TH–Lowbike Club
สไตล์ใคร สไตล์…มันส์!!!
เรียกว่าเป็น “จุดสนใจ” ตั้งแต่ปรากฎกาย ฮิปฮอปสไตล์ที่ทุกช่วงโมโม้นท์คือ…ลิทึ่ม…โย่ว!!! เสื้อผ้า หน้าผม เครื่องทรง “เล่นใหญ่” คือคอนเซ้พท์ต้นที่เดินออกจากบ้าน เคียงข้างพาหนะคู่ใจที่โชว์กึ๋นได้ “เจ็บจี๊ด” ไม่รองกัน ไม่ใช่ของใหม่ ทว่า กลับหาใครเข้าถึงยาก“วัฒนธรรมอิมพอร์ท” แขนงนี้ มันมีสาระมากกว่า “เปลือก” ที่ใครเห็นแค่เหลือบๆ กลับ “ตกผลึก” ว่า…มันแรงงงง !?!?!
“ศัพท์วงการ” รูปแบบนี้เรียกขานว่าอะไร
“จักรยาน “โลว์ ไรเดอร์” ครับ (Low Riders) ซึ่งต่อยอดจากจักรยานที่เรียกว่า “ครุยเซอร์” (Cruiser) ของอเมริกา แต่เป็นรูปแบบที่ต่างออกไป แบรน์ดังเดิมที่ได้รับความนิยมสูงสุดก็คือ Schwinn Sting-Ray แต่ตอนนั้น ราคาถือว่าสูงมาก เด็กโซนอเมริกาใต้, โซนแมกซิกัน, คิวบา เด็กพวกนี้ไม่มีเงินไปซื้อหรอก แต่ทำไงละ อยากที่จะมีขี่ พวกเขาก็ออกไปหาเฟรมจักรยานยนต์เก่าๆ เอามาซ่อมแซม แล้วก็มาประดิษฐ์ ประดอย เอาเอง เริ่มเอารูปแบบแฮนด์ยกของฮาร์เล่ย์ฯ มาใส่ ทำช่วงหน้าให้เป็นแบบสปริงเกอร์ แต่การที่จะทำให้มันต่ำลง ก็ต้องดัดตะเกียบให้มันออกมาโค้งๆ เพื่อให้สามารถใช้งานได้จริง”
โด่งดัง มาจากวัฒนาธรรมชาว “HIP HOP”
“แรกๆ ก็คงทำสนุกๆ ปั่นเล่นกันเฉพาะในกลุ่ม แต่ที่ดังเป็น “พลุแตก” เพราะไปโผล่ในมิวสิค VDO ของชาวฮิปฮอป แมกซิกัน เห็นๆ บ่อยๆ เข้า จากที่ “ชอบ” ก็เริ่มเป็น “คลั่ง” คราวนี้ก็เริ่มระบาดไปทั่ว จนบริษัทที่เขาผลิตรถจักรยาน ก็เลยผลิตแบบ Low Riders ออกมาขายทำกำไร เป็นล่ำเป็นสัน แต่คราวนี้เน้นเรื่องของความแข็งแรง ทนทาน ปั่นได้สบายขึ้น ปลอดภัยขึ้น เพราะอยากที่บอก เด็กๆ เข้าทำกันเอง สร้าง เชื่อม ตัด ต่อ ทำตามมีตามเกิด มันไม่แข็งแรง ไม่ทนทาน เหมือนบริษัทที่เข้ามีวัตถุดิบดีๆ เครื่องมือที่ทันสมัย และผลิตได้คราวละมากๆ คราวนี้ก็ไม่ได้ฮิตเฉพาะในแถบอเมริกาใต้แล้ว มันกลายเป็นสินค้าฮิตไปกันทั่วโลก ถูกบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนะธรรม HIP HOP”
Low Riders กลายเป็น “วัฒนธรรม” ไปแล้ว
“แนวเพลงที่เรียกว่า HIP HOP นั้นสร้างวัฒนธรรมเกิดขึ้นมากมาย เสื้อผ้า หน้าผม Low Riders ก็ถูกบรรจุเป็นหนึ่งในนั้น เพราะ HIP HOP สร้างเอกลักษณ์ของเค้ามา เน้นที่ต้องการความสะดุดตา เงาๆ วับๆ บริ๊งๆ แสบตากันไปเลย ใส่เข้าไว้ให้มันอลังการไว้ก่อน จักรยานก็เหมือนกัน ใช้งานได้ ไม่ได้ไม่รู้ รู้แต่ว่าต้อง “จัดเต็ม” เวลาปั่นไปมันก็ดูแปลกกว่าชาวบ้าน ชาวช่อง เขาหน่อย จุดนี้เลยเป็นที่สนใจ จะเรียกว่า “กวนโอ๊ย” ก็ได้ ให้คนมองเขาหมั่นไส้แบบนี้เลย (หัวเราะ)…”
ซื้อก็ซื้อได้ แต่มันไม่ภูมิใจเท่าสร้างเอง
“ถ้าคุณมีเงิน คุณซื้อรถ มีเงินเยอะ ซื้อของแต่งตัวท็อปๆ ใส่รถ มันก็ได้นะ แต่ผมว่ามันไม่รัก เท่ากับที่เราสร้างมันขึ้นเอง เราออกแบบเอง เอาแบบไปหาช่าง ให้ช่างดัดเหล็ก ส่งไปชุบ ทำทีละชิ้น สองชิ้น พอเสร็จมันจะเกิดความภูมิใจ คือเรามีส่วนร่วมกับชิ้นงานนั้นๆ ของเรา มันจะรู้สึก “พิเศษ” มากกว่า…Low Riders เข้ามาบ้านเรา พร้อมกับแนวเพลงที่เรียกว่า HIP HOP ได้ดู MV เราเห็นในภาพ เราอยากได้หมดเลย ไม่ว่าจะเป็นเงินดอลล่าร์ รถโลว์ไรเดอร์ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ จักรยาน เสื้อผ้า รองเท้า เราอยากได้หมดเลย แต่ของแบบนี้ บ้านเรามันจับต้องยาก หลุดเข้ามาบ้านเราทีก็สู้ราคากันไม่ไหว ที่ไหว ก็ต้องรีบเอาเลย…นี่ไง เหมือนใน MV เลย…เอามาก่อน แล้วค่อยมาดัดแปลงเอา”
“มือใหม่” อยากได้สักคัน เริ่มยังไงดี…โย่ว…ว…!!!
“พวกผมเริ่มจากเฟรมจักรยานมือ 2 ครับ บ้านเราโชคดี ว่าจักรยานทรงนี้หลุดเข้ามาเยอะมาก ซึ่งประเทศอื่นๆ อิจฉามาก เพื่อนๆ ที่มาเลฯ อินโดฯ เวียดนาม เขาบอกบ้านเขาไม่มีเลย ต้องสั่งหาจาก eBay อย่างเดียว ตรงนี้เราได้เปรียบ ทุนในการสร้างรถเลยจะไม่สูงมาก เราได้ซากมาจากโกดัง ก็เอามาบิ๊วเอง ถ้ามันยังใช้งานได้ทั้งคัน เราก็ต้องรื้อไปชุบโครมเมี่ยม ไม่ชอบ แต่เฟรมมันใกล้เคียง ก็มาตัด เชื่อม ออกแบบใหม่ ตรงนี้มันขึ้นอยู่กับสไตล์ใคร สไตล์มัน อยากผม ได้เฟรมมา ก็มาตีบิดช่อง ใส่สี เขียนลาย ลงงานแอร์บรัช ใครเห็นก็รู้ว่าเป็นรถเรา คือ มันมีคันเดียว ไม่ซ้ำแบบใครแน่นอน เรื่องราคา เอาเกรดกลางๆ อย่างที่พวกผมเล่นกัน ซื้อรถเก่ามา ก็ขึ้นอยู่ว่าจะราคาไหน แต่ราวๆ 8,000-12,000 บาท ต้องได้มาทั้งคันนะครับ เพราะของที่ติดกับรถมา ล้วนแล้วแต่หายากทั้งหมดเลย แต่ที่หายากที่สุดคือ “บังโคลน” เพราะเป็นเหมือนส่วนโชว์ของรถ Low Riders เป็นชิ้นงานที่ใหญ่ เป็นส่วนที่เน้นว่าต้องเงาวับ ถ้าไม่มีถือว่าผิด มันเหมือนเราเดินออกจากบ้าน แล้วไม่ใส่รองเท้า มันจะดูพิลึกๆ ส่วนของบังโคลนนี่เราทำเองไม่ได้ ความโค้ง ได้สัดส่วนกับล้อ มันต้องใช้เครื่องมือระดับโรงงาน เราทำเองไม่ได้ หรือ ได้ราคาก็คงต้องสูงมากๆ เราจึงต้องเน้นว่าต้องมีมากับรถ ส่วนชิ้นงานอื่นๆ นั้นพอประดิษฐ์กันได้ มาเชื่อม เสริม ดัด เกรียว อันนี้เราทำกันได้”
บ้านเรามีกลุ่มก้อนมาก-น้อย แค่ไหน
“ตอนนี้เหลือเล่นกันไม่มากนัก คงผ่านจุดสูงสุดของ Low Riders ไปแล้ว ก่อนหน้านั้นในยุคราว 20 ปีก่อน Preciuoz Gang (พีเชียส แก๊งค์) กลุ่มนี้ใหญ่ มีสมาชิกราว 30 คน รถนี่ราว 50 คัน…อีกกลุ่มก็ Es Raider (เอส ไรด์เดอร์) กับกลถุ่มของเพื่อนที่ชื่อ “เกย” Guy Ts Low Bike ทีแรกบอกจะมาร่วมแจม แต่ติดไฟร์ทบิน เขาเป็นกัปตันขับเครื่องบิน ที่บ้านเขามี 6-7 คัน แต่ละคันทำมาไม่น้อยกว่า 15 ปีแล้ว รถของเขายังเงาวับทุกคัน เรียกว่าเป็นนักสะสมตัวยง อย่างที่บอก รถพวกนี้ไม่ต้องปั่น แค่จอดโชว์ในบ้านเฉยๆ ก็สวยแล้ว สไตล์ของรถนั้นสร้างได้หลากหลายไอเดียว ไม่เงาวับๆ เน้นโครมเมี่ยมกับสีทอง ก็แนวสนิมเขรอะไปเลย คือว่าต้องเด่น ต้องสะดุดตา เวลาจอด สู้เรื่องเงาไม่ได้ ก็เอาแนวดิบๆ ไปเลย เวลาจอด เราก็จะเอาลวดหนาวไปพัน ให้มันดูดุๆ สร้างความน่าสนใจแก่ผู้พบเห็น จะให้มาจอดเฉยๆ รถมันเล็ก ก็ไม่มีใครสนใจ ก็ต้องใช้รูปแบบนี้”
เจอพวกเราได้ที่ไหน รวมตัวกันที่ไหนบ้าง
“ถ้าสะดวกที่สุด หรือเข้ามาศึกษาข้อมูลก่อนก็ที่ Facebool พิมพ์เลย TH Lowbike Club กับมารวมตัวที่นี่ “ป้อมพระสุเมรุ” ก่อนหน้านี้ก็รวมตัวกันที่ตลาดนัดรถไฟ จตุจักร แต่ก็มารวมตัวที่นี่ก่อน แล้วก็ปั่นไปพร้อมๆ กัน…ถามว่าเหนื่อยไหม ก็ไม่นะ ชินรึเปล่า แรกๆ ก็ปวดน่อง แต่รถพวกนี้มันปั่นเบาครับ ใบจานหน้าเล็ก ปั่นไปเรื่อยๆ เราไม่ได้เอาเร็ว เบรก ก็ถอยหลังเบรก (Coaster brake รูปแบบของรถประเภทนี้) เดี๋ยวก็ถึง ปั่นไปพารากอนก็ไป สยามก็ไป ปั่นเร็วไปคงไม่มีใครเห็น (หัวเราะ) สไตล์รถพวกนี้อย่างที่ผมบอก เราต้องการเป็นจุดสนใจ สร้างสีสันบนถนน พวกเราปั่นไปไหน ใครๆ ก็แซว แต่ส่วนใหญ่ใน “ทางบวก” นะครับ เขาก็ชอบ ไม่ได้มองว่าเรากวนหรืออะไร ช่วยลุ้นด้วยซ้ำเวลาขึ้นสะพาน พี่ๆ สายวินนี่เพื่อนกันเลย เฮ้ย…น้องไหวไหม เร็วๆ เขาก็ดูสนุกด้วย เราก็สนุกด้วย แม้จะเหงื่อไหล ไคลย้อย บ้าง”
มีทั้งรูปแบบ Lowbike แบบ 2 ล้อ/ 3 ล้อ
“ครับ คือทำให้มันใหหญ่ขึ้น เหมือนรถอเมริกัน…3 ล้อคือมันจะสามารถเอียงรถได้ ใส่ระบบไฮโดรเมติกเข้าไป (ปั๊มแรงดันลม) มันก็เคลื่อนไหวได้ ขึ้นๆ ลงๆ กระโดด ชอบสไตล์นี้ งบน้อยหย่อย ไม่มีเงินเล่นรถยนต์ ก็มาทำเป็นแบบจักรยานยนต์ 3 ล้อได้ครับ แต่อย่างที่บอก ถ้าเป็นแบบ 3 ล้อแล้ว เจ้าของต้องสร้างเอาเอง บริษัทผู้ผลิตเขาไม่ทำรถแบบนี้ออกมา ต้องใช้หัวคิดเอาเอง ออกแบบ หาของ ลงมือเองได้ก็ทำ หรือคุยกับช่าง มันก็เหมือนกับ 2 ล้อ แต่มีชิ้นส่วนเพิ่มเข้ามาเท่านั้น จริงรถพวกนี้ บ้านเรามีคนเล่นเยอะครับ แต่ส่วนใหญ่อาจไม่กล้าออกมาปั่นกัน คิดไปว่าคนส่วนใหญ่ไม่ชอบ มอบในทางลบ ดูจากเสื้อผ้า หน้าผม รอยสัก แต่จริงๆ ไม่เลยครับ ถ้ามาได้สัมผัส มุมมองคุณจะเปลี่ยนไปเลยครับ แต่ก่อนผมก็เป็น ได้มาเรียนรู้ ได้มาซึมซับ แนวคิดเราเปลี่ยนไป นี่คือรูปแบบหนึ่งของงานอดิเรก ได้ใช้ความคิด ใช้สมองในการสร้างสรรค์ บางคนเห็นหน้าโหดๆ ผมยาวรุงรัง ไม่กินเหล้า ไม่สูบบุหรี่ อยู่บ้านเลี้ยงหมา/ แมว บางคนขายเบเกอรี่ บางคนเป็นนักบิน และเมื่อเขาว่าง เขาเลือกผ่อนคลายด้วย “โลว์ ไรเดอร์” มันเป็นรูปแบบการใช้ชีวิตที่มีความสุขอีกแขนงครับ อยากให้ลองมาสัมผัสครับ”
บุญประเสริฐ ศาลางาม (โอมาน) อาชีพ : Bboys/ ธุรกิจส่วนตัว
“เป็นรูปแบบการใช้ชีวิตส่วนหนึ่งของเราครับ เราได้ทำ ได้สร้าง มันเป็นความ “พิเศษ” ที่ต้องแลก และเมื่อทำเสร็จมันจะเกิดความภูมิใจ วัฒนะธรรม HIP HOP สร้างรถพวกนี้ขึ้นมา เราชอบทุกอย่างในนั้น เสื้อผ้า หน้าผม รถ เงิน เครื่องประดับ แต่จักรยาน Lowriders มันจับต้องได้ มันใกล้ตัว อยากให้ลองมาเสพวิถีตรงนี้ดูครับ มุมมองคุณจะเปลี่ยนไป”
เอกพล คำสุข (เอกใหญ่) อาชีพ : กราฟฟิคดีไซด์
“ผมชอบตรงที่เราได้ได้ทำ ได้ใส่ความคิด ใส่ความเป็นตัวเราเข้าไป เราไม่ต้องการให้เหมือนใคร กับรถที่บริษัทเขาผลิตออกมาขาย Lowriders คือเราได้ทำทั้งคัน มันสนุก ได้เจอช่าง เจอเพื่อน แชร์ไอเดียกัน แลกเปลี่ยนของแต่งกัน ที่ผมเลือกรถในแบบ 3 ล้อเพราะต้องการให้แตกต่างเข้าไปอีก ตอนที่ทำก็ยังไม่มีใครทำ ผมว่า 2 ล้อมันยังกวนไม่พอ คือทำให้เกิดคำถามเพิ่มขึ้น ว่างั้น”
ธีระยุทธ ปานทอง (ตึ๋ง) อาชีพ : ค้าขาย
สุวัฒน์ ม่วงภาษี (กอล์ฟ) อาชีพ : ค้าขาย
“ถามว่าเสน่ห์มันอยู่ตรงไหน ผมก็ไม่รู้ รู้แต่ว่ารักมันเข้าไปแล้ว การที่ผมใส่ระบบไฮโดรเมติค เข้าไป (แรงดันลม) คือมันขยับได้ ผมว่ารถมันมีชีวิต มันจะดูน่าสนใจมากขึ้นอีก ที่เลือกแบบ 3 ล้อ เพราะ 3 ล้อสื่อถึงประเทศไทย และบ้านผมอยู่นนท์ เมืองแห่ง 3 ล้อ เลยเลือกรูปแบบนี้ นำมาผสมับ Lowriders เข้าไป ก็อร่อยดีพี่”
คุณากร แก้วพวง (เอกเล็ก) อาชีพ : นักศึกษา
“ผมชอบฮิปฮอปมาตั้งแต่เด็กแล้ว เดิมทีผมเต้น BBoys มาก่อน ได้มารู้จักกัยน้า “โอมาน” ได้รู้จักกับรถประเภทนี้ คราวนี้ก็ชอบเลย ผมชอบความเงา รูปทรงรถก็ไม่เหมือนใครดี และชอบตรงที่ต้องทำเอง ชิ้นส่วนตกแต่งไม่มีขาย เราต้องทำเอง ออกแบบเอง คุยกับช่าง ผมว่าคนไทยทำได้ไม่แพ้ชาติครับ”
ฤทธิชัย เทียนงาม (ตั้ม) อาชีพ : อิสระ
“แต่ก่อนผมเล่นกีฬาเอ็กตรีม เล่นสเก็ตบอร์ด จักรยานยนต์ BMX ได้เจอรถประเภทนี้จากภาพยนต์ เห็นเด็กวัยรุ่นอเมริกันเขาปั่นกัน เราก็เริ่มศึกษาประวัติ ถึงมารู้ว่ามันเป็นวัฒนธรรมที่น่าหลงไหล เราไม่ต้องขี่ แค่จอดเป็นพอร์พในบ้านผมก็ว่ามันสวยแล้ว แถมราคาก็ยังไม่ตกด้วย รถมันมีเอกลักษณ์ แถมบ่งบอกความเป็นตัวเราได้ด้วย ผมชอบรถคัสตอมนะ ทั้งรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ แต่เรายังไม่มีงบไปซื้อของใหญ่ ก็เริ่มจากของเล็กๆ ไปก่อน ถือเป็นบันไดไต่ไปสู่รถมีเครื่องยนต์ในโอกาสต่อไปครับ”