Scooterism

1956 Vespa 125 “Faro Basso”

1956 Vespa 125 “Faro Basso”

 ไฟบังโคลน ฝาเว้า รถเล็ก “มิวเซียมลุค”   

0

1.1

1ฝากระโปรงเต็ม ยกขึ้น ล็อกอัตโนมัติด้วยเส้นสปริงหนีบ คันนี้ของแต่ง แห้งกรังมาตั้งแต่ในยุค ภายในสะดุดตาจากฝาครอบพัดลม Y-shape อานิสงส์จากรุ่น “แฮนด์แป๊บ” 150 ซี.ซี. เสริมสมรรถนะด้วยโช้คแต่งสมัยใหม่ คันนี้เจ้าของเอาไว้วิ่งทัวร์ด้วย สดจริงๆ ครับ เครื่องยนต์

            ลุยกรุ Vespa Vintage Thai ทั้งที ต้องมีของติดไม้ ติดมือ มาเข้าฉาก รถแห้งๆ สีเดิมๆ เพิ่มเติมคือ “มิวเซี่ยมลุค” ค่ายนี้ ช็อปนี้ ชื่อชั้นเรทติ้งติดท็อปของ “สยาม” อยู่แล้ว ช็อตแรก “ริมเจ้าพระยา” เน้นๆ กับ  “ฟาโร่ บาสโซ” ปี 1956 คือใบ…เบิกทาง…!?!?!

2

2.1“ตะเกียงล่าง” (Fender Light/Faro Basso) สุดยอดความคลาสสิกยุคต้น แต่ปรับขยายเส้นผ่าศูนย์กลางให้ใหญ่ขึ้นจาก 95 เป็น 98 มม. และปรับตั้งได้ด้วยนอตยึดใต้บังโคลน แถมเสริมหล่อด้วยคิ้วอะลูมิเนียมตรงกึ่งกลาง เครื่องหมายการค้าของ Siem ทับทิมแดง คือมนตร์ แถมด้วยกันชนหน้า แห้งตามปี

ปูมหลังที่ต้องย้ำกึ๋น เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1946Piaggio ปรับฐานการผลิตอากาศยาน…สู่…รถอเนกประสงค์เพื่อการพาณิชย์โดยใช้เครื่องยนต์ระบายความร้อนด้วยพัดลมขนาด 98 ซี.ซี.…ถัดมาในปี 1948 Vespa นำเสนอเครื่องยนต์ที่ได้รับการพัฒนาขยายปริมาตรกระบอกสูบขึ้นเป็น 125 ซี.ซี. ซึ่งนั่นก็รวมถึงหน้าตาของรถที่ได้รับการขัดเกลาด้วยเช่นกัน… Vespa 125 คันแรกยังคงใช้พื้นฐานการผลิตแบบเดียวกับรุ่น 98 ซี.ซี. ที่เลือกใช้ระบบสั่งงานของชุดเกียร์แบบ “คันชัก-คันส่ง” ด้านนอก และในส่วนของฝากระโปรงฝั่งเครื่องยนต์ มีการหั่นเว้าบริเวณเหนือตำแหน่งฝาพัดลม เพื่อต้องการผลด้านการระบายความร้อนที่ดีขึ้นมากกว่ารุ่น Vespa 98 ที่เป็นกระโปรงเต็มคว้านทรงกลม ตะเกียบหน้าของรถรุ่น 125 ได้รับการปรับเปลี่ยนด้วยเช่นกัน จากเดิมที่ใช้แบบตะเกียบที่มีช่วงยุบผ่านคอยล์สปริงที่ฝังไว้ในดุม (แบบเดียวกับ MP6) มาเป็นสปริงตั้งแกนขนานตะเกียบที่ด้านนอก ซึ่งจุดเด่นของรถจักรยานยนต์ในยุคแรกนั้น Vespa ได้จัดวางกะโหลกไฟหน้าสำหรับการส่องสว่างไว้เหนือบังโคลนหน้าขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 95 มม. แฮนเดิ้ลบาร์นั้นไร้พันธนาการใดๆ ปกคลุม ซึ่งเผยให้เห็นเฉพาะท่อกลมที่ดัดเข้ารูปทรงเพื่อการบังคับเลี้ยว มันมีลักษณะแบบเดียวกับที่ใช้ในรถจักรยาน รถรุ่นนี้ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในเวลาอันรวดเร็ว บ้านเราเข้าใจและเรียกขานเป็นภาษาสากลติดปากว่ารุ่น…แฮนด์แป๊บ ตะเกียงล่าง!!! (Fender Light/Faro Basso)

3

3.1มุมมองจากคอกพิท บาร์ท่อ “แฮนด์แป๊บ” ที่พัฒนาจากรถ “คันชัก-คันส่ง” ถูกแทนที่ด้วย “สายเคเบิล” ที่ซ่อนเก็บไว้ในบอดี้ ให้การใช้งานที่นิ่มนวลกว่า และปลอดภัยจากฝุ่นผง บังลมหน้าเด่นที่สีเดิมๆ เทาเข้ม พร้อมของแต่งคลาสสิก คิ้วบังลม และครอบดั้งแบรนด์เนม  

VN2T ตามรหัสบอดี้ นี่คือรถซีรีส์ที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นจากโมเดลต้นในปี 1951 ที่เด่นที่ภาพลักษณ์ของรถ “ตะเกียงล่าง ฝาเว้า” จากปรับเปลี่ยนระบบสั่งงานแบบ “คันชัก-คันส่ง” ด้านนอกจากโมเดลปี 1949 แทนที่ด้วย “สายเคเบิล” ที่เดินภายในบอดี้ แปลกใหม่ ไม่ชินตา ทว่า มันทำงานได้นิ่มนวลและแน่นอนกว่า…ซีรีส์ 3 คืออานิสงส์ที่ยังคงใช้พาร์ทโรงงานร่วมกับรถ “แฮนด์แป๊บ ตะเกียงบน” เครื่องยนต์ขนาด 150 ซี.ซี. (VL1T) ที่เปิดตัวก่อนหน้าในปลายปี 1954 อานิสงส์ของฝาครอบพัดลมแบบ Y-shape ถูกนำมาใช้ร่วมกับรางพื้นอะลูมิเนียมพร้อมยางกันลื่นแบบ 7 เส้น แถมเพิ่มระบบแอบซอร์บที่โช้คหน้า ด้วยกระบอกน้ำมันไฮดรอลิกที่นิ่มนวลมากขึ้น น่าเสียดาย รุ่นนี้ออกห้างกลับไม่มีฝาครอบแกนเพลาล้อหน้ามาให้ คันสตาร์ตเป็นอะลูมิเนียมเซาะร่องกันลื่น (ไม่ใช้ยางกันลื่น) นี่คือจุดตายที่เด่นชัด รวมถึงขาเบรกหลังก็ยังคงเป็นอะลูมิเนียมหล่อ ที่ไม่ผ่านการขัดเงาแต่อย่างใด ดิบๆ ดุ้นๆ ในแบบรถเซฟต้นทุนอีกครั้ง

4สภาพของรถลุคมิวเซี่ยม ล้อเล็กฝาเว้า ด้วยเดิมของสี ทว่า ยังสดด้วยทรง ชิ้นส่วนที่เสริมค่าตามกาลเวลา ยังคงภาพลักษณ์ของตะเกียงล่างคันนี้ให้ขลัง รถสภาพเดิมๆ แบบนี้ ในโลกนี้หาไม่ง่ายแล้ว

5ลางพื้นมิเนียมแบบ 7 เส้น พร้อมยางกันลื่น ขาเบรกหลังอะลูมิเนียมหล่อ เซาะลายกันลื่น ไม่ปัดเงา  รุ่นนี้พาร์ท ออริจินอล ตามตำราเป๊ะ

6ตะแกรง A พิมพ์เขียวยุคต้น พร้อมขาจับล้ออะไหล่ที่เชื่อมด้วยนอต รูปทรงจะออกเรียวๆ กับเบาะหุ้มหนังลายเสือดาว น่าจะของแต่งที่ได้รับความนิยมในยุค 1950 ยุคที่ mod เฟื่องฟู

ลายเซ็นหน้า Vespa ยึดติดที่บังลม งานเคลือบ “สีเขียวเข้ม” (Dark green) และเมื่อใช้นานๆ ไปจะคล้ำจนกลายเป็นสีดำ ส่วนเครื่องหมายการค้า Piaggio/“P” ก็เป็นครั้งแรกที่ไม่มีตัวอักษรคำว่า Genova…เบาะนั่งได้รับการขยายความกว้างให้นั่งเต็มก้นขึ้น จากเดิมสปริงเบาะที่เป็นสีเขียวเข้ม ก็ถูกแทนที่ด้วยสปริงสีโครเมียมเงาวับแทน และไม่ลืมให้หูจับหลังเบาะมาให้ด้วย…“ตะเกียงล่าง” (Faro Basso) ยังถูกคงไว้ แต่ปรับขยายเส้นผ่าศูนย์กลางให้ใหญ่ขึ้นจาก 95 เป็น 98 มม. และปรับขยายความยาวของฐานล้อเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย (1,130 เป็น 1,160 มม.) นั่นรวมถึงทำการขยายขนาดของดุมหลัง จาก 124 เป็น 126 มม. ถึงแม้จะทำให้น้ำหนักรวมของตัวรถเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย ทว่า ก็ให้ผลเรื่องของระบบเบรกที่ดีกว่า VN2T ทำการปรับสีของตัวรถให้เข้มขึ้นอีกเล็กน้อย จากเดิม (VN1T) ใช้สีเทา (Solid grey Max Mayer 15048) VN2T ปรับโทนมาใช้เทาเข้ม (Grey) Max Mayer 15081!?!?!

7หน้าหนึบ ด้วยแกนซับระบบน้ำมันที่เพิ่มเข้ามา ในภาพลงรุ่นใหม่ๆ หน้าตาคล้ายเดิม เพราะบอกแล้วคันนี้เจ้าของใช้วิ่งทริป ต้องการช่วงล่าง ยาง ที่ชัวร์หน่อย

8ไฟท้าย ต้นแบบเหลี่ยมเล็กๆ ทับทิมแดง มีสันนูน 2 ระดับ พาร์ทในรุ่น 3 สำหรับบล็อกเครื่อง 125 ซี.ซี.

1956 Vespa 125

เจ้าของ                                                   Auu Vespa

ผลิตจำหน่าย :                                       1955-1957

จำนวนผลิต :                                          75,500 คัน (VN2T)

ความจุ :                                                  124.79 ซี.ซี.

กระบอกสูบ / ช่วงชัก :                           56.5 x 49.8 มม.

คาร์บูเรเตอร์ :                                         Dellorto TA 17B

เกียร์ :                                                     3 เกียร์ (มือ)        

คลัตช์ :                                                   เปียก (หลายแผ่น)

แรงม้าสูงสุด :                                         4.5 แรงม้าที่ 4,500 รอบ / นาที

ระบบหล่อลื่น :                                       ผสมถัง 5%

ขนาดยาง (หน้า / หลัง) :                       3.50 x 8 นิ้ว

เบรก (หน้า / หลัง) :                               ดรัมเบรก (ดุมหน้า 24 มม. / หลัง 26 มม.)

ความจุเชื้อเพลิง :                                   5 ลิตร

อัตราสิ้นเปลือง :                                    100 กม. / 2.0 ลิตร

มิติ (กว้าง / ยาว / เบาะสูง) :                    790 / 1,680 / 790 มม.

ฐานล้อ :                                                  1,160 มม.

น้ำหนัก :                                                 110 กิโลกรัม

น้ำหนัก :                                                 82 กก.

สี :                                                           เทา (Max Mayer 15081)

ความเร็วสูงสุด :                                    70 กม. / ชม.

อ้างอิง    : THE ENCYCLOPEDIA OF THE MOTORCYCLE / Hugo Willson

: ON 2 WHEEL / Roland Brown

: VESPA STYLE IN MOTION / Roberto Segoni

: 1946-2006 60 YEARS OF THE VESPA / Giogio Sarti

LOGO2

LOGO1

Related Articles

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Check Also
Close
Back to top button

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

Save