1964 MZ ES250/1G
1964 MZ ES250/1G
เกิดมา…ลุย!!! โอฟโรดพันธุ์อึด เพื่อภาระกิจสร้างชื่อ
เหมือนหลุดมาจากโบชัวรฺยุค’60 เพื่อนิตยสารมอเตอร์ไซค์ น้อยกว่านี้ได้ไง เสื้อผ้า หน้า ผม ต้องพร้อม ลีลาสาดโค้งสวยๆ ของ “บ๊อก ซิกเดย์” คนนี้ “เบอร์ 1” เมืองไทย สำหรับความคลั่งในเครื่องหมายการค้าของ MZ
“เต็มองค์” ลุคของรถ “ออฟโรด” ในตระกูล “G-Series” บอดี้ปลาวาฬ ES250 ที่ถูกปรับให้เหมาะสมกัยสายลุย ล้อหน้าหลัง 21/ 18 นิ้ว ท่อยก และมีซัพเฟรม เสริมโครงสร้าง
ES 250/1G โมเดลต่อยอดที่เกิดขึ้น ณ โรงงานใน Zschopau (East Germany) เผยโฉมรถรุ่นใหม่ในนามของ ES250 ในปี 1957 โดยปรัชญาในการสร้างตอนนั้นคือ “รถสปอร์ต” ที่คาดหวังว่าจะเอาดีทางการแข่งขันอย่างจริงๆ จังๆ ถึงแม้เครื่องยนต์ ระบบช่วงล่าง หลักๆ ยังคงพาร์ทมาตรฐานโรงงาน แต่ก็ได้เพิ่มขิ้นส่วนที่พัฒนาขึ้นใหม่ในหลากหลายชิ้น เรียกว่านวัตกรรมใหม่ๆ ที่คิดค้นขึ้นได้ ต่างได้รับการทดสอบ ปรับใช้ในรถรุ่นนี้ทั้งสิ้น แหละแน่นอนว่าการที่จะให้ให้เหมาะกับการเป็นรถแบบ “ออฟโรด” บาร์ทรงสูง และท่อไอเสียแบบยกสเต็ปขึ้น คือ พิมพ์เขียวที่ทีมออกแบบลงความเห็น
หน้าสวิงอาร์มแบบฉบับพิมพ์เขียว แต่ปรับแรงดพนน้ำมัน และค่าของปสปริงให้ยุบตัวได้มากมากถึง 135 มม.
ยกแบบพิมพ์การผลิตของรุ่น “ปลาวาฬ” ES250 แต่ปรับบาร์ให้สูง และกว้างขึ้น เพื่อการคุมรถที่ง่ายขึ้นในทางไม่ปรกติ
ท่อไอเสียถูกยกขึ้น ลีการ์ดกันร้อน หนี้น้ำ แถมยังกันขาพองด้วย พาร์ทสำหรับลุยที่จัดมาให้ ส่วนเครื่องยนต์พัฒนาจาก ES250 ที่ให้กำลังสูงสุดที่ 17.50 HP (12.8 kW)) @ 5300 RPM
ES175/ 250/ 300/ “G” (Gelandersport/ ภูมิประเทศ) คือครอบครัวของรถ Off Road ที่คลอดจากโรงงาน และเพื่อให้เป็นไปตามกฎของการแข่งขันในระดับนานานชาติ รถที่จะลงทำการแข่งขันนั้นต้องใช้ชิ้นส่วนมาตรฐานของรถ 85% ซึ่งในส่วนของชิ้นส่วนใหม่ 25% ที่สร้างขึ้นก็ยังมีมากถึง 1,000 ชิ้น มันไม่ง่ายที่จะทำให้มันลงตัวสมบูรณ์แบบได้ในเวลาอันสั้น และจำเป็นอย่างยิ่งที่รถของพวกเขาต้องมีน้ำหนักที่ “เบาลง” ด้วย กว่าจะ “ตบแบบ” เข้าที่เข้าทาง รถออฟโรดของพวกเขาก็ปาไปในช่วงปี 1964 โดยมันมีหน้าตาต่างจะรถถนนไปอยู่พอสมควร เฟรมหลักได้รับการออกแบบใหม่ เพื่อให้สามารถวางเครื่องยนต์ในตำแหน่งกึ่งกลางของตัวรถมากขึ้น เฟรมท่อนบนยึดส่วนของบังโคลนหลัง และจำเป็นต้องให้พื้นที่ของถาดเบาะ ซึ่งภายในติดตั้งส่วนของกรองอากาศส่งให้คาร์บูเรเตอร์ เฟรมท่อนล่าง นอกจากจะเป็นจุดยึดของเครื่องยนต์แล้ว ยังเชื่อมต่อกับส่วนของสวิงอาร์มหลัง แถมยังต้องติดตั้งตำแหน่งของพักเท้าด้วย ตำแหน่งนี้จึงถือว่าเปราะบางมาก แนวทางที่โรงงานเลือกสรรคือ การเสริมซัพเฟรมด้วยท่อเหล็กเข้าไปทั้งซ้าย/ ขวา ข้างตำแหน่งจุดยึดหัวโช้คกระบอก
ขับหลังด้วยโซ่ ในปลอกยางกันฝุ่น แบบการผลิตของโรงงาน
เบาะเดี่ยว วางเบิลมาให้ หุ้มด้วยยาง ถาดบานๆ แบบนี้ จริงๆ อิงประโยชน์ใช้สอยมาด้วย คือส่วนหน้าเป็นส่วนของกรองอากาศ และส่วนท้ายคือกล่องเครื่องมือเซอวิส
MZ ES250/ 1G ปรับขนาดของถังน้ำมันเป็นขนาด 14 ลิตร และเพื่อให้ลดการสั่นไหว ถังน้ำมันจึงถูกวางไว้บนลูกยางที่ให้ตัวได้ และเพราะเส้นทางในแบบ “ออฟโรด” นั้นไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ MZ ES250/ 1G จึงเลือกใช้ล้อหน้าหลังอะลูมิเนียมขนาด 21/ 18 นิ้ว โดยล้อหน้าเลือกขนาดของยางดอกที่ขนาด 3.0 นิ้ว ในขณะที่ยางหลังเบ่งๆ ออกมาใช้ขนาด 4.00 นิ้ว มันให้ฟิลลิ่งของรถนุ่มๆ บนระบบช่วงสวิงแบบ “สวิงอาร์ม” ทั้งหน้าหลังแบบแผนของโรงงาน (Hydraulically Danperd Telescipic Fork) ที่ให้ช่วงยุบตัวมากถึง 135 มม. (โช้คหลังยุบตัวมากสุดที่ 90 มม.) บนองศาคอทำมุม 63 องศา กับมุมเลี้ยวที่ 88 มม. เรียกว่า “สวยก็ได้ ลุยก็ดี” แค่แต่งนอดหน่อย ก็พร้อมไปลุย…ซิกเดย์…!?!?!
เพราะเส้นทางนั้น สมบุก สมบัน เฟรมได้รับการเสริมแกร่งด้วยเาค้ำ ที่ยึดกับเฟรมท่อนล่างและด้านหน้าบริเวณเฟรมท่อนหลัง
เพลทเครื่อง แสดงข้อมูลเฉพาะสำหรับแบบการผลิตนี้
“คันเดียวในไทย” อาชาลูกรักของ “บ๊อก ซิกเดย์”
1964 MZ ES250/1G
รถ MZ
รุ่น/ ปี ES250/1G/ 1964
เจ้าของ BOB SIXDAYS
เครื่องยนต์ ซิงเกิล 2 จังหวะ 17.50 HP (12.8 kW)) @ 5300 RPM
กระบอกสูบ/ ช่วงชัก 65.0/ 70 มม.
กำลังอัด 8.1 : 1
ระบบไฟ ฟีลคอยย์
ระบบเกียร์ 4 สปีด (ขวา)
ระบบคลัตช์ เปียก (หลายแผ่น)
ระบบขับเคลื่อน โซ่
ระบบโช้คอัพ (หน้า/ หลัง) สวิงอาร์มโช้คน้ำมัน/ สวิงอาร์มโช้คน้ำมัน
ระบบเบรก (หน้า/ หลัง) ดรัมเบรก (ดุมเต็มม็ม้H) บนล้อขนาด 21/ 19 นิ้ว
ขนาดยาง (หน้า/ หลัง) 3.00/ 21 / 4.00/ 18
อ้างอิง : THE ENCYCLOPIDIA OF THE MOTORCYCLE / Hugo Willson
: ON 2 WHELL / Roland Brown
: https://en.wikipedia.org/wiki/MZ_Motorrad-_und_Zweiradwerk