1959 Triumph T120 Bonneville
1959 Triumph T120 Bonneville
จาก “สนาม” สู่ “ถนน” บทสรุปของรถ “รุ่นท็อป”
จากสนาม สู่ “ถนน” นี่คือ…แบบฉบับรถจักรยายนต์สปอร์ตรุ่นที่ดีที่สุดของเกาะอังกฤษ Triumph เป็นเจ้าของสถิติประลองความเร็วที่ 214 ในปี 1956 ณ ทะเลทราบเกลือ Bonneville Salt Flats ในยูท่าห์ โดยเครื่องยนต์ที่ถูกนำมาพัฒนานั้น จึงเป็นอานิสงค์จากรถแข่งต้นแบบคันแรง…อย่างช่วยไม่ได้ บ้านเราปรับลุคหน่อย ตามเทรนการขับขี่ในสมัยนั้น มันจะโก๋ๆ หน่อย
Bonneville Salt Flats “ทะเลสาปเกลือ” คือสังเวียรประลองความเร็วระดับสุดขั้ว (World Record) ในรัฐยูท่าห์ของสหรัฐอเมริกา ที่เรา ๆท่านๆ ต่างเคยมีโอกาสสดับเรื่องราวหลากหลาย ผ่านหน้าหลังสือแบรนด์ดัง “ตำนานความเร็ว” หลายฉาก “เกิดขึ้น” และ “ดับสูญ” ได้…เพียงชั่วพริบตา!!!
Triumph หนึ่งในแบรนด์ผู้ผลิตรถจักรยานยนต์เลืองชื่อแห่งเกาะอังกฤษ มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์นี้…1956 รถจักรยานยนต์ที่พัฒนาขึ้นพิเศษจากการประสานมือระหว่างวิศวกรชาวอังกฤษและอเมริกัน Thunderbird เครื่องยนต์ขนาด 650 ซี.ซี. “คันที่หวังผล” กำลังเตรียมการเพื่อสร้างประวัติศาตร์หน้าใหม่ อังกฤษหวังใช้สังเวียรนี้ “ปูทาง” ธุรกิจการค้า…สู่…ตลาดอเมริกา ในขณะที่เจ้าบ้านที่สนับสนุนก็อยากได้เทคโนโลยีจากเครื่องยนต์ “จุดคู่“ ที่ถือว่าดีที่สุดของยุค ผลประโยชน์ที่จัดสรรค์กัน “ลงตัว” จึงเป็นที่มาของการประสานมือ…สู่…สังเวียร…214 ไมล์/ ชม. (343 กม./ ชม.) คือความสำเร็จครั้งนั้นที่เลือกใช้เป็น…ข้ออ้างอิง!!!
“หัวโม่ง” ภาพลักษณ์จากยุคคลาสสิค ยังคงได้รับการจัดวางในรุ่นปี 59 คุณสมบัตินี้นี่เองที่ทำให้ “Bonny 59” กลายเป็นรถคอลเลคชั่นที่ทั่วโลกต้องการ
ปะกับเร่ง ที่สามารถปรับตั้งความหนืดได้ กลไกแมคคานิคเล็กๆ น้อยๆ ที่ใส่ไว้ให้
Bonneville ชื่อของรถรุ่นใหม่ที่ Triumph คิดไว้ล่วงหน้า ทว่า จะทำอย่างไรให้รถรุ่นใหม่นี้ สมบูรณ์แบบที่สุดเท่าที่โรงงานเคยสร้างมา มันต้องสวย และต้องมีเครื่องยนต์ที่เปี่ยมประสิทธิภาพ เทคโนโลยีจาก “รถแข่ง” กำลังเข้าไลน์ผลิต…1959 “Bonneville” คันแรกก็เกิดขึ้น จากพื้นฐานของงานออกแบบภาพลักษณ์ที่มีอยู่ในพิมพ์เขียว รถโฉมใหม่ในแบบคลาสสิคที่คงเอกลักษณ์ด้วย “หัวไอ้โม่ง” พร้อมมาตรวัดครบครัน Triumph ยังคงความลงตัวนั้นไว้ ตามแนวทางอนุรักษ์นิยมจากไลน์ผลิตของรถรุ่นก่อนหน้า ทว่า ก็ไม่ลืมขัดเกลาเส้นสายของส่วนประกอบหลากหลาย อาทิ เฟนเดอร์หน้า/ หลัง ที่ดูเหมือนจะเป็นเอกลักษณ์ งานออกแบบครั้งใหม่ที่เรียบเนียน โค้งมน กลมกลืน ส่งเสริมให้รถรุ่นใหม่นี้มีความเป็นสปอร์ต แถมเท่ห์สุดๆ เฟรมท่อกลมที่แข็งแกร่ง มาพร้อมดุมหน้าแบบเต็มขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 8 นิ้ว กับฝาปิดปั๊มขึ้นรูปจีบเป็นรัศมี คุณสมบัติเด่นๆ เหล่านี้ ยังรวมถึงแฮนด์เดิ้ลทรงต่ำ องศาดรอป ก็ล้วนแต่เป็นไม้เด็ดในการเจาะตลาด…“สีสัน” ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ถือเป็นความโดดเด่นเฉพาะตัวสำหรับ Bonneville รถรุ่นแรกนี้แปลกตาด้วย สีไข่มุก-เทา (Pearl-grey) เป็นสีหลัก บริเวณส่วนบนของถังน้ำมันและส่วนของเฟนเดอร์ทั้งหน้า/ หลัง ในขณะที่สีสดๆ อย่างส้ม (Tangerine) ถูกหยิบมาวางเป็นพื้นที่ด้านล่างของถังเชื้อเพลิง รวมถึงเส้นสตริปที่เดินตรงกึ่งกลางของแนวสันบังโคลน…มันเรียกเสน่ห์ได้อย่างไม่ต้องสงสัย!!!
เครื่องยนต์เสื้อเหล็ก ฝาเนียม อันทรงพลังของ T120 ใช้มิติห้องเผาไหม้ขนาด 71/ 82 มม. ทว่า ก็พัฒนาในส่วนของแรงอัดใหม่ที่มากขึ้นที่ 5 : 1 ซึ่งสามารถรีดม้าให้เพิ่มขึ้นถึง 46 แรงม้าที่ 6,500 รอบ/ นาที และจ่ายเชื้อเพลิงด้วยคาร์บิวคู่ของ Amal
ท่อไอเสียฟอร์แมทมาตราฐาน นี่คือแบบพิมพ์ที่คลาสสิคยุคกลาง ที่น่าจดจำ
“เครื่องยนต์คาร์บิวคู่” ดูจะเป็นหัวใจหลักสำหรับใช้เป็นขุมพลังของ Bonneville ปี 1959 ให้แรงตรงตามคอนเซ็พท์ เพราะเป็น “ทายาทรถแข่ง” เทคโนโลยีจาก “ทะเลสาบเกลือ” ครั้งนั้น จึงถูกหยิบมาปรับใช้เป็นครั้งแรก ภายใต้พื้นฐานจากเครื่องยนต์เสื้อเหล็ก ฝาสูบอะลูมิเนียม ขนาด 650 ซี.ซี. อานิสงค์จากรถรุ่น T110 ลูกสูบพาร์ท E3610 สามารถให้กำลังอัดสูงถึง 8.5:1 ซึ่งก็สามารถเค้นพละกำลังขณะสันดาปถึงสูงถึง 46 แรงม้าที่ 6,500 รอบ/ นาที มันเป็นผลสืบเนื่องจากชุดจ่ายเชื้อเพลิงแบบคู่ของ AMAL/ Monoblock ที่ฉีดส่วนผสม ส่งตรงชนิดฉับไวแบบ…สูบใคร…สูบมัน!!!…และ…ความพิเศษนี้ยังคงรวมถึงแคมชาร์พปรับแต่งองศา (inlet E3134/ Exhaust E3325/ Tapperts E3059) ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจากชุด Racing Kit ของรถแข่งรุ่นเก๋าอย่าง T100C ปี 1953 (inlet E3134/ Exhaust E3134/ Tapperts E3059)…มันเจ๋ง ทว่า ก็ไม่หมู หากคิดจะได้ไว้…ในอาณัติ !?!?!
ตะแกรงหลังถัง นี่ก็แบบพิมพ์จากรุ่นคลาสสิค 4 เส้น พร้อมคิ้วสันถัง งานออกแบบในยุคกลาง กับโลโก้ “เม้าท์ออแกน” ที่ใช้เป็นรุ่นสุดท้าย
จุดระเบิดด้วยแมกนีโต เพลทแดงซะด้วย รุ่นนี้พาร์ทเดียวกับรถแข่ง ส่วนไฟเลี้ยงยนต์ระบบไดนาโม ที่วางหน้าเครื่องยนต์
ขับหน้า (Primary) ฝาเล็ก เรียวยาว วัสดุอะลูมิเนียม เพราะไม่มีชุดไฟทุ่นปั่น จุดระเบิดด้วยแม็กฯ
บังโคลนปีกหนา ขึ้นรูปสโลปล้อ สมูทตา และดูสปอร์ตมากขึ้น
“เบาะตะพาบ” ลุคคลาสสิคที่เป็นแบบแผน ความลงตัวที่ต้องพิถีพิถัน
ดุมหน้าเต็ม ฝาดุมเหล็ก เรียบๆ จุดตายในรถปี 59 ของโรงงาน
มุมมองในแบบรถสปอร์ต หรูหรา แถมแอบซิ่งให้เห็น
S p e c i f i c a t i o n
รถ TRIUMPH T120
รุ่น/ ปี Bonneville/ 1959
เจ้าของ Element Service
เครื่องยนต์ Parallel Twin 2 สูบ 4 จังหวะ 649 ซี.ซี.
46 แรงม้าที่ 6,500 รอบ/ นาที
กระบอกสูบ/ ช่วงชัก 71/ 82 มม.
กำลังอัด 8.5 : 1
ระบบไฟ แมกรีโต (เพลทแดง) / (แสงสว่างไดชาร์จ)
ระบบเกียร์ 4 สปีด (ขวา)
ระบบคลัตช์ แห้ง (หลายแผ่น) อ่างน้ำมันเครื่องแยก
ระบบขับเคลื่อน โซ่
ระบบโช้คอัพ (หน้า/หลัง) เทเลสโกปิค/ สวิงอาร์มโช้คน้ำมัน
ระบบเบรก (หน้า/หลัง) ดรัมเบรก (ดุมเต็มม็ม้H) บนล้อขนาด 19 นิ้ว (3.25/ 3.50)
น้ำหนักรวม 404 ปอนด์ (183 กก.)
ความเร็วสูงสุด 110 mph. (177 กม./ ชม.)
อ้างอิง : THE ENCYCLOPIDIA OF THE MOTORCYCLE / Hugo Willson
: ON 2 WHELL / Roland Brown
: TRIUMPH TWIN RESTORATION / Roy Bacon
Story / Photo : NUIAJS