Classic Bike

1959 INDIAN CHIEF 700

1959 INDIAN CHIEF 700

 โมเดล “ฟีจเจอริ่ง” สั่งลา “ชิฟ 7 แรง”    

9

นึกอะไรไม่ออก…บอก…“บ๊อบ ซิกเดย์” เกจิบนห่วงโซ่ “รถโบราณ” ที่มักเหน็บเอา “ของเด็ด” ติดปลายนวมมาฝากสม่ำเสมอ นี่ก็ “คันเดียว…ที่เห็นวิ่งได้” รถปลายยุค 1950 ที่มีหน้าตาแปลกประหลาดอยู่ไม่น้อย ผลรวมของงาน “ฟีเจอริ่ง” ของ 2 แบรนด์การค้าโลก แผนการล่าอาณานิคมแบบใหม่ ที่ชาติมหาอำนาจ (ด้านการเงิน) จะเดินเกมสอยหุ้นมาไว้บริหารงานเอง หนนี้…Royal Enfield (โรยัล เอนฟิลด์) คือ “แบรนด์ปราชัย” ในห้วงหนึ่ง…ที่…ต้องส่ง “สตอรี่” ไปให้ Indian (อินเดียน) เป็นคน…จารึก…!?!?!

1

1-1

ตัดตอน…กลับสู่ยุค “ตกต่ำ” ที่สุดของแบรนด์ผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ชั้นดีของอังกฤษอย่าง Royal Enfield ในยุคปี 1955-1959 ที่ต้อง “กลืนเลือด” ขายกิจการส่วนใหญ่ให้กับกลุ่มทุนของอเมริกาอย่าง Indian ไลน์ผลิตรถจักรยานยนต์ปรกติ ทั้งเครื่องยนต์แบบซิงเกิล-ทวิน ถูกผลิตภายใต้เครื่องหมายของ “ชนเผ่า” (Indian Motorcycle) และนำเข้ามาวางจำหน่ายในตลาดอเมริกาโดย Brockhouse Corporation ซึ่งห้วงเวลานั้นในอเมริกาเองโรงงานของ Indian ที่ Springfield ก็ได้หยุดไลน์การผลิตรถจักรยานยนต์ลงแล้วตั้งแต่ในปี 1953

3-1

3

Indian Chief “ลุคใหม่” เกิดขึ้นในปี 1955-1959 อานิสงส์ของงาน “ฟีเจอริ่ง” เกิดขึ้นภายใต้ชิ้นส่วนแบบที่มีเหลือใช้ในโรงงาน อาทิ บังโคลนหน้า-หลัง ล้อ มาตรวัดต่างๆ สปอตไลต์ บาร์กันล้ม ท่อหางปลา ในขณะที่เครื่องยนต์แบบ 2 สูบ Parallel Twin ขนาดความจุ 700 ซี.ซี. ถูกเลือกสรรมาใช้ตามข้อตกลง ภายใต้รหัสรุ่นที่แตกต่าง 2 โมเดลคือ Chief และ Trailblazer ส่วนรุ่น Tomahawk เลือกบล็อกเครื่องยนต์ขนาด 500 ซี.ซี. (การณ์นี้ยังรวมถึงรุ่น Woodman เวอร์ชั่น Scrambler ใช้เครื่องยนต์แบบซิงเกิล/Fire Arrow ใช้เครื่องยนต์สูบเดี่ยวขนาด 250 ซี.ซี.)  เพราะเครื่องยนต์แบบตั้งที่ถูกวางโดยกินพื้นที่ส่วนใหญ่ของเฟรมหลัก โครงสร้างเฟรมเดิมจึงถูกขยายและยื่นออกไปทางด้านหน้า ขนาดของฐานล้อที่เพิ่มมากขึ้นเป็น 61 นิ้ว คือความ ใหญ่โตอยู่ไม่น้อย เครื่องยนต์ที่รับรู้ว่านี่คือ Royal Enfield รุ่น Meteor รถแรงบิดสูงที่ให้แรงม้าสูงสุดที่ 43 แรงม้าที่ รอบเครื่องยนต์ 5,500 รอบ/นาที และสามารถทำความเร็วสูงสุดถึง 170 กม./ชม. แต่โรงงานกลับเลือกใส่ล้อโตๆ ให้ Chief แทนที่จะเป็นขนาด 19 นิ้วที่ดูสมส่วนกว่า มัน (ก็) ดีนะ แต่ขาด “ความภาคภูมิใจ” คนอเมริกันส่ายหน้า “รับไม่ได้” นี่ไม่ใช่ Indian หรูๆ แบบที่พวกเขาเคยรู้จัก เพราะหากไม่ดูที่เครื่องหมายการค้าที่ “ถังน้ำมัน” และ “บังโคลนหน้า”…ก็…แทบบอกไม่ได้ว่านี่คือ Indian Chief แบบที่พวกเขาเคย…คุ้นเคย!!! ด้วยเหตุผลทั้งหลายทั้งมวล ทำให้ Indian Chief ยื้อไลน์ผลิตต่อได้ราวปี 1961 แบบการผลิตนี้ถูกพับไปพร้อมกับพันธสัญญาที่ต้องยุติ ซึ่งส่งผลให้ Royal Enfield ก็ต้องระเห็จตัวเอง โดยย้ายฐานการผลิตไปที่ “อินเดีย”…แทน…!?!?!

4

5

 

1959 INDIAN CHIEF 700

รถ / รุ่น                                                                  Indian / Chief

ปีผลิต                                                                  1959

เครื่องยนต์                                                           Twin OHV 2 สูบ 4 จังหวะ 700 ซี.ซี.

43 แรงม้า ที่ 5,500 รอบ/นาที
กระบอกสูบ / ช่วงชัก                                          70 / 90 มม.

กำลังอัด                                                                 8.7 : 1

เจ้าของ                                                                 บ๊อบ ซิกเดย์

ไฟ                                                                          แมกนีโต

ระบบเกียร์                                                            4 เกียร์ (ขวา)

ระบบคลัตช์                                                          แห้ง (ใช้ไอน้ำมันเครื่องเลี้ยง)

ระบบขับเคลื่อน                                                  โซ่

ระบบโช้คอัพ (หน้า/หลัง)                                  เทเลสโคปิค / สวิงอาร์มโช้คน้ำมัน / กระบอกคู่

ระบบเบรก (หน้า/หลัง)                                       ดรัมเบรก (ดุมเสี้ยว)

ขนาดยาง (หน้า/หลัง)                                      5.00-16 นิ้ว

ความจุถังน้ำมัน                                                  4.4 แกลลอน

ฐานล้อ                                                                  61 นิ้ว

ความสูงเบาะ                                                       28 นิ้ว

สูงจากพื้น                                                             5 นิ้ว

น้ำหนัก                                                                  460 ปอนด์

ความเร็วสูงสุด                                                     106 ไมล์ / ชม. (171 กม. / ชม.)

อ้างอิง  : THE ENCYCLOPEDIA OF THE MOTORCYCLE / Hugo Willson

          : ON 2 WHEEL / Roland Brown

8

\8-1

Related Articles

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Check Also
Close
Back to top button

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

Save