Classic Bike

1913 Royal-Enfield model 180

1913 Royal-Enfield model 180

“ปู่เก๋า 104 ปี” นวัตกรรมทะลุมิติ

1

ลึกสุดใจต้อง…คันนี้เลย!!! “สายข่าว” ส่งภาพในอินบ็อกซ์มายั่วโสต ไม่ต้องคิดมาก แซงคิวให้ตามประสา “เด็ดอะไรเบอร์นี้” ได้บัตรทางด่วนแซงทุกคิวรอ…เอาน่า…วันนี้ขอ “ปู่เก๋า” เอามาโพนทะนาก่อน รถลึกระดับมิวเซี่ยม “ศตวรรษ” คืออายุ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ หนนี้ขนมาจอดให้ทีมงานได้เจาะ ณ ดงรถเก๋า…ที่ผม…(โคตร) จะคุ้นเคยเลย…!?!?!  

2

2.3

2.1

2.2เครื่องยนต์ SV แบบ V-Twin ขนาด 770 ซี.ซี. 6 แรงม้า บล็อกเครื่องจากผู้ผลิต JAP โครงสร้างการทำงานแบบโบราณ เดินแป๊บน้ำมันระโรงระยาง คาร์บู Amac สวิงก้านกระทุ้งเปลือยๆ กับระบบการสตาร์ตที่ซับซ้อน

Royal Enfield โรงงานผลิตรถจักรยานยนต์เก่าแก่ของอังกฤษ เริ่มฐานการผลิตที่ Redditch เมืองเล็กๆ ในเขตการปกครองท้องถิ่นทางตะวันออกเฉียงเหนือของ Worcestershire ซึ่งในศตวรรษที่ 19 ได้กลายเป็นศูนย์กลางระหว่างประเทศที่มีความมั่งคั่งทางอุตสาหกรรมการประมง เป็นเมืองหน้าด่านที่มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศอีกด้วย…1898 ไลน์ผลิตยานยนต์ของ R-E ยังไม่มีเครื่องยนต์เป็นของตัวเอง รถเลื่อนแบบ 3 ล้อ (Tricycle) และ 4 ล้อ (Quadricycle) ของโรงงานต้องใช้เครื่องยนต์ที่ผลิตจากพันธมิตรนาม De Dion ในขณะที่รถจักรยานยนต์โมเดลแรกที่วางจำหน่ายก็ใช้เครื่องยนต์ของ Minerva

3มุมมองจากด้านหน้า แบบฉบับของรถก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ไฟหน้าตะเกียง มือเบรกย้อน สวิตช์เร่งไฟ ยกวาล์ว เรียกว่าแมน่วลสุดๆ ให้อารมณ์เหมือนการ “ตีกลอง” ต้องแยกประสาทให้ได้

1904 โรงงานเริ่มหันมามุ่งมั่นที่จะผลิตรถยนต์ของตัวเองอย่างจริงจัง ก่อนที่ในปี 1910 “รถจักรยานยนต์” คือไลน์ผลิตที่ได้รับการโฟกัส ทว่า ก็ยังคงเกิดขึ้นภายใต้พิมพ์เขียวของเครื่องยนต์ V-Twin น้ำหนักเบาขนาด 2 ½  แรงม้าและตามมาด้วยเครื่องยนต์ขนาด 2 ¾  แรงม้า แบบ 2 เกียร์ ภายใต้เครื่องหมายการค้าของผู้ผลิตนาม Motosacoche แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ “ระบบเกียร์” ถูกสร้างขึ้นจากโรงงานของ Royal Enfield เอง คุณภาพและรูปแบบการทำงานได้รับการกล่าวขวัญว่ามันเวิร์ค แข็งแกร่ง ทนทาน และมีวิวัฒนาการที่ล้ำสมัย นั่นรวมถึงระบบห้ามล้อหลังที่ Royal Enfield นั้นเลือกใช้แบบก้อนยาง วิ่งในรางทรงกลมที่ยึดติดกับซี่ล้อ ซึ่งเดิมทีคือตำแหน่งของสายพานขับล้อหลัง โมเดลใหม่นี้ใช้โซ่มาขับเฟืองซี่แทน (สเตอร์) โดยรถรุ่นนี้ถือว่าพัฒนามากที่สุดรุ่นหนึ่งของโรงงาน และหันมาใช้เครื่องยนต์แบบ V-Twin ขนาดความจุ 770 ซี.ซี. 6 แรงม้า จากโรงงานผู้ผลิตนามว่า Minerva(JA Prestwich Industrie) ใน Tottenham, Londonmodel 180 คือชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ และผลิตจำหน่ายในปี 1912-1913

4.1

4นี่แหละ “คันสตาร์ต” หมุนจนได้รอบ (หลังเปิดก๊อกน้ำมัน ตั้งไฟ) เครื่องจะสันดาป (เหมือนเครื่องสูบน้ำ) รอบนิ่งจึงเข้าเกียร์ ดึงเข้าหาตัว ซึ่งมีให้เลือก 2 เกียร์คือ ช้า กับ เร็ว (Low/High) และมีกระบวนการปั๊มน้ำมันเครื่องช่วยอีกระบบ (งงดี)

Royal Enfield model 180 ยังคงขับเคลื่อนด้วยชุดเกียร์แบบ 2 สปีด (ช้า/เร็ว) ชุดระเบิดการทำงานด้วยแมกนีโตของ Bosch และระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยคาร์บูเรเตอร์ของ AMAC และผู้ใช้สามารถเลือกสรรได้ว่าจะซื้อในแบบตัว “รถเปล่า” หรือติดตั้ง “ไซด์คาร์” ออกห้างมาพร้อมเลย เพื่อที่โรงงานจะได้จัดชุดเบรกหน้ามาให้สัมพันธ์กัน เพื่อการใช้งานที่เหมาะสม โดยรุ่นมาตรฐานจะเป็นเบรกแบบก้ามปู กดชะลอกับที่ขอบล้อ ในขณะที่รถพ่วงเป็น “เบรกดุม” แบบดรัมเบรก ซึ่งสร้างความมั่นใจให้กับผู้โดยสารมากกว่า ส่วนระบบไฟแสงสว่างและแตรลมใน Royal Enfield model 180 ใช้โคมไฟหน้าแบบถ่านก้อนแก๊สอะเซทิลีน (Acetylene) ของ P&H ส่วนมาตรวัดความเร็วใช้ของ Veigel

6

6.1ไฟหน้าตะเกียงแก๊สอะเซทิลีน (Acetylene) พร้อมกล่องใส่ก้อนแก๊ส ผสมน้ำ แล้วไอระเหยนำพาแก๊สผ่านสายยางสู่โป๊ะไฟหน้า เปิดออก จุดไฟ เลนส์จานฉายขยายความสว่าง ระบบแมน่วลสำหรับใช้งานยามราตรี

5ถังใต้เฟรม แบ่งห้องเก็บน้ำมัน ล่างเชื้อเพลิง (GAS) กลางน้ำมันเครื่อง (Oil) บนสุดปั๊มน้ำมันเครื่อง ทำงานแมน่วล ขี่ไป ปั๊มไป สนุกดี

8

8.1เบรกหลังเป็นก้อนยาง ทับด้วยสิ่งทอวัสดุอะไรสักอย่าง สากๆ เพื่อชะลอการทำงานของล้อหลังในร่องทรงกลม เดิมทีเป็นร่องสายพาน รุ่นนี้พัฒนาขับหลังมาใช้สเตอร์แล้ว ส่วนเบรกหน้าเป็นก้ามปูแบบจักรยาน เรื่องชัวร์น่าจะไม่ แต่ก็พอให้ปลอดภัยขณะใช้งาน สมัยนั้นรถคงไม่เยอะ

1913 Royal-Enfield model 180

รถ / รุ่น                                                  Royal-Enfield / model 180

ปีผลิต                                                    1913

เจ้าของ                                                 มงคล เอื้อสุขเจริญชัย

เครื่องยนต์                                           JAP V-Twin SV 4 จังหวะ 2 วาล์ว / สูบ 770 ซี.ซี.

ก้านกระทุ้งวาล์ว (เปลือย) ระบายความร้อนด้วยอากาศ
แรงม้า                                                   6 แรงม้า

ระบบไฟ                                               แมกนีโต

ระบบเกียร์                                            2 เกียร์ (ช้า / เร็ว)

ระบบคลัตช์                                          แห้ง (หลายแผ่น)

ระบบขับเคลื่อน                                  โซ่

ระบบโช้คอัพ (หน้า/หลัง)                  สปริงเกอร์ / หลังแข็ง

ระบบเบรก (หน้า/หลัง)                       ก้ามปู เสียดสีที่ขอบล้อ, ก้อนยางเสียดสี (บนล้อ 26 นิ้ว)

 

อ้างอิง  : THE ENCYCLOPEDIA OF THE MOTORCYCLE / Hugo Willson

 : ON 2 WHEEL / Roland Brown

: https://en.wikipedia.org/wiki/Ariel_Motorcycles

: https://www.yesterdays.nl/royal-enfield-1913-6hp-model-180

 

 

Related Articles

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Back to top button

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

Save