Classic Bike

1956 Triumph 6T Thunderbird

1956 Triumph 6T Thunderbird

 โปรดักส์ “ต่อยอด” ทำให้ใหญ่ เอาใจ “โก๋’เมกัน

1ทรงสวยๆ สีเนียนตา กับไลน์ผลิต 6T “Thunderbird” รุ่นสวิงอาร์ม การเดินทางที่มาถึงขั้น “สุด” ของทั้งเครื่องยนต์ และ สมรรถนะการขับขี่

อีกบท กับคนเล่นรถ “หกแรงครึ่ง” เวอร์ชั่นต่อยอดของคนชอบเก็บ “บังซัค วิทยา” กับรถโมเดล “สวิงอาร์ม” รถรุ่นท็อป รหัสร้อน อย่าง “6T” ไม่ง่าย กับการ “ปั้นซาก” รถกรังๆ สู่งาน “รีสโตร์ฯ” ลุคแจ่มๆ ทรงจัดๆ คือ “ผลลัพธ์” ที่เห็นแล้วต้อง “ซี๊ดปาก” นี่แหละ “วิหคสายฟ้า” ตำนานที่ยังคง…เปี่ยมมนตร์!?!?!

2เครื่องยนต์เสื้อเหล็ก ฝาเหล็ก ที่พัฒนาขึ้นจากรุ่น Speed Twin ที่ให้กำลังสูงสุดถึง  34 แรงม้าที่ 6,300 รอบ/ นาที เรียกว่า ทรงพลัง ทนไม้ ทนมือ “โก๋’เมกัน” เป็นที่สุด

“ธันเดอร์ เบิร์ด” (วิหคสายฟ้า) คือรถจักรยานยนต์จากประเทศอังกฤษที่ผลิตขึ้นโดยบริษัท Triumph Engineering Co., Ltd. ที่มีฐานการผลิตอยู่ใน Coventry ทว่า ไลน์ผลิตในบล็อกเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ขนาด 650 ซี.ซี. รหัส 6T นั้นเกิดในช่วงปี 1949-1966 โดยแนวงามคิดที่หวังเปิดตลาดในต่างประเทศบ้าง ซึ่งห้วงเวลานั้น “อเมริกา” มีความพร้อมและเม็ดเงินขนาดมหาศาลรออยู่ ทีมผู้บริหารยังคงเรียกทีมออกแบบเข้าห้องติว Edward Turner ยังคงเป็นหัวหน้าทีมออกแบบ ณ ห้วงเวลานั้น เขากุมบังเหียร “งานหิน” ที่ต้องสร้างรถจักรยานยนต์รถ่นใหม่ ที่มีรเครื่องยนต์ขนาดที่ใหญ่มากขึ้น และมันต้องทนต่อการใช้งาน ดูแลรักษาง่ายๆ สำหรับลูกค้าที่ล่ำลือกันว่า มือหนัก ตีนโหด

3.1

3“ไอ้โม่ง” คิ้วไฟ 2 ชั้น พร้อมคิ้วขีด บาร์ต่ำ ไฟคาง (ออปชั่นแต่ง) มุมมองที่น่าพิศมัย ลายละเอียดที่เป็น “ลายเซ้นต์” ถ่ายทอดจากรุ่น สู่รุ่น  

เครื่องยนต์จุดระเบิดคู่พร้อมกัน (Paralell Twin) ของ 6T ถูกพัฒนาขึ้นจากพื้นฐานของเครื่องยนต์รุ่น Speed Twin (5T) ทว่า ทำให้มันใหญ่ขึ้นจาก 500 เป็น 650 ซี.ซี. โดยมิติของห้องเผาไหม้ขนาดใหม่ที่เลือกไป (70 X 84 มม.) สามารถเพิ่มแรงม้าสูงสุดได้ถึง 34 แรงม้า แบบนี้ “เอ็ดเวิร์ด” มันใจว่ามันจะสามารถสนองนีทตลาดอเมริกาได้อย่างแน่นอน และเพราะมั่นใจ โลโก้ “วิหคสายฟ้า” ที่เกิดจาดภาพร่างเล่นๆ บนเศษกระดาษของ Turner กลับถูกนำใช้มาเป็นเครื่องหมายการค้าของ Thunderbird ในที่สุด โดยแฝงนัยยะว่า “นี่คือ…ฑูตสวรรค์ที่นำพาเอาโปรดักส์ดีๆ เดินทางไปอีกซีกโลก (อเมริกา) และจะนำพาความสำเร็จที่งดงามกลับให้กับไทรอัมพ์ด้วย” ซึ่งเราได้จะเห็นมันที่ฝาไพรมารี่คลัตช์อะลูมิเนียมที่ไทรอัมพ์แกะมันไว้ให้เป็นความภาคภูมิใจ

4ไพรมารี่ขับหน้า ฝามิเนียม สลักเสลาเครื่องหมายการค้า “วิหคสายฟ้า”

5ดุมหน้าเสี้ยว ลายละเอีดของรุ่น “สวิงอาร์ม” โมเดลปี 1954-1956

ในวันเปิดตัวรถรุ่นใหม่ Triumph จับเอารถรุ่นมาตรฐานจำนวน 3 คัน ออกวิ่งโชว์ที่ Montlhry ใกล้ๆ กับฝรั่งเศส พวกเขาทำการทดสอบมันอย่างหนัก ทั้งในสนามแข่งขัน และเดินทางไกลรวมระยะทาง 500 ไมล์ (800 กม.) ด้วยความเร็วเฉลี่ยที่แจ้งไว้คือ 92 ไมล์/ชม. หรือ 148 กม./ชม. เพื่อสร้างความเชื่อมั่นมห้กับลูกค้า ว่ามัน อึด ทน แกร่ง ใช้งานต่อเนื่องได้ยาวนาน และรับประกันว่าจะ ทนไม้ ทนมือ ของลูกค้ากลุ่มหลัก…Thunderbird มาพีคสุดขีดเมื่อภาพยนต์เรื่อง “The Wild One” ที่นำแสดงโดย Marlon Brando ออกสื่อทั่วอเมริกาในปี 1953 โดยเป็นเรื่องราวของ “แก๊งค์สเตอร์” ที่พระเอกใช้รถจักรยานยนต์รุ่น Thunderbird รุ่นปี 1950 และแน่นอน “ความคลั่ง” นี้ นำมาซึ่ง “ยอดขาย” ที่ทะยานตามความคาดหวัง

7ถังใหญ่ขนาด 4 กอลลอน ใช้สำหรับโมเดลปี 1954-1956 จุดสังเกตที่มาพร้อม ตะแกรงบนถัง ถ้ามีคิ้วกลางถัง จะใช้ร่วมกับตะแกรงแบบ 4 เส้น   

6ระบบไหลเวียนน้ำมันเครื่องแบบ “อ่างแยก” (Dry-sump) พร้มซัพหลังโช้คคู่ของ Girling

9ท่อไอเสียพิมพ์ที่เป็นเอกลักษณ์ เสียงทุ้มๆ นุ่มหู แบบพิมพ์ที่เจนตา จนถึงเจเนเรชั่นใหม่ในยุคปัจจุบัน

อย่างไรก็ตามวาระ “ฮันนีมูน” นั้นมีโปรฯ ที่จำกัด ในปี 1960 Thunderbird เปิดตัวด้วยรถเดลใหม่ที่มีนิคเนมว่า “อ่างอาบน้ำ” (Bathtub) แนวคิดดี ที่มาพร้อมความทันสมัย แฟร์ริ่งท้ายแบบชิ้นใหญ่ครอบส่วนของล้อหลัง ทว่า ในอเมริกายอดขายกลับ “ดิ่งเหว” มันถูกค่อนแคะว่าเป็นรถที่อัปลักษณ์เป็นที่สุด แม้ในปี 1963 มีการปรับลุกอีกครั้งด้วยรถ “เกียร์รวม” (Unit Engine) ที่ดูสปอร์ตขึ้น ทว่า ก็ไม่ช่วยให้สถานะการณ์อันใดดีขึ้น มันยากในทางปฎิบิติ แต่สุดท้ายผู้บริหารก็ “ลงนาม” ยุติไลน์ผลิต Thunderbird ก็ต้อง “ดับสูญ” ไปในโมเดลสุดท้ายปี 1966…นี่เอง!!!

10นิ้วเบรค-คลัตช์ “ตุ้ม” นี่ก็ลายเซ้นต์ที่คุ้นตา จะผ่านไปกี่มี ก็ยังคงคลาสสิคไม่เสื่อมคลาย

logoลายเซ้นต์เล็ก ฝั่งบนโลโก้แทบ 4 เส้น โลโก้ยุคคลาสสิคที่ใช้ถึงปี 1956 ก่อนเปลี่ยนเป็น “เม้าท์ออร์แกน” ในปี 1957

1956 Triumph 6T Thunder Bird
รถ / รุ่น                                    TRIUMPH / 6T Thunder Bird

ปีผลิต                                     1957

เจ้าของ                                   บังซัค วิทยา มะลา

กระบอกสูบ/ ช่วงชัก               70 X 84 มม.

ความจุกระบอกสูบ                  649 ซี.ซี.
กำลังอัด                                 6.5:1

แรงม้า                                     34 แรงม้าที่ 6,300 รอบ/ นาที

ระบบไฟ                                  จานจ่าย / 6 V.

ระบบเกียร์                              4 เกียร์ (ขวา)

ระบบคลัตช์                            แห้ง (หลายแผ่น/ ใช้ไอน้ำมันเครื่องเลี้ยง)

ระบบขับเคลื่อน                      โซ่

ระบบโช้คอัพ (หน้า/หลัง)       เทเลสโกปิก / สวิงอาร์มโช้คน้ำมันไฮดรอลลิค

ระบบเบรก (หน้า/หลัง)          ดรัมเบรก (ดุมเสี้ยว ขนาด 8 นิ้ว)

ขนาดยาง (หน้า/หลัง)           3.25/ 19- 3.50/ 19

น้ำหนัก                                  397 ปอนด์

อ้างอิง : THE ENCYCLOPEDIA OF THE MOTORCYCLE / Hugo Willson
: ON 2 WHEEL / Roland Brown
: https://en.wikipedia.org/wiki/Triumph_Thunderbird

Story / Photo : NUIAJS 

Related Articles

Check Also
Close
Back to top button

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

Save