1954 Vespa 125
1954 Vespa 125
“ไฟล่าง” โมเดลสั่งลา สวยขึ้น แรงขึ้น ปลอดภัยขึ้น
เด่นโสต… สะดุดตาในงาน “มอดส์สยาม” อีเวนต์แนว ๆ ของคนเล่นรถสายออปชั่น ที่เด่นด้วยคาแรกเตอร์แปลก ซึ่งถูกครอบงำจนเป็นวิถีจาก “สตอรี่อิมพอร์ต” ออปชั่นที่พรั่งพรู ด้วยเหรียญตราประจำตำแหน่ง นี่คือ บทเสวนาจนได้ความ “…บน…วิถีการตกแต่งมอดส์สไตล์ที่เกิดขึ้นในยุคปี 1950 ที่กฎหมาย-ข้อบังคับนั้นยังไม่ลามมาเตะกระดอง 2 ล้อสายออปชั่น กระจก สปอตไลต์ยังไม่เฟ้อ เหรียญ-ตรา และแผ่นอักขระก๊วน คือสิ่งที่ถูกนำมาแลกเปลี่ยน แทนมิตรภาพที่เหล่าผองเพื่อนนั้นได้มาปะหน้า จาก 1…เป็น 2…เป็น…10 จนมีมวลเกลื่อนบนตัวรถ สีสันที่สดใส เส้นสายที่เป็นเอกลักษณ์ นี่คือ “มอสด์สไตล์” อีกแบบที่อุบัติเป็นเทรนด์…บน…รถเก๋าปีลึก ที่หนนี้รหัสตัวถัง VM2T คือ แฮนด์แป๊ป-ไฟล่าง รุ่นส่งท้ายที่ฝรั่งมังค่าเรียกขนานนามว่า “Faro Basso”…”
1953-1954 Vespa 125 (VM1T/ VM2T)
โมเดลต่อยอดที่เกิดขึ้นจากการพัฒนามาจากรุ่น Vespa 125 ของปี 1951 และเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี 1953 ภายใต้หน้าตาของบอดี้แบบฝากระโปรงเต็ม เจาะช่องในแบบที่แปกลตาออกไป นวัตกรรมใหม่ที่เสริมความแข็งแกร่งของงานขึ้นบอดี้ โดยเน้น “ส่วนกลาง” ของตัวถังแบบโมโนค็อก ที่ทนแรงบิดได้ดีกว่า และทำการยืดความยาวของบอดี้ออกไปอีกราว 10 มม. (1,670 เป็น 1,680 มม.) เครื่องยนต์ที่พัฒนาขึ้นใหม่ แม้จะเกิดขึ้นในพิกัดของรถเครื่องยนต์อเนกประสงค์แสนประหยัด ความจุขนาด 125 ซี.ซี. ทว่า มิติห้องเผาไหม้ขนาดใหม่ที่เรียกว่า “Square Type” คืออนุพันธ์ที่ลงตัวมากกว่า ขนาดลูกสูบ/ช่วงชักที่ 54/54 มม. (56.5/49.8 มม.) แม้จะได้ปริมาตรกระบอกสูบลดลง (จาก 124.789 เหลือ 123.7 ซี.ซี.) ทว่า “แรงม้า” ที่เพิ่มจาก 4 เป็น 4.5 แรงม้า “ลายละเอียด” เล็ก ๆ น้อย ๆ คือความสัมพันธ์ที่ลงตัว และทีมวิศวกรรมในยุคนั้นเลือกใส่ไว้ในรุ่นนี้
“ไฟบังโคลน” (Fender Light) คือข้อกำหนดใหม่ที่ได้รับการพัฒนา และเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง “จานฉาย” ที่ใหญ่ขึ้นจาก 95 เป็น 105 มม. ได้รับการติดตั้ง มันรวมถึงระบบชาร์จกำลังไฟที่เพิ่มมากขึ้น ก็ช่วยให้ไฟหน้าของรถรุ่นนี้ดูสว่างสไวขึ้น เกียร์ คลัตช์ ยังคงใช้อานิสงส์จากรุ่นเก่า ทว่า เพราะกำลังเครื่องยนต์ที่เพิ่มขึ้น คาร์บูเรเตอร์ขนาด 18 มม. จึงถูกนำมาใช้ ถังน้ำมันขนาดใหม่ 6.5 ลิตร คือความสัมพันธ์ส่งท้ายที่ช่วยให้รถรุ่นนี้วิ่งได้ระยะทางที่ไกลขึ้น ด้วยอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงที่ 2.19 ลิตร/100 กม. และนั่นยังปลอดภัยขึ้นด้วยดุมเบรกหน้า/หลัง มิติใหม่ที่ขยายเส้นผ่าศูนย์กลางมาใช้ขนาด 124/126 มม.
Accessories
1.Mirror : Biemme made in Italy
2.Horn casting : VIGANO made in Italy
3.Florida Crash Bar : Super made in Italy
4.Side Cowl : Super made in Italy
5.Wheel discs : Super made in Italy
6.Front bumper : Super made in Italy
7.Fork cover : Super made in Italy
8.Leg shield Protector : Tomaselli Ardor made in France
9.Carrier rack : VIGANO & Tail Light 1947-1949 made in Italy
10.Luci targa faro busso : Biemme made in Italy
11.Grips: Metalplast made in Italy Mudflap : Biemme & Metalplast made in Italy
12.Portobello : Biemme & REG made in Italy
13.Tessel : Metalplast made in Italy
14.Foot rest : ULMA made in Italy
15.Head lamp : ULMA made in Italy
16.Cable candy : Ken cobbing Red & Blue made in Italy
17.Watch : Vespa 2011 made in Italy
18 BELL : Lucas made in England
BADGE
1.Desmo bar made in England
2.ULMA bar made in Italy
3.Mascot : Pegasus made in England
4.Mascot : FLY Lady made in England
5.St.Christophe and go tour way in safety Behold made in England (2 ITEM)
6.SAFETY courtesy regarde St.Christophe puis VA ten rassure made in England
7.VIGANO St.Christophe made in Italy
8.THE Badge Property of The AA NEW Coventry ST LONDON.W.1 made in England (5 ITEM) 9.THE Badge : Royal automatic mobile Club made in England
10.THE Badge : VM Veteran Motorists 47 – 54 made in England
11.THE Badge : REAL Automovil Club
12.THE Badge : Austria EURO
13.THE Badge : Touring Club DE Tole DO Espana
14.THE Badge : EURO Vespa Treffen Saar-Mai 1955
15.THE Badge : GB England
16.THE Badge : Bangkok scooter gang
17.THE Badge : 10 INT, Meller Adac Zielfahrt AC Melle 1980