1965 Lambretta 125J
1965 Lambretta 125J
รถเล็ก “สเปคใหญ่” แต่ไป…ไม่ถึงฝัน!!!
ดีไซด์ที่ได้อานิสงค์ของรุ่น LI-III มาย่อสเกล เน้นความคล่องตัว และวางเป็นรถเล็ก ราคาเบา เน้นเรื่องความคุ้มค่ากับเงินที่เสียไป
บ้านนี้มีแต่ “รถเทพ” ประโยคสัมทับที่ในวงการรู้กิตติศัพท์กันดี เซฟเฮ้าส์ของ “Apple 13” หลังใหม่เปิดประตูต้อนรับ “ทีมงาน” เราด้วยไมตรีอย่างเคย คร่าวๆ มองว่ามันละลานตา ทว่า ไว้โอกาสหน้าเข้ามาขอ “จบดีล” หนนี้ มาไว เคลมเร็ว จัดให้ “สายสมอลล์” ได้หายคิดถึง กระนั้น ขึ้นชื่อว่า “กรุเทพ” นั่นก็ต้องเป็น “สมอล์” ในเทรนที่…ไม่ธรรมดาอยู่แล้ว !?!?!
จากความต้องการ “รถเล็ก-ราคาประหยัด” ที่กำลังโชน Innocenti ผู้ผลิตรถสกู๊ตเตอร์อิตาลีแบรนด์ Lambretta ก็พร้อมโดดเข้าร่วมสังฆกรรม โครงการเข็นรถ “เฟรมเล็ก” ก็เพื่อแชร์ส่วนแบ่งทางตลาดของ Vespa ที่ถือครองก่อนหน้า ชื่อของ “Junior” ก็ขันอาสาเข้ามาแก้ลำ ซึ่งเรามีโอกาสได้เห็นเป็นรูปธรรมในช่วงฤดูใบไม้ผลิตของปี 1963 นั่นเอง
มุมมองที่แปลกตาในแบบรถ “บอดี้เล็ก” ไหหน้ากลม หัวประกบบน 2 ชิ้น มันเหลี่ยมสันที่เป็นเอกลักษณ์ CENTO วางขายในอิจตาลี ทว่า เวอร์ชั่นส่งออกใช้ชื่อรุ่นว่า BABY
อานิสงค์ที่ถูกหยิบจับเอามาใส่ในร่างของ “Junior” นั้นมาจากแนวความคิดพื้นฐานเครื่องยนต์ของรถรุ่น LI ผิดที่ “Junior” นั้นวางตำแหน่งของเสื้อสูบให้ตั้งชันกว่า และเริ่มต้นมันด้วยเครื่องยนต์ต้นแบบในขนาด 98 ซี.ซี. (Cento แปลว่า 100) ตามแนวทางที่ทีมวิเคราะห์ตลาดนั้นส่งรายงานมา อย่างไรก็ตาม มันหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ หลังเปิดตัวได้ไม่นาน ทีมผู้บริหารของ “Junior” ก็รู้ว่ามันผิด ก่อนที่ไลน์ผลิตจะเตลิด สั่งเปลี่ยนเกมรบ ปริมาณกระบอกสูบถูกขยับขึ้นเป็น 125 ซี.ซี. (3 เกียร์) ทว่า ยังส่งมันเป็นสินค้าออกในนิคเนมของ “Baby” (Cento วางขายเฉพาะในอิตาลี) หน้าตาของ Cento นั้นถูกย่อสเกลจากรถรุ่น LI series-III แตรถูกวางอยู่ใต้ไฟหน้า ไร้ครอบดั้งแบบรุ่น LI กล่องเก็บถุงมือด้านหน้าไม่มี มันถูกย้ายมาไว้ใต้เบาะนั่ง เบาะเดี่ยวทรงสี่เหลี่ยมคู่ รวมถึงฝากระโปรงข้างขนาดเล็กรูปทรงเหลี่ยม และมีสีเดียวออกห้างคือสี “ขาวงาช้าง” (Light Ivory)
รุ่นแรก CENTO เป็นเบาะ 4 เหลี่ยมแบบ 2 ตอนแยกดูเชยๆ รุ่นต่อมามีการออกแบบให้เป็นเบาะยาว เชื่อมเข้าหากัน บนบอดี้ท่อนหลังที่ยกสเต็ป
ฝั่งของเครื่องยนต์ อานิสงค์จากรุ่น LI-III ทว่า ให้ตำแหน่งของเสื้อสูบตั้งขึ้น กับตำแหน่งการวางชิ้นส่วนต่างๆ ซึ่งโช้คส่วนของคอยสปริงและกระบอกไฮโรอลิกแยกออกจากกัน
เครื่องยนต์ของ Cento มีกำลังขนาดเพียง 4.7 แรงม้า และสามารถทำความเร็วสูงสุดได้เพียง 80 กม./ชม. เท่านั้น “มันช้า และมีตัวถังที่บอบบาง” ทีมออกแบบเหมือนรู้ชะตากรรม หลังจบไลน์ผลิตในปี 1965 Cento มียอดขายรวมเพียง 17,642 คันเท่านั้น…1966 เครื่องยนต์รหัส 125J ถูกพัฒนาและเปลี่ยนมาใช้ชุดเกียร์แบบ 4 สปีด รวมถึงหน้าตาของรถที่ดูทันสมัยขึ้น บังลมที่ถูกหั่นทิ้งเข้าตามหลักแอร์โรไดรามิค บอดี้ด้านท้ายถูกปรับให้เหมาะสมสำหรับติดตั้งเบาะยาวแบบ 2 ที่นั่ง และไม่ลืมใส่นิคเนมใหม่ให้ว่า Stellina (Little Star/ ดาวดวงน้อย) และใส่โลโก้ดาวสีเงินล้อมรอบเลข 125 ไว้ที่บังลมด้านหน้า แถมเพิ่มสีสันในแบบทูโทน น้ำเงิน/ ขาว (Ocean Blue/ White) แต่เหมือนไม่มีอะไรดีขึ้น ผู้บริโภคยังบ่นอุป ความเร็วที่เพิ่มขึ้นเพียง 87 กม./ชม. ทว่า ราคาขายดันขยับเข้ามาใกล้กับรุ่นบอดี้ใหญ่อย่าง LI แถมรายงานยอดขาย 3 ปีโชว์ที่ 16,000 คัน…คงไม่มีเหตุผลอะไรที่ “ขุนคลัง” จะยอมลงทุนต่อ แม้ว่ารุ่นอัพเกรด Js125 “Starstream” ที่ปรับรูปทรงของบังโคลนหน้า (แยกจากบอดี้) และมีครอบดั้งขนาดเล็กๆ แบบ LI สีสันทูโทน (น้ำเงิน/ขาว, แดง/ขาว) กระนั้น โมเดลนี้คือโมเดลสุดท้าย…ที่บิดจ๊อบ…ในอังกฤษ…!?!?!
เรียกว่า “ถม” กันไปเต็มๆ รถก็หายาก ของแต่งยิ่งหายาก สีจี๊ดตัดกับของแต่งยี่ห้อ FAR ทั้งคัน บอกเลยเกิดมาเพิ่งจะเคยให้ นี่แหละ “รถกริป” ที่เพิ่งดเสร็จออกมาจาก “กรุเทพ”
1965 Lambretta 125J
รถ Lambretta
รุ่น / ปี 125J/ 1964-1969
เจ้าของ APPLE 13
เครื่องยนต์ 1 สูบ 2 จังหวะ 122.5 ซี.ซี. ระบายความร้อนด้วยพัดลม
5.8 แรงม้า ที่ 5,300 รอบ/ นาที
ระบบไฟ ไฟล์วีลแมกนีโต / ทองขาว / คอยล์ (6 โวลต์)
ระบบเกียร์ 3 เกียร์
ระบบคลัตช์ เปียก
ระบบขับเคลื่อน โซ่
ระบบโช้คอัพ (หน้า / หลัง) ตะเกียบขาคู่ (คอล์ยสปริง) /
แขนเดี่ยวแกนไฮดรอกลิก/ คอล์ยสปริง
ระบบเบรก (หน้า /หลัง) ดรัมเบรก
ล้อ / ยาง (หน้า / หลัง) 3.50 X 10 นิ้ว
อัตราส่วนเชื้อเพลิง/ หล่อลื่น 2% (ผสมถัง)
อ้างอิง : VESPA STLYLE IN MOTION/ Roberto Segoni
: ON 2 WHEEL / Roland Brown
: LAMBRETTA THE DEFINITIVE HISTORY/ Vittorio Tessera
STORY : SCOOTER MANIA! / PHOTO : KWANG GPI. Photo Dep.