ROCKERS
ธรรมเนียมสุดห่าม “แว๊นซ์”…ก้องโลก!!!
BIKER STORY กริยาสแลงสัมปทานใหม่ที่อุบัติขึ้นภายใต้กรอบของ “วัฒนธรรมไบค์เกอร์” ที่ “เป็นปม” ชวนพิศมัย จากตำนานวิถี…สู่…เรทโทรเทรน ศัพน์แสงที่บัญญัติจนไพเราะจนเสนาะหู ทว่า เพื่อให้ได้อรรถรสเต็มอารมณ์ เราขอเรียกมันดิบๆ ด้วนๆ เป็นภาษาพ่อขุนรามฯ ว่า…ขี่อย่าง…กู (รู) ก็แล้วกัน !?!?!
แจ็คเก็ตดำ กางเกงยีส์ บูทยาว หมวกไข่เข็มพร้อมก็อกเกิล บนอาน Café Racer หลากแบรนด์ หน้าผับชื่อ Busy Bee and Johnson ชาย/ หญิง วัยที่พลังกำลังพลุ้งพล่าน
กับการรวมตัวในคลับดังในอดีตนาม Ace Café
Rokers / Leather Boy / Ton up Boys : ศัพท์แสงของยุคที่เรียกขานก๊วนมอเตอร์ไซค์ขาโจ๋ของอังกฤษที่ซ่าส์ยัน DNA. นี้อุบัติขึ้นระหว่างปี 1950 ด้วยภาพลักษณ์ที่เจนตากับเครื่องแต่งกายแจ็คเก็ตหนังสีดำ กางเกงยีนส์เซอๆ และรองเท้าบูทยาว บนพาหนะ 2 ล้อ (Cafe Racer) เสียงแสบหูแบรนด์ชั้นนำของอังกฤษ ขนาบด้วยเสียงเสนาะจากดนตรี-แฟร์ชั่น ตะวันตกที่แผดเสียงแสบในลำคอ แนว Rock’n Roll ที่สั่นครอนโสตประสาท นี่คือรูปแบบการแสวงหาความสำราญ หลังสภาพวะเศรษฐกิจของประเทศอังกฤษที่กำลังฝืดเคือง “รถยนต์” ที่ต้นทุนในการผลิตที่สูง ราคาแพง จนยากจะจับจ่ายมาใช้สอย แนวทางซิ่งด้วย 2 ล้อเลยถูกเรียกเข้ามาแทนที่ และนี่ถือเป็นรูปแบบการเดินทางสัญจรที่สะดวกและเป็นไปได้มากกว่า สำหรับทุกกลุ่มชนในสังคมชนชั้นกลาง โดยเฉพาะหนุ่มสาววัยทำงานที่สิทธิเสรีภาพแห่งปุบฝาชนกำลังเบ่งบาย…สุดขีด!!!
สะพานในเมืองเซลซี แหล่งพบประ สังสรรค์
อีกแห่งที่ชาว Rockers นั้นยึดครองBill Shergold and Graham Hullet ผู้นำที่ริเริ่มก่อตั้ง 59 Club
Ton up Boys : ศัพท์สแลงที่เกิดในยุคปี ’50 ที่ใช้เรียกเฉพาะเจาะจง “เด็กแว๊นซ์” ที่ก่อความรำคาญชาวบ้านร้านรวง และผู้คนที่พบเห็น เพราะสาวกเหล่านั้นจะขับขี่มอเตอร์ด้วยความเร็วสูง (มากกว่า 100 ไมล์/ ชม. หรือ 160 กม./ ชม.) แถมรถที่ใช้ก็เป็นการปรับจูนเครื่องยนต์ ท่อไอเสีย ที่เน้นว่ามันต้องดัง และต้องแสบแก้วหูไปถึงกระดูกหอยโข่งของโพรงหูชั้นใน พฤติกรรมเหล่านี้ถูกมองในแง่ลบ และถืองานหนักที่เจ้าหน้าที่ตำรวจต้อง…ปวดเศียร!!! เพราะยิ่งจับ ก็ยิ่งเยอะ และเพิ่มเป็นเท่าทีวีในทุกๆ วัน
ภาพลักษณ์ของการใช้ชีวิตในแบบ Rockers กระแสหนังที่ทำให้ความคลั่งทวีดีกรี
Café Racer : พาหนะวินเทจที่ได้รับความนิยมสูงสุดจนถูกบัญญัติเป็นรูปแบบของการปรับแต่งรถจักรยานยนต์ของยุคปี 1950…จาก…แบรนด์เฉพาะที่เรียกว่า “Triton” (ไทรตัน/ Triumph+Norton) ที่โก๋อังกฤษปลงใจที่จะใช้เครื่องยนต์แบบ 2 สูบของ Triumph ยัดเข้ากับโครงสร้างเฟรมแบบแปลคู่ (Featherbes Frame) ของ Norton และเลือกใช้เบาะแบบตอนเดียว ตูดมด บาร์ทรงหมอบ (แฮนด์จับโช้ค) ถังน้ำมันขนาดใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นถังทรงยาวอะลูมิเนียมปัดเงา ท่อไอเสียปลายยก และขยับพักเท้ามาไว้ทางด้ายหลัง เรียกว่าหมอบขี่กันประมาณนั้น ซึ่งแน่นอนว่ามันเล็งผลเรื่องของสมรรถนะ “ความร็ว” มากกว่าการขับขี่ที่สบาย ทว่า ก็ไม่ใช่กรอบที่เคร่งครัดมากนัก ยังมีรถแบรนด์เด่นๆ ของอังกฤษอีกมากมายที่ถูกหยิบมาตกแต่งในรูปแบบรถแข่งนี้ อาทิ BSA, Royal Enfield, AJS และ Matchless
รูปแบบหมวกแนวคลาสสิค ที่คอ Café Racer ยังคงนิยมไม่เสื่อมคลาย
Rockers หยิบจับเอารถสต๊อกมาปรับแต่งสไตล์ Café Racer ดาดดื่นจนตื่นตา ถ้าขี่อย่างเดียวก็คงไม่มีอะไรหน้าจดจำ ทว่า Rockers สร้างสรรค์มันเป็นกิจกรรมที่แสดงออกถึงความเป็นแมนทั้งแท่ง เกเร ข่มขู่ผู้พบเห็นแบบอันธพาน แถมมีเรื่องกันประจำ 3 เวลาหลังอาหาร กับกลุ่มชนคนโมเดิร์นนิส (Mod’s ซึ่งเราจะกล่าวถึงในโอกาสต่อไป) ที่สถานปนาตัวเองว่ามีภาพลักษณ์ที่นุ่มนวล เป็นสุภาพบุรุษมากกว่า และเพื่อประกาศกร้าวให้รู้ว่า “โก๋มาแล้ว…ใครไม่เกี่ยวก็ถอยไป” เครื่องหมายการันตีความซ่าส์ (Symbolic) เลยถูกประทับไว้ที่ด้านหลังของแจคเก็ตหนังสีดำขลับกับเข็มกลัดเล็กใหญ่อีกสักกระบุงที่ด้านหน้า ทว่า ร้อยทั้งร้อย ก็ไม่หนีพ้นไอ้แนวหัวกระโหลก หรือ กระดูกไขว้เทือกนั้น และยึดสถานที่รวมตัวเสวนาภาษาโจ๋ๆ ณ ACE Café, สะพาน Chelsea, 59 Club, Ace of spedes และBusy Bee and Johnson
จากอังกฤษ…สู่…อเมริกา “แฟร์ชั่นร็อกเกอร์” ถือเป็นวัฒนะธรรมที่จำเป็น “สำหรับสิงห์มอเตอร์ไซค์” แจ็คเก็ตหนังสีดำที่ประดับด้วยหมุดเหล็ก เข็มกลัด กระทั่ง ตราสินค้าแผ่นเล็กๆ หลากชนิดที่ใช้กับมอเตอร์ไซค์ คือภาพลักษณ์ถนัด ซึ่งปรกติจะไม่สวมหมวกกันน็อคให้ผมเสียทรง ทว่า บางรายที่ใส่ก็ยังเลือกหมวกกันน็อกทรงคลาสสิคแบบเปิดหน้า (หมวกไข่เค็ม) กับแว่นก็อกเกิล ห้อยผ้าพันคอไหมที่คอยปกปิดเศษฝุ่นละอองที่จะมาโดนหน้า กางเกงก็ต้องเป็นยีนส์Levi’s หรือ Wrangler เสื้อหนังต้อง Lewis Leather หรือ Brothel creepers แน่นอนว่าทรงผมเน๊ยบๆ ต้องมีจอนยาว และเรียบแปร้ เงาสลวยสวยเก๋ด้วยครีมจัดแต่งยี่ห้อBrylcreem ที่เปิดหน้าฝากแล้วม้วนกลับไปด้านหลัง (อืม..แบบเดียวกะ Elvis Presley) แท้ที่จริงชื่อทรงอย่างเป็นทางการคือ Pompadour hairstyle
ภาพลักษณ์ที่ดูดิบ เถื่อน สกปรก ร็อคเกอร์จึงเป็นวัฒณธรรมกลุ่มชนที่ถูกตัดออกจากสังคม คลับ บาร์ หรือ ลานเต้นรำ จึงเป็นที่สิงสถิตของพวกเขา มันนำพาซึ่งเรื่องราวที่เต็มไปด้วยความรุนแรง อาชญากรรม และยาเสพติด (แอมเฟาตามีน, กัญชา, เฮโรอีน) ซึ่งต่อมาได้รับการต่อว่าต่อจากจากก๊วนฝั่งอังกฤษอยู่ไม่น้อย ซึ่งข้อกำหนดของทางฝั่งอังกฤษคือ คุณจะ ซ่าส์ แก่น เสี้ยว บ่าบิ่น ไม่เคยว่า แต่ต้อง “ห้าม” ใช้ยา (เสพติด) โดย…เด็ดขาด!!! ทว่า ร็อคเกอร์เอมริกากลับไม่ยี่หระ วัฒนะธรรมใหม่แพร่ขยายเหมือนโรคระบาด…และ…ยังคงทิ้งเชื้อไข้ถึงเจเนเรชั่นที่ X แห่งโลกเสรีใบนี้ต่อไป…Rockers Never Die…!?!?!
ACE Café London กลับมาเปิดใหม่อีกครั้งในปี 1997 แต่ช่วงที่รุ่งโรจน์และเสมือนตำนานของคลับไบค์เกอร์นั้นอยู่ในยุคปี 1938-1969 ปัจจบันยังมีการจัดงานระลึกถึง Rockers อยู่เนืองๆ
Ace Café London : คลับชื่อดังของอังกฤษที่ก่อนตั้งในปี 1938 แต่มีการปรับปรุงอีกครั้งในปี 1949 หลังจากเสียหายจากระเบิดช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของลอนดอน ซึ่งก่อตั้งภายใต้ข้อตกลงที่ทำร่วมกับภาครัฐที่ดูแลเรื่องการจราจร จากเหตุผลที่ว่า คลับแห่งนี้เปิดตลออด 24 ชั่วโมง และมันได้รับความนิยมอย่างมากจากแก๊งค์มอเตอร์ไซค์มากหน้า ที่เรียกตัวเองว่า “ขาโจ๋” (Ton Up Boy/ and girls) และแผงมาเป็น Rokers ในช่วงก้าวเข้าสู่ยุคปี’ 60 …Ace Café ถือเป็นแหล่งรวบรวมวัยรุ่นชาย-หญิง มากหน้า ถนนหน้าร้านมีการจราจรที่คับคั่ง เพราะเกิดขึ้นในยุคที่อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ของอังกฤษเบ่งบานสุดขีด อีกทั้งกระแสร็อคเอนโรลจากฝั่งอเมริกาก็กำลังฮิต รวมถึงมีศิลปินชื่อดัง ผลัดเปลี่ยนมาแสดงชนิดไม่ซ้ำหน้า ทว่า มีช่วงของความรุ่นโรจน์อยู่กระทั่งปี 1969 ก่อนปิดตัวลงอย่างเป็นทางการ และกลับมาเปิดขึ้นใหม่อีกครั้งในปี 1997
ton Mission เดิมทีคือโบสถ์เก่าที่เป็นแหล่งพบปะสังสรรค์ชาว “ร็อคเกอร์” ในนามของ 59 Club
59 Club : บ้างก็เรียกขานว่า “The Fifty Nine Club” บ้างก็เรียกด้วนๆว่า “The 9” กลุ่มก๊วนรถจักรยานยนต์ที่มีสมาชิกทั่วโลกมากกว่า 30,000 คน ที่ริเริ่มก่อร่างมาตั้งแต่ปี 1959 ณ โบสก์แห่งหนึ่งทางตะวันตกของอังกฤษ จากการรวมของกลุ่มหนุ่มสาวที่เดิมทีมาเสวนาแลกเปลี่ยนสาระเรื่องราวเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ 2 สู่ สถานที่พบประสังสรรค์ของก๊วนมอเตอรืไซค์ที่เรียกตัวเองว่า “Rockers” ด้วยฟอร์มการแต่งกายที่เป็นแบบแผน มีเหรียณตรา และเครื่องหมายบ่งสังกัด “club 59” ถือเป็นคลับที่ใหญ่และมีภาพลักษณ์ที่ชัดเจนที่สุดของยุค ’60