Scooterism

1951 Vespa 125 & 2009 Vespa GTV250ie

1951 Vespa 125 & 2009 Vespa GTV250ie  

 เก่าก็แสน…ดี ใหม่ก็เข้า…ที   

มีความ “ไม่ปรกติ” กับคอนเซปต์ในวาระพิเศษของนิตยสารมอเตอร์ไซค์ การวิตกของ  “สื่อสิ่งพิมพ์” ที่กำลังพิงฝา ผลพวงระบบประมวลผล “ดิจิทัล” กำลังกลืนวิถี “แอนะล็อก” จนแทบไร้แรงต้าน แรงผลักเล็กๆ ยังคงทำหน้าที่พยุงพัลวัน พร้อมผุดเป็นไอเดีย “เก่า-ชน-ใหม่” ให้ได้ต่อยอด ที่เปิดปมต้น ด้วยรถ “ตีโป่ง” ในตำนาน ที่กลับไปเดินย่ำรอยเท้าตามปู่…วัย…แซยิด…!?!?!   
“เก่าก็แสน…ดี ใหม่ก็เข้า…ที” แต่จะให้ ดี ต้องเลือก…ใคร…??      

1-11951 Vespa 125

1950 Vespa 125 รถ “ตะเกียงล่าง ฝาเว้า” โมเดลนี้ได้รับการพัฒนาต่อยอดจากรุ่น 98 ที่เคยโดดเด่นด้วยระบบสั่งงานแบบ “คันชัก-คันส่ง” ด้านนอก ทว่า ในโมเดลปี 1951 ถูกแทนที่ด้วย “สายเคเบิล” ที่เดินภายในบอดี้ มันดูแปลกใหม่และละเมียดตามากยิ่งขึ้น ทว่า เหนืออื่นใด มันช่วยให้การทำงานของชุดเกียร์นิ่มนวลขึ้น “โช้คอัพหน้า” เพิ่มกระบอกซับด้วยน้ำมันที่นุ่มนวลกว่าคอยล์สปริงดุ้นๆ ไฟท้ายแบบ “กลม” เราไม่มีโอกาสได้เห็นแล้ว เพราะทีมออกแบบแทนที่มันด้วย Siem ทรงเหลี่ยมผืนผ้าที่เฉี่ยวมากขึ้น

“ตะเกียงล่าง” (Fender Light) ยังคงไว้ แต่ปรับขยายเส้นผ่าศูนย์กลางให้ใหญ่ขึ้น และเพิ่มออปชั่นคิ้วเส้นเหนือกะโหลกไฟวัสดุอะลูมิเนียม สามารถปรับ-ตั้งได้ด้วยนอตที่ยึดติดกับบังโคลนหน้า (ยึดตายตัวในโมเดล 1948) คันสตาร์ทในโมเดลปี 1951 นั้น เลือกใช้วัสดุอะลูมิเนียม  แป้นเหยียบหุ้มด้วยยางกันลื่น ในขณะที่ท่อไอเสียย้ายตำแหน่งลงมาอยู่กึ่งกลางใต้บอดี้ และมีการปรับขยายความยาวของฐานล้อเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย รวมถึงทำการขยายขนาดของดุมหลังเป็น 126 มม. ที่ให้ผลเรื่องของระบบเบรกที่…ชะงัด…กว่า !?!?!

12009 Vespa GTV250ie

Vespa GTV250ie คือการหวนคืนสู่ประวัติศาสตร์ครั้งที่รุ่งเรืองที่สุดของ Vespa ด้วยการออกแบบที่คงความเป็นรถต้นแบบ โดดเด่นที่ไฟหน้าแบบรถสกู๊ตเตอร์รุ่นปี 1946 (Vespa 98) ที่ดีไซน์ติดตั้งไว้ที่บังโคลน (Fender Light) ตัวแทนภาพลักษณ์ของอดีตที่น่าพิสมัย ที่ถูกผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยของเครื่องยนต์ 244 ซี.ซี. แบบ 4 จังหวะ 4 วาล์ว ระบายความร้อนด้วยน้ำ กับระบบจ่ายเชื้อเพลิงด้วยหัวฉีด/จุดระเบิดแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำงานควบคู่กับระบบกรองไอเสียแบบ 3 ทาง พร้อมติดตั้งอุปกรณ์เสริมลุคที่เข้ากันด้วย ฟลาย สกรีนทรงสั้น มาตรวัดความเร็วแบบ “แอนะล็อก” ทรงกลมแนววินเทจสุดคลาสสิก ตัวถังแผ่นเหล็กขึ้นรูป Monocoque ด้วย CAD Technology ช่วยให้หน้าตาของ GTV ออกแบบมาได้อย่างเซ็กซี่ ซึ่งถือเป็นส่วนผสมระหว่างความเป็น “โมเดิร์น” และ “คลาสสิก” ได้อย่างลงตัว ล้อหน้า/หลัง ขนาด 12 นิ้ว บนระบบช่วงล่างหน้าแบบแขนเดี่ยวคอยล์สปริงไฮดรอลิกที่ทำงานอย่างอิสระ ในขณะที่โช้คอัพหลังแบบคู่ ปรับตั้งค่าน้ำหนักกดบรรทุกได้ ท่อไอเสียที่ปรับทางเดินภายในใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นั่นยังรวมถึงเบาะนั่งไล่ระดับ และตะแกรงหลังสไตล์ดั้งเดิม นี่คือ “เทรนด์เซ็ตติ้ง” ที่ดึงเอาวิถีของรถ “ไฟล่าง” ในตำนานกลับมาได้มากที่สุดรุ่นหนึ่งของ New Vespa ที่ต้อง…ชื่นชม…!?!?!

2-1

2บาร์ท่อเหล็ก ปีกนก บ้านเราเรียก “แฮนด์แป๊ป” 6 ทศวรรษกับงานพัฒนา ยังคงได้อารมณ์ของรถในแบบปีลึก แปลกต่างกันไปบ้างคือ จับชุดเรือนไมล์ทรงคลาสสิกรวมไว้ที่กลางบาร์

4

4-1“ตะเกียงล่าง” (Fender Light) เอกลักษณ์ที่ถนัดตา โสตแรกที่บ่ง DNA. ของงานออกแบบในแนวทางอนุรักษ์นิยม เด่น สะดุดตา นิยามที่มาพร้อมซัพหน้าแบบแขนเดี่ยวดั้งเดิม ที่เพิ่มเทคโนโลยีซัพแรง-เบรก ของยุคใหม่ๆ เข้าไป

5-1

5จากเครื่องยนต์อเนกประสงค์แบบ 2 จังหวะ รุ่นที่ 2 ขนาด 125 ซี.ซี. ขับหลังด้วยเฟือง…60 ปีผ่านไป งานรีโนเวทถึงเครื่องยนต์เป็น “สายพาน” 4 จังหวะ 4 วาล์ว ขนาด 250 ซี.ซี. คือความต่างที่เด่นชัดที่สุดในด้านงานวิศวกรรมเครื่องกล

interview-1-1

อาจณรงค์ รัตนเมธานนท์ “อาลิ้ม ปีเก่า”

“ผมว่า GTV คือโมเดลที่ชัดเจนที่สุดในแบบรถ “ย้อนยุค” ที่ยังคงเอาเอกลักษณ์จากรถรุ่นเก่ามาใช้ได้อย่างลงตัว ไฟล่างบนบังโคลนหน้า แฮนด์แป๊ป ตรงนี้ยังให้ความรู้สึกเหมือนว่าเป็นรถ “ปีลึก” เส้นสายยังสวย แต่ขนาดของรถนั้นดูใหญ่ขึ้นมาก และที่สำคัญเครื่องยนต์คือความต่างที่เด่นชัดที่สุด ปีใหม่ ดี-แรง-ชัวร์ กว่าแน่นอน ซึ่งตรงนี้มันคือเรื่องวิวัฒนาการ ผมพอใจและชอบที่จะดูเรื่องงานออกแบบของหน้าตาภาพรวมของรถมากกว่า” 

interview-1

ไอศูรย์ ยุติธรรมรักษ์ “หนุ่ย เอเจฯ”

     “นี่คือความพิถีพิถันของวิศวกรรมสมัยโบราณ ละเมียด และเต็มไปด้วยเรื่องราวที่น่าจดจำในทุกกระเบียดนิ้ว เราเขียนประวัติศาสตร์ไม่ได้ แต่หยิบจับเอามาสร้างสรรค์ ประยุกต์ใหม่ได้ ถึง…ไม่เหมือน ทว่า ยังคงเก็บเอากลิ่นอายนั้นกลับมาพอได้หายคิดถึง โมเดลปี 1951 ถึงวันนี้รวม 6 ทศวรรษ ไม่ต้อง…วิ่ง!!! แค่จอดยังสวย นี่กระมังที่เขาเรียก “รสนิยม” จุดตายที่บ่งพันธุ์ว่าคนที่ครอบครองนั้นไม่สามัญ”

 

Related Articles

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Check Also
Close
Back to top button

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

Save