Vintage Motorcycle Helmet (3)
ชีวิตปลอดภัย ใส่ “กระดอง” หุ้ม “กบาล” (3)
ภาคจบ…“หมวกกันน็อกวินเทจ” ขอขยับความไปตามท้องเรื่อง…สู่…ยุคปลาย ที่หมวกกันน็อกจากฝั่งอเมริกายังคงครองตลาด…หลัง……เจท (Jet) คือ พิมพ์เขียวที่…พิศมัย…!?!?!…ถึง…ผลผลิตล่าสุดจากแนวความคิดจาก “นาซ่า” ก้าวย่างเล็กๆ ของมนุษญ์อวกาศ ใครจะเชื่อ มันมีอิทธิพลต่อยอด…สู่…ทุกชีวิตท้องถนน แถมสาย “โก๋ ’เมกา” ยังจับเอามาเป็นเทรน ใส่แล้วเท่ห์แบบดารา วันนี้วลีสรุปที่เราจั่วหัว…จะ…ถูกขายความ…!?!?!
Bell “Star” งานปฏิวัติหน้าตาของหมวกกันน็อกอีกครั้ง “หมวกรุ่นเต็มใบ” เปิดตัวครั้งแรกในปี 1967
1967-1980 Space-Age Helmet Era :
หลังจากที่ “นีล อาร์มสตอง” เหยียบดวงจันทร์ในวันที่ 20 กรกฏาคม ปี 1969 กับประโยคที่ว่า “ก้าวเล็กของคน แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ของมวลมนุษย์ชาติ” ถูกหยิบจับมาเป็นอิทธิพลกับเรื่องราวของการสร้างหมวกกันน็อกอย่างตั้งใจ จากการแข่งขันที่ชิงความเป็นสุดยอดทางด้านอวกาศระหว่าง “สหรัฐอเมริกา” และ “สหภาพโซเวียต” ตั้งแต่กลางปี 1950 หมวกนักบินอวกาศคือเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยที่สุดในยุค และแน่นอนว่านี่คือ…แนวทางการสร้างสรรค์และค้นคว้านี่ถูกหยิบยืม กระทั่งนำมาในรูปทรงของหมวกกันน็อกรุ่นใหม่ ที่กำลังผลิตออกสู่ตลาด เทคโนโลยีใหม่ๆ ถูกทดสอบและปรับใช้
“Star” รุ่นที่ติดตั้งชิวด์หน้าที่สามารถปิด-เปิดได้ ได้รับความนิยมสูงสุดในวงการแข่งขันทั้ง 2/ 4 ล้อ
และแน่นอนว่าผ่านการรับรองจาก Snell แล้ว“Star 120” รุ่นพิเศษ ที่เขียนชื่อนักแข่งดังๆ ลงบนหมวก
ออกวางตลาดในปี 1973
9. Bell “Moto3” หมวกที่เพิ่มออปชั่นด้วยช่องโพรงให้อากาศไหลผ่าน และมีตะแกรงลวดป้องกันอีกชั้น ในกล่องมาพร้อมแก็ปหน้ารูปทรงเหลี่ยม ยึดด้วยน็อต 5 จุด Bell “Moto4” วิวัฒนาการที่ถูกปรับ โดยเน้นเรื่องของแอร์โร่ไดรามิกมากขึ้น ออกจำหน่ายในปี 1983
Simson แบรนด์ที่มีเทคโนโลยีสูงสุดในยุคปี 1979 หมวก “Model 32” จึงได้รับความนิยมสูงสุดในวงการ NASCAR ซึ่งราคาท็อปสุดในปี 1983 ดีดไปถึง 164 $ ซึ่งแพงมาก หากเทียบเคียงกับราคาตลาดของคู่แข่งแบรนด์ต่างๆ ที่เพียง 95.95 $ หมวกที่เกิดขึ้นตามแบบพิมพ์ของ Moto3 ทว่า ทั้ง Shoie/ Arai ทำต้นทุนได้ถูกกว่า นี่คือหมวกยุ่นที่เข้ามาสร้างจุดเปลี่ยนให้ Bell
จน…ระส่ำ!!!
Bell ในฐานะเจ้าของตลาดเดิมมักเดินข้ามผ่านคู่แข่ง 1 ก้าวเสมอ 1962 หมวกกันน็อกแบบ “เต็มใบ” (Full-face) ถูกผลิตขึ้นเป็นครั้งแรก หมวกรุ่นต้นแบบในนามของ “Star” ถูกทดสอบและวิเคราะห์ ทว่า กว่าจะสามารถออกเป็นผลิตภัณฑ์ได้จริงในปี 1967 และถือเป็นการ “ปฏิวัติ” หนที่ 2 หลังจากที่หมวกรุ่น “JET” นั้นทะลวงไปก่อนหน้า…1969 ภาพยนตร์ดังอย่าง “Easy Rider” สร้างแรงบันดาลใจใหม่สำหรับนักขับขี่ (2 ปีก่อนที่ Ed “Big Daddy” Roth จะเปิดตัวหนังสือ Chopper Magazine) โดยเฉพาะเพื่อนร่วมทางอย่าง Peter Fonda ที่คร่อมช็อปเปอร์และสวมหมวกกันน็อกของ Bell ที่ตกแต่งพิเศษด้วย “สีธงชาติอเมริกัน” (Stars & Stripes) โลกของแฟร์ชั่นหมวกกันน็อคก็เปลี่ยนไป สีขาว ดำ เงิน เพลนๆ ถูกปฏิเสธ มันต้องสีสันสดใสและเพิ่มลูกเล่นด้วยสีเกล็ดที่ฉูดฉาด (Fancy-Metalflake) เชื่อหรือใหม่ในระหว่างนี้ หมวกสีสันแปลกๆ ลวดลายซักเฉวียน สายฟ้า เปลวไฟ คือแรงบันดาลใจจนเกิดเป็นกลุ่มธุรกิจผลิตหมวกกันน็อกที่มากมาย ในยุคปี 1960-1970 เฉพาะในอเมริกาเอง มีผู้ประกอบการประเภทนี้มากถึง 55 บริษัท
Maxon หมวกแบรนด์อเมริกันอีกตัวที่ เกิด และ ตาย
ภายใต้ต้นแบบการผลิตจาก Bell Moto3หมวกหน้าตาประหลาดคือทางเลือกในท้องตลาด
ในภาพคือหมวกแบบ “Jet” ที่เพิ่มด้วยการ์ดคาง และใช่สวยในแบบหมวกโมโตครอสได้ ไม่ผิดกติกา
แก๊บหมวกในแบบต่างๆ หยิบจับ แต่งเติม
ในแบบคัสตอม ชอบแบบไหน เลือกแบบนั้นBuco แบบฟลูเฟส ทำในแมกซีโกในปี 1976
และเพิ่มออปชั่นด้วยสีทองเกร็ด ชิวด์บับเบิล ออกจำหน่ายในปีถัดมา
1970 เทรนหมวกกันน็อกแปลเปลี่ยนไปตามกระแสโลกเซลลูลอยด์ วัฒนะธรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ถูกซึมซับจากภาพยนต์ ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือเรื่อง “On Any Sunday” (กำกับโดย Bruce Brown ในปี 1971) ภาพยนตร์ที่พูดถึงเส้นทางการเป็นนักแข่งสแกมเบิลมือสมัครจากสนามท้องถิ่นที่ทะเยอทะยาน อยากเป็นแชมป์ หมวกกันน็อกแบบรูปทรงแบบ “Scramble” และ “Motocross” รูปทรงแบบเก่าได้รับความสนใจขึ้นมาอีกครั้ง Bell ไม่รอท่า…ส่ง…“MotoStar” เรียกเงินในกระเป๋า และแน่นอนว่าไม่ลืมใส่เทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยใหม่ๆ เข้าไป ซึ่งต่อยอดและได้รับความนิยมรวมไปถึงนักกีฬาประเภท X-Game อีกด้วย
“หมวกกันน็อก” ในอเมริกาถูกแชร์การตลาดถูกแชร์ให้ 55 บริษัท…ทว่า…กลับเริ่มถูกหมวกกันน็อกจากญี่ปุ่นที่กำลังแรงมาตีตลาด รุ่น “DS” จาก Shoei รวมถึง “H-A” จาก Arai คือคู่แข่งทางการค้าที่ทำเอา Bell นั้น…ระส่ำ!!! และสุดท้ายก็เขี่ย Bell ตกสังเวียน ทั้ง Shoei/ Arai เกี่ยวก้อยจูงกันขึ้นธรรมเนียบแบรนด์หมวกกันน็อกรุ่นขายดีของยุคปี 1980 ปัจจุบัน หมวกกันน็อกที่ผลิตในอเมริกาเหลือแบรนด์ที่แข็งแกร่งอย่าง Simson เท่านั้น โชค ไม่ดีนัก หมวกกันน็อกในแบรนด์ของ Bell หลักผ่านมรสุมก็ถูกโยกมาฐานการผลิตที่อิตาลี ในขณะที่แบรนด์ผู้ผลิตอื่นๆ ข้างต้นที่เคยเบ่งบานเป็นดอกเห็ด…ต้องล่มสลาย!!!
“Star & Spripes” หมวกลวดลายที่นิยมตลอดกาล แรงบันดาลใจจาก Peter Fonda ตามภาพยนตร์เรื่อง “Easy Rider” 23. ไม่เฉพาะรถจักรยานยนต์ X-100 คือหมวกกันน็อกที่ผลิตจาก AMF H-D ยุคที่ฮาร์เล่ย์ เดวิดสัน ถูกซื้อกิจการโดยกลุ่มทุนโรงงานเหล็ก
Bell Moto3 “Hondaline” รุ่นลิมิเต็ด ออกจำหน่าย ทั้งใช้งานและเพื่อสะสมในปี 1980 Kawasaki ออกหมวก “กากเพชร” สำหรับลูกค้า เพื่อใช้ขับขี่รถจักรยานยนต์และเลื่อนหิมะ ที่ออกมาในปี 1970 ส่วนใบสีเขียว
“รุ่นพิเศษของคาวาฯ” ที่ผลิตโดย Bell ในปี 1980