แร่ Lithium ยิ่งขุดยิ่งเจอผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
มีรายงานที่เพิ่งเผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้ เรื่อง ‘Achieving Zero Emissions with More Mobility and Less Mining’ ซึ่งเขียนโดย Climate + Community Project ได้ชี้ให้เห็นถึงอุปสรรค ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนไปสู่การปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ และผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมในการทำเหมืองแร่ลิเธียม (Lithium)
ภายในรายงานเน้นย้ำว่ารถยนต์ไฟฟ้า (EVs) ได้นำไปสู่กิจกรรมการขุดแร่ลิเธียม (Lithium) ที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าแร่ลิเธียมจะไม่ใช่ทรัพยากรที่จำกัดเหมือนกับเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่รายงานเปิดเผยว่ามีแร่ลิเธียมประมาณ 25% ของประมาณ 88 ล้านตันบนโลกเท่านั้นที่สามารถสกัดมาทำเป็นแบตเตอรี่ได้
เพื่อให้เข้าใจถึงขนาดการบริโภคลิเธียม ให้พิจารณาว่า Tesla Plaid S ซึ่งติดตั้งชุดแบตเตอรี่ขนาด 100 กิโลวัตต์ชั่วโมง จะใช้ลิเธียมประมาณ 62 กิโลกรัม เทียบเท่ากับแบตเตอรี่ 18650 ถึง 7,920 ก้อน
การแสวงหาแร่ลิเธียมสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าอย่างไม่หยุดยั้งนี้ ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ยั่งยืนสักเท่าไรนัก เนื่องจากการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแทนที่รถยนต์สันดาปภายในทุกคัน จะทำให้ต้องมีการขุดในระดับที่น่าตกใจ และยังทำลายสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ซึ่งในรายงานยังระบุวิธีการสกัดลิเธียมด้วยวิธีต่างๆ และเน้นย้ำว่าการสกัดด้วยน้ำเค็ม เป็นหนึ่งในวิธีการที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด กระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการสูบน้ำที่อุดมด้วยเกลือจากพื้นดินเข้าสู่สระระเหย โดยแร่ลิเธียมที่อยู่ในสระจะค่อยๆ สะสมตัวเมื่อน้ำระเหยออกไป
น่าเสียดายที่กรรมวิธีการสกัดแร่ริเธียมนี้ทิ้งสารเคมีที่เป็นพิษไว้ ซึ่งมันสามารถซึมลงสู่แหล่งน้ำ ปนเปื้อนในดิน และกระทั่งกลายเป็นอากาศ ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้คนในชุมชนท้องถิ่น
เหมืองลิเธียม Ganzizhou Rongda ในทิเบต เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่ได้รับผลกระทบหรือผลเสียของการสกัดแร่ลิเธียมด้วยน้ำเค็ม เหมืองแห่งนี้ถูกตำหนิว่าสร้างพิษให้กับแม่น้ำ Liqi ที่อยู่ใกล้เคียง ส่งผลให้ปลา และปศุสัตว์ที่อาศัยในแหล่งน้ำเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
การค้นพบข้อเสียของการขุดแร่ลิเธียมนี้ ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดการกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการทำเหมืองแร่ลิเธียมที่กำลังเฟื่องฟูที่ถูกขับเคลื่อนโดยอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ต้องเรียกร้องให้มีการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนซึ่งช่วยลดผลกระทบด้านลบของการสกัดทรัพยากร
อุตสาหกรรมรถมอเตอร์ไซค์เองก็มีศักยภาพที่จะมีส่วนร่วมในความพยายามเหล่านี้ด้วยเช่นกัน โดยการสำรวจแหล่งพลังงานทางเลือก และลดการพึ่งพาเทคโนโลยีที่ใช้แร่ลิเธียม พร้อมเดินหน้าสู่เป้าหมายการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ดังเดิม
อ่านต่อได้ที่นี่ : Akrapovic เปิดตัวสลิปออนใหม่สำหรับ Suzuki V-Strom 800DE รุ่นล่าสุด
หลังจากเปิดตัว 2023 Suzuki V-Strom 800DE เอดเวนเจอร์ไบค์รุ่นมิดเดิ้ลเวท ทางบริษัท Akrapovic ก็ไม่ชักช้า ได้เปิดโพรดักส์ใหม่สำหรับรุ่นดังกล่าวกับระบบไอเสียใหม่ ที่จะมาถลุงกระเป้าเจ้าของ V-Strom 800DE กับการเปิดตัวสลิปออนรุ่นใหม่สำหรับมอเตอร์ไซค์แอดเวนเจอร์รุ่นนี้
เรื่อง : กองบรรณาธิการ
เรียบเรียงข้อมูลโดย : Motorcycle Magazine
ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานยนต์ รถใหม่ ได้ที่ Motorcycle Magazine