Scooterism

1955 ALLSTATE Cruisair

1955 ALLSTATE Cruisair  

  “ออลสเตท” งานแพร่ลัทธิ “ผึ้งหลวง” บุกอเมริกา   

1ทรวดทรงองค์เอว สมูทตาตั้งแต่หัวจรดท้าย โปรดักต์ไลน์ที่ “ส่งออก” สู่อเมริกา คันนี้ทำมากริปมาก แชมป์รายการ “2nd Bangkok Hot Rod Show” สาขารถสกู๊ตเตอร์ แถมได้ของตรง ตรงรุ่น ตรงปี เสริมความหรูหราอีก จัดว่าพีคมากสำหรับ Allstate คันนี้

สเป็ก ’เมกา เขาว่าเป็น “ตัวท็อป” นี่คือดีเทลที่ฝังหัว “สายเก็บ” ไม่ว่าจะ 2/4 ล้อ นี่คือ “ดินแดนเสรี” ที่หากเข้ามาปักธงได้ นี่คือ “เครดิต” ที่จะสร้างฐานการเงินให้ผู้ผลิตได้ไม่น้อย ซึ่งก็ช่วยไม่ได้ที่ “ผึ้งหลวง” อย่าง Piaggio จะเล็งตลาดไซซ์เขื่องนี้ หลังจดๆ จ้องๆ อยู่นาน ผู้ผลิตในอิตาลีก็เบิกฤกษ์ด้วยรถโมเดลอเนกประสงค์ ที่คาดหวังว่าเมื่อมันขายดี “ในบ้าน” ก็ต้องขายได้ “นอกบ้าน” ด้วยซิ

2.1

2“คอหงส์” นี่คือชื่อทางการ ทว่า บ้านเราเรียก “แฮนด์แป๊บ” ตำแหน่งของสวิตช์ กลไกสับเกียร์ ส่ง-ชัก ด้วยสายเคเบิลล้วนๆ คลาสสิกสุดๆ Allstate ตะเกียงกรวยมิเนียม เพราะเป็นพาร์ทจากอิตาลี จานฉาย ขอบไฟ แบรนด์ SIEM โมเดลปี 1955 ขึ้นมากะโหลกเจาะฝังไมล์ หรือหากเห็นเป็นแผ่นพลาสติกปิด ก็พาร์ทออกห้าง เพราะลดต้นทุนในการขาย

เพราะกระแสความคลั่ง Vespa รถล้อเล็กราคาประหยัดมาถึง…จุดพีค!!!…อังกฤษมี Douglas…เยอรมนีมี Hoffmann…ฝรั่งเศสมี A.C.M.A….และ Piaggio บรรลุข้อตกลงในเบื้องต้น พาร์ทจากโรงงานอิตาลีถูกส่งประกอบและป้อนสู่ตลาด ทว่า ใน “อเมริกา”…กลับไม่หมู!!! “ข้อตกลง” ถูกปรับเปลี่ยนจนเวียนเฮด เอกสารเป็นตั้งๆ ถูกส่งพิจารณาครั้งแล้วครั้งเล่า กระทั่งปลายธันวาคม 1951 บทสรุปก็ลงเอยที่ “อิตาลี” ทำได้เพียงในฐานะผู้ “ส่งออก” ภายใต้บริษัท “นายห้าง” อย่าง SEARS, ROEBUCK AND CO, U.S.A. ที่รับ “นำเข้า” และผูกขาดการทำการตลาดอเมริกาแต่เพียงผู้เดียว โดยบริษัท “ขาย” มันภายใต้แบรนด์การค้าที่แข็งแกร่งในตลาดคือ ALLSTATE

4เสื้อเพลามีรูปทรงที่แตกต่างจากรถที่จำหน่ายในอิตาลี ไม่ต้องการฝาครอบใดๆ ทว่า ก็ยังคงการทำงานแบบเดียวกันคือ อาร์มแขนเดี่ยวคอยล์สปริงเด้งๆ หน่อย เพราะไม่มีตัวซัพไฮดรอลิก นัยว่าเพราะต้องการลดต้นทุนในการผลิตลง

3เครื่องยนต์ขนาดเล็ก อเนกประสงค์ ประหยัดเชื้อเพลิง 1 สูบ 2 จังหวะ 67 ซี.ซี. ระบายความร้อนด้วยพัดลม 4 แรงม้า ที่ 4,500 รอบ/นาที รหัส VA6T คือโมเดลของปี 1955

ด้วยความที่เป็นรถที่ผลิตขึ้นจากอิตาลี แบบในไลน์ที่อ้างอิงปี 1951 รุ่น 125U จึงถูกใช้เป็นใบเบิกทางก่อน (125U ผลิตจำหน่ายในอิตาลีปี 1953) อาจกล่าวได้ว่า ALLSTATE เกิดขึ้นจากจิตวิญญาณของ U” ก็คงจะไม่ผิดนัก และเพื่อให้ง่ายสำหรับโมเดลที่ผลิตจำหน่ายนอกไลน์ หมายเลขบอดี้ (Chassis Number) และหมายเลขเครื่องยนต์ (Engine Number) จึงต้องให้โค้ดกันใหม่ตามข้อตกลงสำหรับ “โมเดลส่งออก”

6เบาะเดี่ยว สปริงซับ 2 ขด กับตะแกรงหลัง A-Style เรียบๆ พาร์ทที่บ่งชี้ว่าเป็นรถปีลึก

5ลางพื้น 7 เส้น เป็นอะลูมิเนียมทั้งเส้น เพิ่มเส้นสันตามแนวเป็นกันลื่น และย้ำด้วยหมุดอะลูมิเนียมยึดแนบพื้น ข้อบ่งชี้ที่ต่างจากเวอร์ชันบ้านเกิดที่กันลื่นด้วยเส้นยาง

รูปร่างหน้าแบบที่เข้าใจตรงกันว่าเป็นโมเดล “แฮนด์แป๊บ” จึงบุกตลาดในอเมริกาภายใต้รุ่น Allstate Cruisair” เครื่องยนต์ขนาด 125 ซี.ซี. ขนาดกะทัดรัด อาสาขับเคลื่อนบอดี้เหล็กขึ้นรูปแบบชิ้นเดียวที่ได้รับออกมาอย่างสวยงามในทุกมุมมอง โลโก ALLSTATE ถูกติดตั้งแทนตำแหน่งโลโก P” เหนือสันจมูกเรียบๆ สำหรับโมเดลปี 1951 ก่อน 1952 มีการเพิ่มสันรองตรงตำแหน่งจมูกครอบแตรอีกชั้น โลโกอะลูมิเนียมดูทันสมัยได้รับการออกแบบเพิ่มเติมเข้าไปตรงตำแหน่งบังลม กระโปรงกลมข้างเครื่องถูกหันเว้าตรงบริเวณเหนือพัดลมระบายความร้อน (แบบเดียวกับ A.C.M.A.) นั้น แปลกตา และง่ายสำหรับการซ่อมบำรุง ชุดแฮนเดิ้ลที่แขวนกะโหลกไฟหน้าที่ขยับจาก “ล่าง” ขึ้น “บน” นั้น เป็นเอกลักษณ์ กะโหลกทรงกรวยย่อมๆ จับจีบสันกลาง เข้ากับชุดบังคับขับเคลื่อนผ่านสายเคเบิลที่เรียงร้อยในบอดี้ “จุดขาย” ที่ทำให้ ALLSTATE สามารถแข่งขันกับตลาดรถที่ผลิตขึ้นใช้เองของอเมริกาได้ ด้วยความที่เป็นรถ “ต้นทุนต่ำ” ที่ผลิตเพื่อการ “ใช้งาน” เหตุผลเรื่องความ “สวยงาม” นั้น จึงถูกมองเป็นประเด็นที่รองลงมา สีสันออกห้าง…ไม่ต้องเลือก!!! เพราะ ALLSTATE เน้นเฉพาะ “สีเขียวน้ำทะเล” (Seafoam Green) เกือบจะทุกโปรดักต์ตั้งแต่ปี 1952-1957 ทว่า ก็แอบมีการผลิตเพิ่มเติมอีกเพียง 2-3 สีในท้ายๆ สัญญา…ก่อน…ที่ปี 1966 SEARS, ROEBUCK AND CO,-U.S.A.…ก็…ล้มสัญญาแยกทางกันเดินกับ Piaggio ตลอดกาลBye, Take care.!?!?!

8ครอบตัว “P” ULMA สายเทพ สายโหดรู้กัน ทั้งราคา และความหายาก บิดมาถมให้มันสุดๆ ไปเลย มีคันเดียว จัดให้เต็มที่ กับโลโกดั้งเดิม ALLSTATE เครื่องหมายการค้าใหม่ ที่ SEARS, ROEBUCK AND CO,-U.S.A. นำเข้ามาจำหน่ายในอเมริกา แบรนด์นี้แข็งมาก เรียกว่าเอาแปะไปบนรถยี่ห้อไหนก็ขายได้       

7จัดของแต่งเสริมหล่อ กันชนหน้า ULMA ที่ช่วยให้รถสีเพลนๆ ดูหรูหราขึ้น

13เพลทตัวถัง โค้ดสำหรับเวอร์ชันส่งออกในนามของ ALLSTATE เรียกรุ่น 788.94490 ก็ได้ หรือเทียบเคียงคือปี 1955 (รุ่นเพิ่มเติมดูตาราง)

ALLSTATE Vespa (ภายใต้การจำหน่ายโดย)

SEARS, ROEBUCK AND CO,-U.S.A.

Year     Brand   Chassis No.                  Engine No.

1951                 Allstate 788.100             (VA1T)

1952                 Allstate 788.101             (VA2T)

1952                 Allstate 788.102             (VA3T)

1953                 Allstate 788.103             (VA4T)

1954                 Allstate 788.104             (VA5T)

1955                 Allstate 788.94490         (VA6T)

1956                 Allstate 788.94491         (VA7T)

1957                 Allstate 788.94492         (VA8T)

1958                 Allstate 788.94493         (VA9T)

1958-60            Allstate 788.94494         (VA10T)

1961-62            Allstate 788.94495         (VA11T)

1963                 Allstate 788.94330         (VA12T)

1964                 Allstate 788.94331         (VA13T)

1965                 Allstate 788.94332         (VA14T)

1966                 Allstate 788.94370         (VMA1T)

9ตะแกรงเหล็กซี่เล็ก ย้ำว่า “ของแท้” ตรงรุ่น ตรงปี ของ Allstate หายากสุดๆ แล้ว ลุคเชยๆ แต่ใส่แล้วดูเข้ากัน ไม่เยอะ แต่ดูดีมีรสนิยม

10ปลิงข้าง Vigano จัดให้ปู่หน่อย ดูมีสีสัน และอัปลุคให้ดูหรูหราขึ้นอีก

11กันล้มหลัง พร้อมแป้นเหยียบ นี่เน้นเฉพาะสาวๆ นะ เพราะต้องนั่งด้านข้าง เพราะมีที่เหยียบข้างเดียว ของแต่งแบรนด์อิตาลี PITOTTI

12ฝาครอบล้อหน้า/หลัง เรียบๆ แท้ในยุค แต่ถึงวันนี้ เซีนยังบอกแหล่งผู้ผลิตไม่ได้ ต้องศึกษากันต่อไป

1955 ALLSTATE Cruisair

รถ                                           ALLSTATE

รุ่น / ปี                                      125 / 1955 / 788.94490

เครื่องยนต์                              1 สูบ 2 จังหวะ 123.67 ซี.ซี. ระบายความร้อนด้วยพัดลม

4 แรงม้า ที่ 4,500 รอบ/นาที

ระบบไฟ                                  ไฟล์วีลแมกนีโต / ทองขาว / คอยล์ (6 โวลต์)

ระบบเกียร์                              3 เกียร์

ระบบคลัตช์                            เปียก (3 แผ่น)

ระบบขับเคลื่อน                      เฟือง

ระบบโช้คอัพ (หน้า / หลัง)     สวิงอาร์มแขนเดี่ยว (คอยล์สปริง) /

ขาเดี่ยวแกนไฮดรอลิก/ คอยล์สปริง

ระบบเบรก (หน้า /หลัง)         ดรัมเบรก

ล้อ / ยาง (หน้า / หลัง)           3.50 x 8 นิ้ว

อัตราส่วนเชื้อเพลิง / หล่อลื่น  5% (ผสมถัง)

อ้างอิง : VESPA STYLE IN MOTION / Roberto Segoni

: ON 2 WHEEL / Roland Brown

: www.scooterstation.com

 

STORY : SCOOTER MANIA! / PHOTO :  KWANG GPI. Photo Dep.

Related Articles

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Check Also
Close
Back to top button

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

Save