1952 Triumph 5T Sprung Hub
1952 Triumph 5T Sprung Hub
“โช้คดุม สปีด”…นวัตรรกกรรมอากาศยาน!!!
“โช้คดุม” สวยๆ หา…ดูยาก!!! ใช่ แต่บางหน…ก็…เจอตัวง่ายแบบไม่ตั้งใจ หลังปลายสายส่งหมายเทียบเชิญ ให้เข้าเก็บภาพ…ก่อน…บินกลับสู่จังหวัดรอยต่อ ที่เวลาจะช่วยสลายความทรงจำในมโนของ “โช้คดุมสปีด” คันที่สวยจัดและเก็บงานส่ง…ได้…สวยกริป พร้อมขึ้นแท่นโชว์ ณ…สะหวัน!!!
Sprung Hub : “โช้คดุม” ระบบรับแรงกระแทกของ Triumph ที่ได้รับการออกแบบขึ้นโดย Edward Turner วิศวะกรชั้นครู หลังโดดเข้าร่วมรังสรรค์รถโมเดลสปอร์ตรุ่นใหม่ให้กับไทรอัมพ์ จะเรียกว่าเป็น “ออปชั่น” ก็เห็นจะได้ มันถูกผนวกเข้ากับรถโครงสร้างแบบ “หลังแข็ง” โมเดลในไลน์ผลิต ที่ช่วยการให้ขับขี่เป็นไปอย่างนุ่มนวล (ขึ้น) ซึ่งนั่นนำมาซึ่งความ “ปลอดภัย” ที่เพิ่มมากขึ้นด้วย
Design and Development : Edward Turner…ไม่ได้คิดเอง!!! ทว่า แรงบันดาลใจนี้เกิดขึ้นหลังการได้เห็นดุมของ Dowty บริษัทพัฒนาอากาศยานของอังกฤษ ระบบนี้ช่วยการลงจอดของเครื่องบินในรุ่น Gloster Gladistor มันเข้าตา ในวันที่แอดเวิร์ดกำลังมองหาระบบช่วงล่างที่ไม่อยากให้เหมือนกับ “โช้คสไลด์” มันต้องดูเล็ก และไม่บดบังความงามของรูปทรงรถ สปริงในเบ้ายาง พร้อมชุดกลไก ถูกวางรับกับแกนล้อหลังที่ร้อยผ่าน ที่สามารถให้ตัวขึ้น-ลงในแนวตั้งฉากได้ถึง 2 นิ้ว ด้วยชุดกลไกใหม่นี้ มันตอบโจทย์ ทว่า ก็มีน้ำหนักเฉพาะส่วนของดุมมากถึง 17 ปอนด์ (7.7 กก.)
Edward Turner ใช้เวลากับการพัฒนา “โช้คดุม” นี้ร่วม 2 ปี ก่อนคิดว่าจะจับใส่ในรถไลน์ผลิตปี 1940 ทว่า สงครามโลกครั้งที่ 2 (WW-II) เกิดขึ้นเสียก่อน เรามีโอกาสได้เห็น “โช้คดุม” ครั้งแรกในปีรถเครื่องยนต์จุดระเบิดคู่ (Parallel Twin) ในปี 1946 และพัฒนาในรุ่น MK-II ในรถเวอร์ชั่นปี 1951 ซึ่งโรงงานเคลมว่า มันดูแลรักษาง่าย เพียงแค่การอัดจารบีในทุกๆ 20,000 ไมล์ (32,000 กม.) เท่านั้น น่าเสียดายที่ “โช้คดุม” ถูกผลิตใช้ถึงราวปี 1955 เท่านั้น
1952 Triumph 5T Sprung Hub : โมเดลอานิสงค์ที่ได้รับการอัพเกรดระบบรับแรงกระแทก (หลัง) ในรุ่น Mk-II เข้ากับเฟรมแบบหลังแข็งไลน์ผลิตของรุ่น “สปีด ทวิน” ที่ถือเป็นรถที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของไทรอัมพ์ที่เกิดขึ้นตั้งปี 1938 เครื่องยนต์ที่ทรงพลัง แรงบิดที่สูง กับภาพลักษณ์ของสีโครม-“แดงน้ำหมาก” (Amaranth red) เดินเส้นสีทอง เสื้อสูบเหล็ก 6 สตัท คือภาพลักษณ์ท้ายก่อนที่โรงงานผลิตในโคเวนทรีจะ…โดน…เยอรมันนีบอมในค่ำคืนของวันที่ 14 พฤศจิกายนต์ 1940 รถสวยๆ สีหวานๆ รหัส 5T ต้องหยุดการผลิต อังกฤษเข้าร่วมสงครามอย่างจริงจัง 2 ล้อ โดยยุทโธปกรณ์มากกว่า 1,000 คัน ถูกป้อนให้กับกองทัพ ซึ่งถูกลดสเปคเหลือเพียงเครื่องยนต์แบบซิงเกิล-หลังแข็ง เท่านั้น
1946 หลัง “พันธมิตรได้ชัย” โรงงานแห่งใหม่ใน Meriden กลับมาผลิต Speed Twin ในไลน์ปี 1946 หน้ากระบอก หลังแข็ง และมี “โช้คดุม” ให้เลือกเป็นออปชั่น จากโมเดล “ไมล์บนถัง” ถูกพัฒนาอีกครั้งไปไว้บนกะโหลกไอ้โม่งไฟที่ Edward Turner ออกแบบใหม่ในโมเดลปี 1949 โมเดลนี้ถูกผลิตถ่ายทอดต่อเนื่องถึงปี 1953 และอัพเกรดอีกครั้งด้วยระบบไฟของ Lucas แบบไฟทุ่น (Generator) และจุดระเบิดด้วยแบตเตรฺรี-ฟีลคอยย์ (Coil-ignition) แทนที่ชุดไฟแบบเก่า ที่เป็นการทำงานร่วมระหว่างไดชาร์จและ…แมกนีโต…!?!?!
1952 Triumph 5T Sprung Hub
รถ / รุ่น Triumph / 5T Sprung Hub
ปีผลิต 1952
เจ้าของ เล็ก ใบเมี่ยง
เครื่องยนต์ OHV-Palallel Twin 2 สูบ 4 จังหวะ 498 ซี.ซี.
กระบอกสูบ/ ช่วงชัก 63/ 80 ม.ม.
แรงม้าสูงสุด 27 แรงม้าที่ 6,300 รอบ/นาที
ระบบไฟ แมกนีโต/ ไดชาร์จ
คาร์บูเรเตอร์ AMAL Monoblock
ระบบเกียร์ 4 เกียร์ (ขวา)
ระบบคลัตช์ แห้ง (หลายแผ่น/ ใช้ไอน้ำมันเครื่องเลี้ยง)
ระบบขับเคลื่อน โซ่
ระบบโช้คอัพ (หน้า/หลัง) เทเลสโกปิก / โช้คดุม (Sprung Hub)
ระบบเบรก (หน้า/หลัง) ดรัมเบรก (ดุมเสี้ยว)7 นิ้ว/ หลัง 8 นิ้ว
ล้อ (หน้า/หลัง) 3.25-19/ 3.50-19
ความสูงเบาะ 31 นิ้ว
ฐานล้อ 55 นิ้ว
อ้างอิง : THE ENCYCLOPEDIA OF THE MOTORCYCLE / Hugo Willson
: ON 2 WHEEL / Roland Brown
: https://en.wikipedia.org/wiki/Triumph_Speed_Twin