

1947 Triumph Speed Twin

1947 Triumph Speed Twin

พิมพ์เขียวสั่งลา “รถรุ่นท็อป” หลังแข็ง หัวลอย ไมล์กลางถัง

1

             “สวยจัด” ศัพท์รุ่นที่ยกเครดิตให้เจ้าของรถ “วินเทจ” ที่เก็บงานได้เนี้ยบเหมือนหลุดจาก โบรชัวร์โรงงาน “บังซัค วิทยา” ชื่อนี้เจนโสตในสาย “รถเก๋า” จาก BSA A10…Triumph T-BIRD ถึง Speed Twin ซึ่งการณ์นี้คือ Speed Twin “ไมล์กลางถัง” รถรุ่นท็อปที่หาเสพไม่ง่าย…ในสยาม!!!

4ฝาไพรมารี่ยาว แบบฉบับของรถยุคเก่า ฝาอะลูมิเนียมหล่อขึ้นรูป ช่วยให้รถแลดูยาว งานออกแบบที่เป็นลายเซ็นต์ของ Turner เลยทีเดียว

ไลน์การผลิตบล็อกเครื่องยนต์รหัส 5T Speed Twin “เสื้อเหล็ก-ฝาเหล็ก” ขนาด 500 ซี.ซี. “เกียร์แยก” นั้น อยู่ในช่วงปี 1938-1958…นี่คือโสตแรก…รถหน้าสปริง หลังแข็ง ไมล์บนถัง ไลน์ผลิตพาณิชย์รุ่นที่ขายดีที่สุดของ Triumph มันสร้างฐานะการเงินให้โรงงานแห่งนี้มั่งคั่ง ทว่า กลับต้องมาสะดุดหลังจากสภาะสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มก่อตัว…สิ้นสงคราม…รถเจนท์ที่ 2 ภายใต้การสนับสนุนหลังขายการให้กับกลุ่ม BSAรถหน้ากระบอก หลังแข็ง ไมล์บนถัง ยังได้รับการผลิต และสามารถรักษาส่วนแบ่งการตลาดไว้ได้ระยะหนึ่ง…ก่อนที่…รถเจนท์ 3 หน้ากระบอก ซัพหลังสวิงอาร์ม หัวไอ้โม่ง จะถือกำเนิดขึ้นในปี 1954 ท่ามกลางกระแสตลาดโลกที่ยังคงไร้เสถียรภาพ กระบวนท่าทางธุรกิจใหม่ๆ ถูกดึงมาใช้หวังกู้สถานการณ์ที่เข้าขั้นเปราะบางพร้อมแตกหัก

2เครื่องยนต์เสื้อเหล็ก-ฝาเหล็ก ความจุ 498 ซี.ซี. บนมิติห้องเผาไหม้ขนาด 63×80 มม. ขุมพลังขนาดกลางที่พัฒนาขึ้นและใช้ยาวนานมาตั้งแต่ปี 1938

3เพราะเป็นรถฟอร์มจากปีลึก “ดุมหน้า” แบบเสี้ยวขนาดเส้นผ่าศูนบ์กลาง 7 นิ้ว
1947 Speed Twin โมเดลหลังสงครามยังคงได้ “พิมพ์เขียว” การผลิตจากรถปี 1938 อยู่ไม่น้อย ทว่า มันปรับเปลี่ยนโช้คอัพหน้าแบบกระบอกไฮดรอลิกและเสาเครื่องยนต์แบบ 8 เสา หลังจากได้รับการพัฒนาในส่วนของแรงอัดที่เพิ่มขึ้น เครื่องยนต์จุดระเบิดด้วยแมกนีโต ที่ได้พลังงานเลี้ยงเครื่องยนต์จากชุดไดชาร์จที่เลือกวางไว้ด้านหน้าของเครื่องยนต์ ด้วยฟอร์แมตแบบรถ “หลังแข็ง หัวลอย ไมล์บนถัง” ที่ติดตั้งมาตรวัดไว้อย่างครบครัน อาทิ สวิตช์ปิด/เปิดแอมป์วัดไฟชาร์จ เกจ์แรงดันน้ำมันเครื่องยนต์ และสวิตช์ไฟสูง-ต่ำ (ทว่า มีออปชันแบบโช้คดุม Sprung Hub ให้เลือกสรรด้วยในปี 1947)

5

5.1มุมมองที่เรียบหรู บาร์แบบปีกนก ปลายเชิดนิดๆ ช่วยให้ท่านั่งของผู้ขับขี่ดูภูมิฐาน กับตำแหน่งของงานจัดวางอุปกรณ์ต่างๆ ลงตัว สวยงามแบบฉบับอังกฤษพันธุ์แท้ กะโหลกไฟหัวลอย 6 นิ้วจับยึดเบ้าที่หูช้าง   

 Speed Twin โมเดลปี 1947 ถือเป็นแบบการผลิตสุดท้ายสำหรับรถคลาสสิกธรรมเนียมเดิมๆ ที่ใช้กันมายาวนาน…1949 ถังน้ำมันซีรีส์ใหม่ก็เกิดขึ้น (ความจุ 4 แกลลอน) มันมาพร้อมกับหัวไฟในกรอบแบบใหม่ที่เราเข้าใจตรงกันว่า “หัวไอ้โม่ง” ซึ่งแบบการผลิตนี้ได้รับการปรับใช้กับรถทุกคันในไลน์ผลิตทั้ง 5T/T100 จุดเปลี่ยนเรื่องหน้าตาที่ดู “สปอร์ต” ขึ้น ดูจะเป็นแนวทางหลักที่ทีมออกแบบเลือกสรร อย่างไรก็ตาม Speed Twin “รถเสื้อเหล็ก-ฝาเหล็ก” ก็ยังถือเป็นรถเครื่องยนต์ขนาดกลางเท่านั้น…และ…ด้วยเป้าหมายทางการตลาดใหม่ ที่ต้องการ…เล็ง!!!…ยอดขาย “นอกประเทศ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาด “อเมริกา” ที่ต่างพิlมัยเครื่องยนต์บล็อกใหญ่ๆ ขนาดความจุ 650 ซี.ซี. ขึ้นไป แนวทางนี้จึงทำให้บล็อกเครื่องยนต์รหัส 6T/T110 (Thunder Bird/Tiger110) กลับมาอยูในความสนใจ…ส่วน…Speed Twin ก็เป็นเพียงรถที่จำหน่ายเพื่อประคองยอดขายเท่านั้น จาก…หลังแข็ง…โช้คดุม…ถึง “สวิงอาร์ม” มันทำหน้าที่ของมันอย่างซื่อสัตย์ต่อไปได้ถึงปี 1958 ไลน์ผลิตเครื่องยนต์ 5T ก็ต้อง…ถูกยุบ!!!…กระนั้น…เราก็ยังมีโอกาสได้เห็น Speed Twin กลับคืนมาอีกครั้ง ทว่า คราวนี้มันกลายร่างเป็นรถหน้าตาประหลาด บนภาพลักษณ์บังโคลนหลังบานๆ เครื่องยนต์ “เกียร์รวม” รหัส 5TA ในปี1959 แทน…โอ้! มาย ก๊อด…!?!?!
6

6.1ไมล์กลางถัง “พิมพ์เขียว” ที่ถ่ายทอดมาจากปี 1938 (ซ้าย) แอมป์วัดไฟ (ขวา) เกจ์วัดแรงดันน้ำมันเครื่อง (ล่าง) สวิตช์เปิดไฟหน้า และ (บน) คือไฟอเนกประสงค์สำหรับงานเซอร์วิสในเวลากลางคืน สายไฟมีความยาวพอประมาณ ส่องตรงไหนก็โยงลากไปใช้  

7.1

7ระบบไฟจุดระเบิดด้วยแมกนีโต ปั่นเลี้ยงเครื่องยนต์ด้วยไดนาโม

1947 Triumph Speed Twin
รถ / รุ่น                                    Triumph / 5T Speed Twin
ปีผลิต                                     1947
เจ้าของ                                   บังซัค วิทยา
กระบอกสูบ/ช่วงชัก               63 x 80 มม.

ปริมาตรกระบอกสูบ              498 ซี.ซี.
กำลังอัด                                 7:1
ระบบไฟ                                  แมกนีโต / 6 V.
ระบบเกียร์                              4 เกียร์ (ขวา)
ระบบคลัตช์                            แห้ง (หลายแผ่น / ใช้ไอน้ำมันเครื่องเลี้ยง)
ระบบขับเคลื่อน                      โซ่
ระบบโช้คอัพ (หน้า/หลัง)       เทเลสโคปิก / หลังแข็ง
ระบบเบรก (หน้า/หลัง)          ดรัมเบรก (ดุมเสี้ยว ขนาด 7 นิ้ว)
ขนาดยาง (หน้า/หลัง)           3.25 / 19- 3.50 / 19
ความจุเชื้อเพลิง                     3 ¼  แกลลอน
อ้างอิง   : THE ENCYCLOPEDIA OF THE MOTORCYCLE / Hugo Willson
: ON 2 WHEEL / Roland Brown
: TRIUMPH TWIN RESTORATION / Roy Bacon

8แบบฉบับของเฟรม “หลังแข็ง” กับงานจัดวางชิ้นส่วนต่างๆ สวยลงตัวในแบบที่คุ้นตา

9ท่อไอเสียของรุ่นปีลึก ป่องกลาง รีดเสียงให้ทุ้มนุ่มหู เอกลักษณ์สะท้านนิดๆ ของรถเสื้อเหล็ก

11ไฟท้ายกลมเล็ก Lucas กับแผ่นป้ายทะเบียนจอบ เอกลักษณ์ที่คุ้นตา

12 OWNER“ซัค วิทยา” คนนี้ทำรถสวยจัด แต่ละคันในอาณัติการันตี กริ๊ป…แบบออกห้าง!!!

 

Story/Photo :  : nuiAJS

 

 

Related Articles

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Back to top button

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

Save