Classic Bike

1947 Indian Chief ปรับให้หรู ปรุงให้หรา ครุยเซอร์ขั้นเทพ “หัวหน้าเผ่า”  

STORY/ PHOTO : nuiAJS

…Chief กับภาพลักษณ์ หน้าตะเกียบสริงเกอร์ โช้คสไลด์ กระโปรงบาน มีชีวิตชีวาอีกครั้งในปี 1946 มันสวยสุด แถมยังวิ่งอีกต่างหาก โรงงานงานเคลมว่า มันสามารถทำความเร็วได้สูงถึง 85 ไมล์/ ชม. (136 กม./ชม.) สำหรับรุ่นสแตนดาร์ด

เลี่ยม…เหมือนหลุดออกมาจาก “แคตาล็อกฝรั่ง” กับเครื่องหมายการค้า “อินเดียน” รถหลบหลืบที่การณ์นี้ “สยามประเทศ” ผุดขึ้นให้เห็นอยู่เนืองๆ “จิ๊กซอร์-อิมพอร์ท” ของเล่นผู้ใหญ่อัตราส่วน 1:1 ที่ต้องอาศัยพิศมัยเสพจนเกินกรอบ จาก…วัน..เดือน…เข้าสู่หน่วยวัดเวลา “ปี” อุสาหะ-กรรม คือผมตอบแทน…เป็น…รถสีเนี๊ยบ โมเดลท็อปไลน์ ในนามของ “ชิฟ เจ็ด-สี่-คิวฯ” ที่จำนนท์อยู่ตรงหน้า ผลงาน “รวมสรรพ” ที่เพิ่งคลอด…ออก…มาจากโรงงานทำรถคัสตอมนาม…อิล-ลิ-เม้นท์…!?!?!

เครื่องยนต์ “หัวลิง” (บ้านเราเรียกแบบนั้น) วีทวิน ทำมุม 42 องศา ความจุ 74 คิวฯ ที่สามารถเรียกพละกำลังได้สูงถึง 40 ม้า เร็ว แรง ถือเป็นตัวจัดแห่งยุค’40
เครื่องยนต์ “หัวลิง” (บ้านเราเรียกแบบนั้น) วีทวิน ทำมุม 42 องศา ความจุ 74 คิวฯ ที่สามารถเรียกพละกำลังได้สูงถึง 40 ม้า เร็ว แรง ถือเป็นตัวจัดแห่งยุค’40

       1901 ด้วยฐานการผลิตเครื่องยนต์ใน Springfield รัฐ Massachusetts “รถจักรยานยนต์คันแรก” เครื่องยนต์ 288 ซี.ซี. ก็ได้โลดแล่นบนท้องถนน…Indian พัฒนาและออกแบบรถจักรยายนต์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเพื่อการใช้สอยในประเทศอย่างกว้างขวาง ด้วยพิมพ์เขียวโครงสร้างเฟรม “หน้าแหนบ หลังแข็ง” กับเครื่องยนต์บล๊อกใหม่แบบ V-Twin ทำมุม 42 องศาที่พัฒนาความจุขึ้นถึง 1,000 ซี.ซี. (61 คิวฯ) ก็เกิดขึ้นในปี 1907 นี่เอง มันแจ้งเกิด และกลายเป็นสัญลักษณ์ของ Indian ไปโดยปริยาย ในขณะที่คู่แข่งนาม Harley-Davidson ที่ดูเหมือนจะเป็นพระรองในตอนต้น แต่ด้วยรูปแบบการผลิต สมรรถนะ หน้าตา เครื่องยนต์ ที่ใกล้เคียงกัน “ทั้งคู่” กำลังดวลหมัดกันสนุกมือ โดยหวังให้ “ผู้บริโภค” ในท้องตลาดเป็นผู้ตัดสิน…ว่า…จะจบลงที่ความจงรักภักดีกับแบรนด์ผู้ผลิตใด

1947 Indian Chief 4
เฟนเดอร์หน้า/ หลัง ขึ้นรูปปิดสโลปล้อ เอกลักษณ์ของรุ่น “ชิฟ-กระโปรงบาน” (Skirted Fender) ภาพลักษณ์ที่เสมือนลายเซ็นของ “อินเดียน” ไปในที่สุด ที่มาพร้อมซับหลังสไลด์ (Plunger) มุมมองที่หน้าหลงไหล และเป็นที่จดจำ

1947 Indian Chief 3

ด้วยการวาง “จุดขาย” ที่ต่างออกไป Indian เลือกใช้ระบบการทำงานสั่งผ่านชุดเกียร์ (มือ) ที่วางไว้ด้าน “ขวา” ของตัวรถ คันเร่งน้ำมันในปลอกมือไว้ทางด้าน “ซ้าย” ส่วนกลไกปรับตั้งไฟถูกวางไว้ทางด้านขวา (Harley-Davidson วางไว้ในตำแหน่งตรงกันข้าม) “ความต่างที่ตั้งใจ” นี้ ลึกๆ แล้ว มันเป็นเรื่องของศักดิ์ศรี…ยาก…ที่ใครจะวาศอก Indian เลือกแนวทางของตัวเองและมุ่งมั่นที่จะทำตลาดในแนวทางที่ถนัด ภายใต้งานออกแบบ วิศวกรรม ที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง…ชื่อของ Scout เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1920 จากฝีมือนักออกแบบและสร้างสรรค์นาม Charles B. Frankin วิศวกรสายเลือด “ไอริช”Scout เลือกใช้เครื่องยนต์ขนาดกลาง (500-750 ซี.ซี.) ในขณะที่ Chief (1922) เลือกใช้ขุมพลังที่มากกว่าขนาด 61 คิวฯ (1,000 ซี.ซี.) และขยายความจุนั้นอีกครั้งเป็น 74 คิวฯ (1,200 ซี.ซี.) ในปี 1928…หลังจากนั้น ไม่มีใครเชื่อว่า Indian จะขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างหนัก กิจการส่วนใหญ่ถูกขายให้กับผู้ถือหุ้นรายใหม่นาม E Paul DuPont ที่เข้ามากุมบังเหียร และเริ่มมีการใช้โลโก้แบรนด์การค้า รูป “หัวหน้าเผ่า” ในปี 1934 นี่เอง ซึ่ง Indian ภูมิอก ภูมิใจ ที่จะติดตั้งไว้ที่บริเวณด้านหน้าของบังโคลน และแก้มซ้าย/ ขวา ของถังน้ำมัน ซึ่งถือเป็นรถเจนเนเรชั่นที่ 2 ที่ยังคงยึดโครงสร้างแบบ หน้าแหนบ หลังแข็ง

1947 Indian Chief 6
1947 Indian Chief 5 เพราะใส่หน้า สปริง (girder fork) ตำแหน่งไฟต้องระเห็จลงมาวางไว้ด้านล่าง ใต้ตำแหน่งของโช้คซัพ ที่เป็นแกนสปริงคู่ ว่างกระบอกไฮดรอลิกไว้ตรงกลาง
1947 Indian Chief 7
เบาะเดี่ยว ทว่าเลือกรุ่นชิ้นยาว ซ้อนได้ พาร์ทนี้ละม้ายคล้าย Harley-Davidson หยิบ จับ สับ เปลี่ยน กันได้ไม่ผิดกติการถกรีนการ์ดเดียวกัน
1947 Indian Chief 16
เรียบๆ โล้นๆ กับบาร์คอนโทรล กับชุดเร่งในปลอก มือเบรกก้านเรียว ทุกมิติดูละเมียดตาดีจริงๆ ไม่แปลกที่โลกขนานนามให้ว่า “อินเดียน” คือรถอเมริกันที่มีความละเมียดเป็นที่สุด

1947 Indian Chief 15

1940 Indian มาถึง “จุดเปลี่ยน” ครั้งสำคัญ (เจนเนเรชั่นที่ 3) ทุกโมเดลที่ผลิตออกจากโรงงาน เลือกใช้โครงสร้างแบบ “หน้าแหนบ” (Leaf-Spring) ที่ผนวกเข้ากับระบบซับแรงหลังด้วย “โช้คสไลด์” (Plunger) กับภาพลักษณ์ของเฟนเดอร์ “กระโปรงบาน” (Skirted Fender) ความล้ำสมัยนี้ โดดเด่น เตะตา ขับขี่สบายระดับเดอร์ลุค มันอวดโฉมต่อสาธารณะชนจน…ตื่นตะลึง!!! กระทั่ง “คู่แข่ง” เองยังยอมรับ เพราะ ณ เวลานั้น Harley-Davidson ยังคงใช้เฟรมแบบหลังแข็ง (Rigid) อยู่เลย…ทว่า ก็มาไม่ถูกจังหวะ อเมริกาจับมือยุโรปเกิด “ฝ่ายพันธมิตร” แถมยังประกาศตัวเข้าภาวะสงครามโลก (ครั้งที่ 2) อย่างเต็มตัว ด้วยต้นทุนการผลิตที่สูง เพราะ Indian ใช้วัตถุดิบที่ผลิตซับซ้อน จึงผลิตได้ช้า เป้าหมายทางการตลาดที่วาดหวังไม่เกิดผล เศรษฐกิจโลกก็ถดถอย คอนแทคกับ “ภาครัฐ” ถูก Harley-Davidson ตัดหน้า งานหินที่ทีมผู้บริหารต้องขบคิดจนหัวแทบ…ระเบิด!!! ไลน์ผลิตถูกดรอป Indian ต้องภาวนาหวังให้สงครามยุติโดยเร็ว

1947 Indian Chief 9
กลไกชุดคลัตช์ (เท้า) พร้อมกลไกดึงแบบแมนนวล กับชุดแคร้งค์ที่ INDAIN น้ำหน้าด้วยวัสดุอะลูมิเนียมทั้งหมด เหตุผลหนึ่งที่ทำให้ต้นทุนสูง และไลน์การผลิตที่ยากกว่า
1947 Indian Chief 10
มุมมองจากผู้ขับขี่ จะเห็นการจัดวางมาตรวัดที่สวยงาม ลงตัว เหนือถังน้ำมัน พร้อมฝาถัง 3 ตา ซึ่งนี่เป็นจุดขายที่ทุกคนยอมรับว่า…หยาดเยิ้ม หยดย้อย กว่าของคู่แข่ง (มาก)
1947 Indian Chief 17
ไฟท้ายทรงกลม ปาดชาย แบ่งสี ง่ายๆ ในรูปทรงเบสิค สวยงาม น่าพิศเป็นที่สุด

1947 Indian Chief 8

สงครามสิ้นสุดลง Indian กลับมาทำตลาดอีกครั้ง แบบพิมพ์จากก่อนสงครามได้รับการปัด ฝุ่น Chief เจเนเรชั่นที่ 4 กับภาพลักษณ์ หน้าตะเกียบสริงเกอร์ โช้คสไลด์ กระโปรงบาน มีชีวิตชีวาอีกครั้งในปี 1946 (1946-1948) มันสวยสุด แถมยังวิ่งอีกต่างหาก โรงงานงานเคลมว่า มันสามารถทำความเร็วได้สูงถึง 85 ไมล์/ ชม. (136 กม./ชม.) สำหรับรุ่นสแตนดาร์ด และทำความเร็วสูงขึ้นเป็น 100 ไมล์/ ชม. (160 กม./ชม.) เมื่อทำการปรับแต่ง และปลดเปลื้องน้ำหนักโดยเฉพาะที่บังโคลนหน้า/ หลัง…1950 Chief  เจเนเรชั่นที่ 5 ได้รับการสังคยานา เครื่องยนต์ V-Twin 42          องศาได้รับการขายความจุขึ้นเป็น 80 คิวฯ (1,311 ซี.ซี.) ขุมพลัง 50 แรงม้าที่ 4,800 รอบ/ นาที มาพร้อมระบบ “โช้คอัพเทเลสโกปิค” ที่นิ่มนวล เคียงข้างซับหลังที่ยังคงเป็นฟอร์แมทมาตรฐาน Chief 1300 คันใหม่ ทว่า ที่น่าสังเกตุ จาก “จุดขาย” ที่ภูมิใจนักหนาในตอนต้น Indian กลับมาเลือกวางตำแหน่งของคันเกียร์ไว้ที่ด้าน “ซ้าย” ย้ายตำแหน่งคันเร่งน้ำมันสลับกับตัวเร่งไฟกลับมาทางด้าน “ขวา” (เหมือนอย่าง Harley-Davidson) เราไม่รู้เหตุผล…แต่…ก็พอทำนายได้ว่า Harley-Davidson คงแอบสะใจ…อย่างไรก็ตาม… “ตัวเลข”  ทางการตลาดยังไม่กระเตื้อง รถรุ่นใหม่นี้กลับไม่เดิน Indian ประสบปัญหา “การเงิน” อย่างหนักหน่วง…สุดท้าย…ก็ต้องถอนทัพ ปิดโรงงานธรรมเนียมเดิมๆ อย่างเป็นทางการ กิจการทั้งหมดถูกแชร์ร่วมกับ Royal Enfield แบรนด์ผู้ผลิตจากอังกฤษในปลายปี 1953…รถลูกผสมหน้าตาแปลกๆ ก็เกิดขึ้น ทว่า ก็ไม่ทำให้สถานนะการณ์ใดๆ เปลี่ยนแปลง!?!?!

1947 Indian Chief 14
กลไก “เกียร์มือ” มันเป็นเรื่องของ “ปัจเจกบุคคล” เดิมรุ่นปี 1947-48 ต้องเกียร์ขวา ทว่า สลับสับเปลี่ยนเป็นเกียร์ฝั่งซ้ายก็เข้าท่า พาร์ทของปี 1950 สลับการทำงานมาได้ตามบุคลิกเข้าของ

1947 Indian Chief 12 1947 Indian Chief 13

เฟรมแปลคู่ที่แข็งแกร่ง เพราะพัฒนาช่วงหน้าแบบใหม่ แตรบนตากเดิม ต้องระเห็จมาอยู่กลางเฟรม
เฟรมแปลคู่ที่แข็งแกร่ง เพราะพัฒนาช่วงหน้าแบบใหม่ แตรบนตากเดิม ต้องระเห็จมาอยู่กลางเฟรม

1947 Indian Chief Roadmaster

รถ                                                        INDIAN

รุ่น/ ปี                                        CHIEF/ 1947

เจ้าของ                                               ตั้ม ELEMENT

เครื่องยนต์                                          SV. V-Twin 42 องศา 4 จังหวะ 1,213 ซี.ซี. (74 คิวฯ)

40 แรงม้าที่ 4,000 รอบ/ นาที

กระบอกสูบ/ ช่วงชัก                     82.5/ 113 มม.

ระบบไฟ                                              คอยย์ 6 V. / (แสงสว่างไดชาร์จ)

ระบบเกียร์                                          3 สปีด (เกียร์มือ/ ตลัตช์เท้า)

 ระบบคลัตช์                                       แห้ง (หลายแผ่น)

ระบบขับเคลื่อน                                 โซ่

ระบบโช้คอัพ (หน้า/หลัง)                  สปริงเกอร์/ โช้คสไลด์

ระบบเบรก (หน้า/หลัง)                      ดรัมเบรก (ดุมเสี้ยวม็ม้H) บนล้อขนาด 16 นิ้ว

น้ำหนักรวม                                539 ปอนด์ (245 กก.)

ความเร็วสูงสุด                            85 mph. (136 กม./ ชม.)

อ้างอิง : THE ENCYCLOPIDIA OF THE MOTORCYCLE / Hugo Willson

: ON 2 WHELL / Roland Brown

: https://en.wikipedia.org/wiki/Indian

1947 Indian Chief 19


Owner : “ตั้ม อิลลิเม้นท์” กับจิ๊กซอร์ 1:1 ที่ใช้หลายสรรพกำลังจนพินิช นี่คือ “อินเดียน” ปี 1947 ที่สวยเลี่ยม เหมือนหลุดมาจากแคตตาล็อกฝรั่ง

Related Articles

Back to top button

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

Save