Ducati “wide case” Single
Ducati “wide case” Single
“เฟรมกว้าง” นวัตกรรม “รถสนาม” สู่ “รถถนน”
2 ขวบ…พอดิบ พอดี!!! บนวัฏจักรที่เกิดเป็นดิว “ยกเข่ง” อนุกรมรถเฟรมคู่ที่ทีมงานนั้นดิ่งตรงถึง “สำนักบิ๊ว” เรทติ้งบน คนสายรถหมอบในนามของ Vintage Ducati ย่านสมุทรสาคร เพราะเป็นทายาทรถแข่ง หลากเครื่องยนต์ “เฟืองบิด” (Bevel gear) คืออานิสงส์ “รถถนน” ที่หนนี้ “TJ-Garage” ยังคงเป็นหมายเซ็นเตอร์ในการระดม…สรรพกำลัง !?!?!
Ducati wide case : “เฟรมกว้าง” คือโครงสร้างตัวถังแบบใหม่ไม่มีเสากลาง มีเฉพาะเฟรมท่อเหล็กตั้งด้านหน้า ที่ยึดเครื่องยนต์ด้วยแผ่นเพลทหน้าเครื่อง 2 ชิ้น กับเฟรมท่อเหล็กคู่ด้านท้าย ที่ออกแบบให้อุ้มเครื่องยนต์จากด้านข้าง ห้องเครื่องยนต์ที่ถูกขยับเข้าใต้เฟรม ช่วยให้ตัวรถได้สมดุลมากยิ่งขึ้น
“เฟรมแคบ” (Narrow case) ถูกสร้างขึ้นเป็นเวอร์ชันสุดท้ายที่ “โบโลญญา” ในนามของรุ่น 350 Sebring ซึ่งได้มีการอัพเกรดปริมาตรกระบอกสูบขึ้นเป็น 350 ซี.ซี. จากรุ่น 250 Monza ที่วางจำหน่ายอยู่…1967 เทคโนโลยีจากสนามแข่งขันถูกนำมาพัฒนาใช้ “เฟรมกว้าง” (Wide case) ที่ “ไม่มีเสากลาง” คืออานิสงส์จากสนามแข่งขันและคว้าชัยมาการันตี ทั้ง 250/350 Sport Corsa Desmo (SCD) ที่เพิ่มความได้เปรียบด้วยข้อเหวี่ยงใหม่ ทว่า เฟรมแบบ Wide case กลับไปปรากฏขึ้นในรถรุ่น 350 Scramble เป็นเวอร์ชันแรก ก่อนในปีถัดมาจะปรับลด ซี.ซี. ลงมาเป็นรุ่น 250 Scramble เพราะรถคลาสนี้ได้รับความนิยมอย่างมากทั้งในตลาดยุโรปและอเมริกา โดยในปี 1968 ท่อไอเสียมีการปรับรูปทรงเป็นแบบตัดเฉียง (Angle-cut) และในปี 1970 เปิดไลน์รถใหญ่ 450 Scramble ที่มาพร้อมคาร์บูเรเตอร์ Dell’Orto SS แทนรุ่น VHB และ 1973 รถเวอร์ชัน Scramble ทุกรุ่น ติดตั้งล้ออะลูมิเนียมยกขอบ Borrani เป็นพาร์ทมาตรฐาน
เฟรม wide case เหมือนกัน ทว่า การขยับตำแหน่งของจุดยึดหัวโช้คไม่เหมือนกัน “รุ่นสปอร์ต” วางเพลทตรงมุมพอดี ขณะที่รุ่น “Off road” นั้นขยับล้ำหน้ามาหน่อย เพื่อองศาของโช้คหลังที่เทมากขึ้น และไม่สามารถใช้กระเป๋าข้างทรงนี้ได้
Ducati wide case : “เฟรมกว้าง” คือโครงสร้างตัวถังแบบใหม่ไม่มีเสากลาง มีเฉพาะเฟรมท่อเหล็กตั้งด้านหน้า ที่ยึดเครื่องยนต์ด้วยแผ่นเพลทหน้าเครื่อง 2 ชิ้น กับเฟรมท่อเหล็กคู่ด้านท้าย ที่ออกแบบให้อุ้มเครื่องยนต์จากด้านข้าง ห้องเครื่องยนต์ที่ถูกขยับเข้าใต้เฟรม ช่วยให้ตัวรถได้สมดุลมากยิ่งขึ้น ซึ่ง Ducati ก็เลือกสรรมันเข้ากับโช้คอัพหน้าเทเลสโคปิกขนาด 35 มม. ของ Marzocchi กับโช้คหลังแบบคู่ปรับได้ 3 ฟังก์ชัน ของ Marzocchi อีกเช่นกัน
รูปทรงของถังน้ำมันแบบสปอร์ต เพราะมี 2 ฝั่ง บ้านเราจึงเรียกรุ่น “2 ฝา” ศิลปะที่มาพร้อมเทคโนโลยีที่การันตีความ “จัดจ้าน”
ภาพจำของสปอร์ต “สายหมอบ” แฮนด์จับโช้ค วางไมล์ที่หัวโช้คด้านขวา และมีชุดกลไกปรับฝืด (กันสะบัดในยุค) ที่กึ่งกลางของแกนคอ
1968 รถที่จำหน่ายในอเมริกายังคงเป็นรุ่น “เฟรมแคบ” (Narrow case) สำหรับโมเดล 250 Diana Mark 3 ทว่า ในฝั่ง “ยุโรป” รถ Wide case ถูกผลิตจำหน่ายเรียบร้อยแล้ว โดยมีให้เลือกทั้งบล็อกเครื่องยนต์ขนาด 250/350 Mark 3 โดยเครื่องยนต์ยังคงเป็นแบบเดียวกับรุ่น Narrow case ภาพจำของ “รถถนน” ทั้ง 250/350 Mark 3 มาพร้อมถังยาว ที่มีฝาถังน้ำมัน 2 ฝั่ง (บ้านเราเรียกรุ่น 2 ฝา) แต่ในปีถัดมาก็ได้ปรับลดลงเหลือ “ฝาเดียว” ในรุ่นพิเศษที่เรียกว่า Mark 3 Desmo และใช้รูปแบบการผลิตนี้มาจนถึงปี 1973…ก่อน…ทำการปรับหน้าตาใหม่อีกครั้ง ด้วยถังน้ำมันรูปทรงใหม่ เบาะ รวมถึงชิ้นส่วนของฝาด้านข้าง แต่ยังคงใช้โช้คอัพหน้า/หลัง ของ Marzocchi และล้อของ Borrani….ในปี 1974 รถรุ่น 239 Mark 3 ถูกส่งขายในประเทศ “ฝรั่งเศส” ที่ต้องเลือกความจุขนาดนี้ก็เพราะเรื่องกำแพงภาษี นำเข้า ที่รถ 239 ซี.ซี. นั้นถูกกว่ากว่า 240 ซี.ซี. อยู่…มากโข..!?!?!
หลากอารมร์ของเวอร์ชัน “wide case” จะคู่ 250 Mark 3 หรือ 350 Mark 3 เวอร์ชัน “สปอร์ต” และ “ออฟโรด” 350 Jupiter ก็เท่ได้ ส่วนพี่ใหญ่ในแบบรถ Super Sport บล็อกเครื่องยนต์ 450 Desmo ฟูลแฟริ่ง ที่จัดชุดแต่งที่ดีที่สุดของยุคมาใส่